เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีกับจีน , ที่มีผลต่อพืช ผัก ผลไม้ และไม้ตัดดอก อย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจเรื่องของผลกระทบของการเปิดการค้าเสรี ระหว่างไทยกับจีนต่อพืช ผัก ผลไม้และไม้ตัดดอก จะเกิดผลดีและผลเสียกับประเทศไทยอย่างไร และสถานการณ์ตลาดของประเทศอื่นมีผลกระทบด้วยหรือไม่ อย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ที่มา เขตการค้าเสรี ไทย-จีน สืบเนื่องจากการหารือระหว่าง พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกับ นาย จู หรง จี อดีตนายกรัฐมนตรีจีน เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2546 ระหว่างการเยือนจีนอย่างเป็นทางการ และการหารือกับนายกรัฐมนตรี เหวิ่น เจีย เป่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งพิเศษ ว่าด้วยโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2546 ผลการประชุมทั้งสองครั้ง ทำให้สองฝ่ายเห็นชอบให้มีการเร่งลดภาษี ผัก ผลไม้ ระหว่างกัน ภายใต้กรอบของความตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน-จีน กระทรวงพาณิชย์ไทยและจีนเจรจาต่อเนื่องตามผู้นำทั้งสองประเทศได้ทำความตกลงกันไว้ ต่อมาวันที่ 18 มิถุนายน 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอดิศัย โพธารามิก และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน มร.ลู่ ฟู หยวน ได้ทำพิธีลงนามตามความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ ระหว่างไทยจีน ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอาศัยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ให้ลดภาษีนำเข้าพืช ผัก และผลไม้ ลงทันที เหลือศูนย์เปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป รวมสินค้าผัก ผลไม้ 116 รายการ ได้แก่ ผลไม้สดหรือแห้ง เช่น ลำไย ทุเรียน เงาะ กล้วย และแอปเปิ้ล รวมถึงพืชผักสดหรือแช่แข็งทุกชนิด มันเส้น มันอัดเม็ด หอม กระเทียม มันฝรั่ง มันสำปะหลังและถั่วชนิดต่าง ๆ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ เปรียบเทียบมูลค่าส่งออก และนำเข้าผัก ผลไม้ ของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง และอบแห้งของไทยและจีน มูลค่าไทยส่งออก ปี 2544, 2545 และ 2546 เป็นเงิน 1,382 1,486 และ 2,822 ล้านบาท มูลค่าไทยนำเข้าจากจีน ปี 2544 2545 และ 2546 เป็นเงิน 1,843 2,170 และ 3,969 ล้านบาท จะเห็นว่าปีสุดท้ายคือ ปี 2546 ไทยขาดดุลกับจีนเป็นเงิน 1,147 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตั้งแต่ไทยทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับจีน เริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2546 จนถึงธันวาคม 2546 ไทยส่งออกเกินดุลกับจีนเป็นจำนวน 333 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอให้คุณติดตามต่อไปอีกว่า ตลอดปี 2547 ผลจะเป็นประการใด แม้ว่าเราจะขาดดุลกับจีนก็ตาม หากเราจะมองไปที่มูลค่าการส่งออกไม้ตัดดอกและไม้ประดับต่าง ๆ ไปยังตลาดอื่นก็ยังพอสบายใจได้ ใน 3 ปีที่ผ่านมาคือ ปี พ.ศ. 2544 2545 และ 2546 ไทยส่งออกไปญี่ปุ่น คิดเป็นมูลค่า 1,516 1,696 และ 2,055 ล้านบาท ปีเดียวกันส่งไปสหรัฐอเมริกา มูลค่า 620,678 และ 751 ล้านบาท ส่งไปยังอิตาลี 224, 206 และ 285 ล้านบาท ฮ่องกง 32 50 และ 97 ล้านบาท เนเธอร์แลนด์ 54 57 และ 82 ล้านบาท ไต้หวัน 51 57 และ 80 ล้านบาท จีน 38 57 และ 78 ล้านบาท ส่วนเยอรมนีนำเข้า 36 37 และ 31 ล้านบาท ตามลำดับ นั่นแสดงให้เห็นว่า ตลาดรองรับความสวย ๆ งาม ๆ จากไทยนั้นยังเปิดโอกาสไว้อีกมาก หากต้องการรักษาตลาดไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ต้องตระหนักถึงการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพตามความต้องการของตลาดเป็นอันดับแรกครับ ขอขอบคุณ กระทรวงพาณิชย์ ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลให้เป็นอย่างดี
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
2
ตำบล / แขวง :
เพ
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
21160
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 332
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM