เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การพัฒนาของปลากัดวัยอ่อน
   
ปัญหา :
 
 
    ผมกำลังเริ่มเพาะปลากัด เป็นการเตรียมพร้อมจะทำเป็นเชิงพาณิชย์ต่อไป ผมได้ทดลองไปแล้วหลายอย่าง แต่ยังขาดข้อมูลทางวิชาการที่จะนำมาเพิ่มเติมกับประสบการณ์ที่มีอยู่เพื่อให้การพัฒนาได้ดีขึ้น ผมจึงขอเรียนถาม การพัฒนาตั้งแต่การผสมพันธุ์ไปจนถึงระยะที่สามารถแยกเพศปลาได้นั้นเป็นอย่างไร และต้องใช้เวลานานเท่าใด ผมขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อนครับ
วิธีแก้ไข :
 
    การผสมพันธุ์ปลากัดเพื่อให้ได้ลูกปลาที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้นต้องคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ และมีลักษณะเด่นตามต้องการ เช่น มีรูปร่างสีสันสวยงาม และมีเลือดนักสู้อย่างเต็มตัว ่นำพ่อแม่พันธุ์มาเทียบคู่จนปลาเพศเมียตั้งท้อง พร้อมวางไข่ ให้นำปลาทั้งคู่ปล่อยลงผสมพันธุ์ในขวดโหล อ่างดิน หรือตู้กระจกอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญภาชนะดังกล่าว ต้องมีปากแคบ หรือมีฝาปิดป้องกันปลากระโดดหนี ใส่ดินที่เผาทำลายเพื่อกำจัดไส้เดือนดิน และศัตรูของลูกปลาที่อาจติดมากับดิน ลงในภาชนะเล็กน้อยแล้วเติมน้ำสะอาดให้มีระดับลึก 3-4 นิ้ว ไม่ควรใช้น้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปา จำเป็นต้องทิ้งไว้ในตุ่มเป็นเวลา 5-7 วัน ให้คลอรีนระเหยออกจนหมดก่อนเทใส่ลงในภาชนะให้ปลาผสมพันธุ์และวางไข่ ไม้น้ำ มีความจำเป็นต้องใส่ลงในภาชนะเช่นกัน แต่ต้องแช่ในด่างทับทิมก่อนอย่างน้อยเป็นเวลา 20 นาที แล้วล้างให้สะอาด ไม้น้ำที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายพุงชะโด จอก และผักตบชวา นำภาชนะที่ใส่ดินและเติมน้ำแล้วเก็บในที่มีหลังคาและต้องให้แสงแดดส่องถึง สถานที่ดังกล่าวนี้ต้องเงียบสงบ ห่างจากสิ่งรบกวน หากแม่ปลาตกใจมันจะกินไข่ของมันทันที เมื่อพ่อแม่พันธุ์ปลาเริ่มเป็นมิตรและมีท่าทีชอบพอกัน ต่างก็ว่ายสำรวจไปรอบๆ ใช้เวลา 1 วัน ปลาสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ต่อมาปลาเพศผู้หรือพ่อพันธุ์จะหาทำเลที่ดี พร้อมกับทำ หวอด ที่เปรียบเสมือนเป็นบ้านพักของลูกปลา ด้วยวิธีโผล่เหนือน้ำฮุบเอาอากาศแล้วดำลงพ่นเป็นฟอง เกาะกลุ่มกันติดอยู่กับพืชน้ำ หลังทำหวอดเสร็จ ปลาทั้งเพศผู้และเพศเมียจะเคล้าคลอกัน ปลาเพศผู้จะรัดปลาเพศเมียให้วางไข่พร้อมฉีดน้ำเชื้อเข้าผสมกัน ไข่จะค่อยๆ จมลง ปลาเพศผู้จะรีบว่ายน้ำคาบไข่พ่นเข้าในหวอด ทำเช่นนี้จนครบทุกฟอง เฉลี่ยการวางไข่ของปลาเพศเมียแต่ละครั้งประมาณ 500 ฟอง หลังจากวางไข่จนหมด ปลาเพศผู้จะไล่ต้อนปลาเพศเมียหรือแม่ปลาออกจากบริเวณวางไข่และจะดูแลรักษาไข่โดยลำพัง จึงให้ตักปลาเพศเมียแยกไปเลี้ยงที่อื่น ระยะนี้ปลาเพศเมียจะบอบช้ำเนื่องจากถูกรัดจากเพศผู้อย่างรุนแรง บางตัวครีบขาดวิ่น เป็นแผลตามลำตัว จึงให้แช่ในน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของเกลือ 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 2 ลิตรครึ่ง เป็นเวลา 7 วัน ปลาจะฟื้นเป็นปกติ ส่วนปลาเพศผู้ปล่อยให้ดูแลไข่เพียง 2 วัน ให้ตักแยกออกเช่นเดียวกัน ไข่ที่รับการผสมพันธุ์แล้วจะฟักออกเป็นตัวภายใน 36 ชั่วโมง ลูกปลาระยะแรกมีรูปร่างเหมือนลูกไรน้ำขนาดเล็กเกาะกันเป็นกลุ่ม อาศัยอยู่ในหวอด ลูกปลาบางตัวยังว่ายน้ำไม่เก่ง อาจจมลงก้นภาชนะ ปลาเพศผู้จะดำลงฮุบลูกอ่อนพ่นเข้าเก็บในหวอด ครบ 48 ชั่วโมง ลูกปลาจะแข็งแรงเต็มที่ สามารถว่ายน้ำได้เองตามลำพังได้ การพัฒนาของปลาวัยอ่อน อายุลูกปลาวันแรก ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในหวอด ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายลูกน้ำ ส่วนท้องมีถุงอาหาร ลำตัวสีขาวขุ่น มีเยื่อครีบเกิดขึ้นรอบๆ ตัว มองเห็นลูกตาสีดำ วันที่ 2 ถุงอาหารหน้าท้องยุบลงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด ช่องขับถ่ายยื่นออกจากลำตัวมองเห็นชัด รอยแยกกระพุ้งแก้มกับลำตัวเริ่มปรากฏ กระดูกสันหลังพัฒนาเป็นแกนลำตัว มีลักษณะเป็นข้อ วันที่ 3 ปากเริ่มเปิดพร้อมกินอาหารได้ ระบบทางเดินอาหารปรากฏชัด ครีบยังไม่แยกเป็นครีบหาง ครีบหลัง และครีบก้น วันที่ 4 ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำและสลับกับการหยุดนิ่งเป็นเวลานาน ถุงอาหารยุบหมด กระเพาะลมพัฒนาขึ้นเหนือระบบทางเดินอาหาร ครีบทั้ง 3 แบ่งออกชัดเจน อายุ 5 วัน ส่วนท้องมีสีเข้มทึบ มองไม่เห็นอวัยวะภายใน วันที่ 6-9 ส่วนท้องหนาขึ้น กระดูกโคนหางโค้งงอขึ้น มองเห็นกระดูกสันหลังเป็นข้อชัดเจน และมีหนามหรือก้างปลาเกิดขึ้นตามข้อเพิ่มมากขึ้น วันที่ 10 ลูกปลาว่ายน้ำออกหากินได้เหมือนปลาตัวเต็มวัย ครีบหางมีจำนวน 8 ก้าน เยื่อครีบแบ่งออกเป็นครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น ชัดเจน วันที่ 15 ลำตัวทึบแสง ครีบหางเปลี่ยนเป็นรูปกลมมน ครีบหางเปลี่ยนเป็นรูปกลมมน มีก้านครีบ 10 ก้าน วันที่ 30 ลำตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ข้างลำตัวมีแถบสีดำ 2 แถบ ขนานกันที่ข้างลำตัว ไปจากส่วนหัวยาวไปถึงส่วนหาง ครีบก้นมี 27 ก้าน และครีบหลังมี 11 ก้าน อายุครบ 45 วัน สามารถแยกเพศได้อย่างชัดเจน ปลาเพศผู้แยกนำไปเลี้ยงแบบขังเดี่ยวในขวดแบน ขวดกลมหรือขวดโหล ชนิดใดชนิดหนึ่งได้ตามความเหมาะสมครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
11
ตำบล / แขวง :
วังแดง
อำเภอ / เขต :
ตรอน
จังหวัด :
อุตรดิตถ์
รหัสไปรษณีย์ :
53140
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 330
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM