เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกหม่อนเพื่อทำชา
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีที่อยู่ที่จังหวัดยโสธร ต้องการปลูกหม่อนเพื่อผลิตชาใบหม่อน ผมควรใช้พันธุ์ใดปลูกดี มีวิธีปลูก ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวอย่างไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
    พันธุ์หม่อนที่ใช้ผลิตชา นิยมปลูกพันธุ์บุรีรัมย์ 60 เนื่องจากให้ผลผลิตสูง และมีสารแอนตี้ออกซิแดนต์สูงที่สุด มีคุณสมบัติลดความดัน และไขมันในเส้นเลือดได้ดี ลักษณะประจำพันธุ์ มีต้นตั้งตรง หลังตัดแต่งกิ่งจะแตกกิ่งใหม่อย่างรวดเร็ว ใบไม่มีแฉก ผิวใบเรียบ ขนาดใบใหญ่ หนาแต่อ่อนนุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีปักชำกิ่ง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 4,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี พื้นที่ปลูก ควรมีดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึก ระบายน้ำได้ดี การเตรียมดินด้วยการไถดะ ไถแปรลึก 30 เซนติเมตร ตากดินนาน 1-2 สัปดาห์ ครบกำหนดจึงไถพรวนปรับพื้นให้เรียบ กำจัดวัชพืชจนสะอาด ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ต้องใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่ารองก้นหลุม อัตรา 1 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม ใช้ระยะปลูก 3.0x0.75 เมตร จะได้ 762 ต้น ต่อไร่ หรือระยะ 2.5x0.75 เมตร ได้จำนวน 853 ต้น ต่อไร่ เลือกกิ่งที่มีอายุ 4-12 เดือน ไม่มีโรคและแมลงทำลาย ใช้มีดหรือกรรไกรคมและสะอาดตัดให้ยาวท่อนละ 20 เซนติเมตร ส่วนโคนตัดเฉียงทำมุม 45 องศา นำไปชำในวัสดุเพาะที่สะอาด เช่น ขี้เถ้าแกลบ ฝังกิ่งพันธุ์ 1 ใน 3 ส่วน ในถุงหรือแปลงเพาะชำก็ได้ พรางแสงด้วยซาแรนสีดำ รดน้ำให้ชุ่ม อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรบกวนแย่งน้ำและอาหาร ครบ 4 เดือน จึงนำไปปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ ฝังกิ่งพันธุ์ลงหลุม กลบด้วยดินผสมปุ๋ยคอกพอแน่น ช่วงปลูกที่ดีที่สุดคือ ต้นฤดูฝน จะทำให้โอกาสรอดของต้นหม่อนสูง อายุ 6-8 เดือน สามารถเก็บใบหม่อนได้ ครบหนึ่งปีใส่ปุ๋ยคอกเก่าอีกครั้งในต้นฤดูฝน อัตรา 1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ เก็บใบแล้ว 2 รุ่น ให้ตัดแต่งกิ่งเหลือความสูงจากพื้นดิน 20-30 เซนติเมตร พร้อมใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 50-80 กิโลกรัม ต่อไร่ ด้วยวิธีโรยรอบโคนต้นแล้วกลบดิน ต้นหม่อนจะแตกกิ่งที่สมบูรณ์จนสามารถเก็บใบหม่อนได้ภายใน 2-3 เดือน หลังจากเก็บใบอีก 3 รุ่น จึงตัดให้เหลือความสูง 50 เซนติเมตร ทั้งแปลงและใส่ปุ๋ยอัตราเดิมหมุนเวียนจนครบวงจรตัดต่ำอีกรอบ เฉลี่ยแล้วในหนึ่งปีเก็บใบหม่อนได้ เฉลี่ยประมาณ 4,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี โรครากเน่าเป็นโรคระบาดสำคัญของหม่อน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาการที่พบ ใบและกิ่งหม่อนจะเหี่ยว โดยเฉพาะใบอ่อนใกล้ส่วนปลายยอด เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และลุกลามลงส่วนร่างจนเหี่ยวทั้งต้นในที่สุดและตายในที่สุด เมื่อถอนต้นขึ้นจากดินจะมองเห็นเปลือกส่วนโคนเน่า และลอกหลุดออกได้ง่าย มีกลิ่นเหม็นเน่า วิธีป้องกันกำจัด เมื่อพบการระบาดของโรค ให้ถอนต้นที่เกิดโรค เผาทำลายทิ้งไป โรยฆ่าเชื้อบริเวณหลุมปลูกด้วยปูนขาวพร้อมขุดดิน แล้วนำพันธุ์ต้านทานโรคปลูกแทนด้วยกิ่งพันธุ์ที่ใช้พันธุ์คุณไฟเป็นต้นตอ เสียบยอดด้วยพันธุ์นครราชสีมา 60 หรือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 โรคไหม้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เริ่มแรกจะมีจุดสีเทาขนาดเล็ก ต่อมาขยายใหญ่ขึ้นเป็นแผลสีน้ำตาลกระจายทั่วใบ ทำให้ใบร่วง อาการที่กิ่งมีแผลสีน้ำตาลปนสีดำ กินลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ต่อมากิ่งจะเหี่ยวแห้งตายในที่สุด วิธีป้องกันกำจัด ตัดกิ่งที่เกิดโรคเผาทำลาย ไม่ให้เป็นแหล่งกระจายเชื้อโรค อีกวิธีหนึ่งให้ตัดแต่งกิ่งก่อนเริ่มฤดูฝนให้กิ่งโปร่ง ลมพัดผ่านและแสงส่องเข้าในทรงพุ่มได้ อาการของโรคจะหมดไปในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
มักกะสัน
อำเภอ / เขต :
ราชเทวี
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10400
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 328
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM