เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ประเทศไทยจะมีพันธุ์ข้าวให้ผลผลิต 160 ถัง ต่อไร่ จริงหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยดูข่าวจากทีวี พบว่ามีบางหน่วยงานสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ได้ผลผลิตสูงถึง 160 ถัง ต่อไร่ ซึ่งผมสนใจมาก แต่การออกข่าวครั้งนั้นไม่ได้อธิบายรายละเอียด จึงขอเรียนถามว่า หน่วยงานหรือบริษัทใดเป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวดังกล่าว วิธีการปลูกและการดูแลรักษา แตกต่างกับข้าวพันธุ์อื่น ๆ อย่างไร ผมจะหาซื้อเมล็ดพันธุ์ได้อีกที่ไหน ราคากิโลกรัมละประมาณเท่าไร
วิธีแก้ไข :
 
    ข้าวพันธุ์ ที่ออกข่าวทางทีวีนั้น เป็นพันธุ์ข้าวลูกผสมที่เรียกว่า ข้าวไฮบริด (Hpbrid Rice) เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้จากลูกผสมชั่วที่ 1 ที่มีต้นแม่มีเกสรตัวผู้เป็นหมัน ผสมกับต้นพ่อที่มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเป็นปกติ ทั้งนี้ ทางผู้ผลิตจะไม่เปิดเผยรายละเอียดของพ่อแม่พันธุ์แต่อย่างใด การผลิตเมล็ดพันธุ์ ทำได้ด้วยวิธีปลูกต้นแม่ที่มีเกสรตัวผู้เป็นหมัน จำนวน 6 แถว ใช้ระยะปลูก 20x10 หรือ 20x20 เซนติเมตร และปลูกต้นพ่อปิดหัวท้าย ตามแนวยาว 2 แถว สลับกันไปจนเต็มแปลง จัดช่วงปลูกให้ต้นพ่อและแม่ออกดอกพร้อมกัน ช่วยผสมเกสรด้วยเชือกขึง 2 คน ตามแนวยาวของแถวข้าว ลากเชือกสัมผัสกับเกสรตัวผู้จากต้นพ่อ พาดผ่านไปยังรวงข้าวของต้นแม่อย่างทั่วถึง หากประสงค์ให้การผสมเกสรได้ผลดี ควรทำในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น เมล็ดข้าวที่ผลิตได้เรียกว่า ข้าวลูกผสมไฮบริด ซึ่งให้ผลผลิตสูงกว่าพ่อแม่พันธุ์ 10-30 เปอร์เซ็นต์ แต่หากนำเมล็ดในรุ่นที่สองหรือชั่วที่สองไปปลูก ผลผลิตที่ได้กลับลดลง เป็นสิ่งที่แน่นอนคือ ราคาเมล็ดพันธุ์ต้องมีราคาค่อนข้างแพง ขณะนี้ยังไม่เปิดเผยราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ บริษัท เจียไต๋ จำกัด ผู้ปรับปรุงพันธุ์จึงแนะนำว่า วิธีปลูกข้าวลูกผสมไฮบริดนี้ต้องปลูกด้วยวิธีปักดำเท่านั้น เนื่องจากใช้อัตราเมล็ดพันธุ์น้อยกว่าวิธีหว่านข้าวงอก ส่วนวิธีการดูแลรักษาข้าวลูกผสมไฮบริด ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้าวพันธุ์อื่น จะแตกต่างกันบ้างคือต้องให้ปุ๋ยยูเรียเพิ่มขึ้นอีก 5-8 กิโลกรัม ต่อไร่ ขณะนี้ทางบริษัทผู้ปรับปรุงพันธุ์กำลังทดสอบผลผลิตเพิ่มเติมอยู่ที่ สถานีวิจัย จังหวัดกำแพงเพชร คาดว่า ปี พ.ศ. 2547 จะผลิตเมล็ดพันธุ์ออกจำหน่ายให้ผู้สนใจนำไปปลูกได้ แม้ว่าผลผลิตข้าวลูกผสมไฮบริดจะให้ผลผลิตสูงมากก็ตาม แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญคือ การเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ในปริมาณมากนั้นทำได้ยาก เพราะว่าต้องใช้แรงงานมาก ช่วงผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ปัญหาที่กล่าวมา สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงไม่ได้เร่งพัฒนาการปรับปรุงพันธุ์ข้าวชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม ผมได้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับผู้เกี่ยวข้องว่า สถาบันวิจัยข้าวได้มีการศึกษาค้นคว้าอยู่ไม่น้อย แต่ติดขัดประเทศจีนไม่สนับสนุนด้านพ่อ-แม่พันธุ์ การพัฒนาจึงช้ากว่าภาคเอกชน ประการสำคัญ ภาคราชการมองเห็นว่า การผลิตเมล็ดพันธุ์ต้องใช้งบประมาณสูง หากจะจำหน่ายในราคาปกติเช่นเดียวกับข้าวพันธุ์อื่น รัฐบาลจำเป็นต้องทุ่มงบประมาณมาชดเชยในส่วนนี้ ความเป็นจริงคงเกิดขึ้นได้ยาก เกษตรกรที่สนใจขอให้ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ในส่วนของผมหากมีความก้าวหน้าประการใด ผมจะนำเสนอให้ทราบต่อไป
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ดอนเจดีย์
จังหวัด :
สุพรรณบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 327
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM