เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เชื้อ บีที และเชื้อ เอ็นพีวี นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมยังมีความข้องใจเกี่ยวกับเชื้อ บีที กับเชื้อ เอ็นพีวี นั้นมีความเหมือนหรือความแตกต่างกันอย่างไร และสามารถนำไปใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้อย่างไร ผมจะไปสอบถามข้อมูลรายละเอียดจากที่ไหน ผมหวังว่าคงจะได้ความรู้จากคุณหมอเกษตรเป็นเบื้องต้น
วิธีแก้ไข :
 
    บีที ย่อมาจาก บาซิลลัส ธูริงเจนซีส บีที เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ มีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า หากมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยาย 400 เท่า พบว่ามีรูปร่างเป็นแท่ง แบคทีเรีย บีที สามารถสร้างสปอร์หรือส่วนขยายพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังสร้างสารพิษภายในตัวของมันได้ เรียกว่า เดลต้า-เอ็นโดท็อกซิน ที่ห่อหุ้มไว้ด้วยโปรตีน เมื่อแมลงกินเข้าไปในร่างกาย โดยเฉพาะตัวหนอนผีเสื้อและลูกน้ำของยุงที่มีน้ำย่อยในกระเพาะมีฤทธิ์เป็นด่าง จะย่อยโปรตีนที่หุ้มผลึกสารพิษ เดลต้า-เอ็นโดท็อกซิน ที่มีรูปร่างคล้ายขนมเปียกปูนออก และทำลายผนังกระเพาะลำไส้ จนผนังลำไส้ทะลุ ขณะเดียวกัน บีที จะสร้างสปอร์และถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้แมลงตายในเวลาต่อมา ชนิดของแมลงศัตรูพืชที่ บีที เข้าทำลาย ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนคืบกล่ำ หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนแก้วส้ม หนอนปลอกใหญ่ และหนอนร่านกินใบปาล์ม วิธีการใช้ บีที ควบคุมแมลงศัตรูพืช เนื่องจากเชื้อ บีที เป็นสิ่งมีชีวิต จะตายเมื่อถูกแสงแดดเผา จึงควรฉีดพ่นหลังบ่ายสามโมงเย็นจึงจะได้ผลดี หนอนส่วนใหญ่มีนิสัยชอบกินส่วนใต้ใบพืช ดังนั้น ต้องฉีดส่วนใต้ท้องใบให้ทั่วถึง หัวฉีดต้องปรับให้เป็นละอองขนาดเล็ก และต้องผสมสารจับใบด้วยทุกครั้ง การฉีดพ่นขณะตัวหนอนมีขนาดเล็กอยู่จะได้ผลดีกว่าฉีดพ่นกับแมลงที่มีขนาดใหญ่ ไม่แนะนำให้ผสม บีที กับสารกำจัดโรคหรือแมลงศัตรูอื่นๆ เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นติดต่อกัน 2 ครั้ง เว้นระยะ 3-4 วัน มีผลทำให้การระบาดของแมลงศัตรูหมดไป ทั้งนี้ เชื้อ บีที ไม่มีอันตรายต่อสัตว์เลือดอุ่น รวมทั้งมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือแหล่งผลิตและจำหน่าย สอบถามที่ สำนักวิจัยการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทร. (02) 579-7580 ต่อ 152 ในวันและเวลาทำการ เอ็นพีวี เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เอ็นพีวี ย่อมาจาก นิวเคลียร์ โพลีฮีโดรซีสไวรัส เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถเข้าทำลายหนอนกระทู้หอม หนอนเจาะสมอฝ้าย และหนอนกระทู้ผัก การเข้าทำลายแมลงศัตรูพืชดังกล่าววิธีเดียวกับเชื้อ บีที หลังจากตัวแมลงกินเชื้อไวรัสเข้าไป 1-2 วัน ผนังลำตัวจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีซีดและจางลง ตัวหนอนกินอาหารได้น้อยลง การเคลื่อนไหวช้าลง และหยุดนิ่ง แต่ก่อนตายพยายามจะเคลื่อนที่ขึ้นสูง ต่อมาผนังลำตัวมีสีขาวขุ่น และตายโดยปล่อยส่วนหัวห้อยต่ำลง ต่อมาผนังลำตัวมีสีดำคล้ำและแตกออกในที่สุด ข้อดี ของเชื้อ เอ็นพีวี การใช้เชื้อจะทำให้แมลงตายภายใน 2-7 วัน และเมื่อตัวหนอนแมลงตัวอื่นสัมผัสหรือกินเชื้อที่แตกออกก็จะตายตามไปด้วย ข้อด้อย ของเชื้อ เอ็นพีวี ทำลายได้เฉพาะแมลงบางชนิดเท่านั้น หรือเรียกว่า เลือกทำลาย และเชื้อจะเสื่อมลงทันทีเมื่อถูกแสงแดดเผา เกษตรกรจึงนิยมใช้กันน้อยกว่าการใช้สารเคมีกำจัดแมลง เนื่องจากหาซื้อได้สะดวกกว่า วิธีใช้ เอ็นพีวี ควบคุมหนอนแมลงศัตรู แนะนำให้ใช้ อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน 2 ครั้ง เวลาที่ฉีดพ่นต้องหลังบ่ายสามโมงไปแล้ว และต้องฉีดที่ใบพืชปลูกอย่างทั่วถึง การระบาดของแมลงศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิด จะหมดไปในที่สุด ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามที่ สำนักวิจัยอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7580, (02) 940-7493 ในวันเวลาทำการ ประโยชน์ของ บีที กับ เอ็นพีวี ใช้เพื่อกำจัดหนอนผีเสื้อที่เป็นศัตรูพืช ด้วยกันทั้งสองชนิด แต่มีข้อแตกต่างกันคือ การเตรียมเชื้อ เอ็นพีวี ต้องใช้เซลล์มีชีวิต ในการเลี้ยงเชื้อเพิ่มปริมาณการผลิต แต่เชื้อ บีที สามารถใช้อาหารเทียมเลี้ยงเพื่อเพิ่มปริมาณ ดังนั้น การเตรียมเชื้อ บีที จึงทำได้ง่ายกว่านั่นเอง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
6
ตำบล / แขวง :
ทุ่งพระ
อำเภอ / เขต :
คอนสาร
จังหวัด :
ชัยภูมิ
รหัสไปรษณีย์ :
36180
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มีนาคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 330
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM