เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สารไคโตซานในจิ้งโกร่งและกุ้ง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมได้อ่านบทความจากนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับปักษ์แรก ของเดือนสิงหาคม 2544 ขอถามว่า การนำจิ้งโกร่งทองมาหมักเป็นน้ำหมักเพื่อสกัดเอา สารไคติน-ไคโตซาน นั้น หากไม่มีจิ้งโกร่งจะใช้จิ้งหรีดแทนได้หรือไม่ จากบทความเดียวกัน การใช้วัสดุเป็นส่วนผสมมีเปลือกไข่ กุ้ง และปู 1 กิโลกรัม หมายความว่า รวมกันเป็น 3 กิโลกรัม ถูกหรือไม่ และหากไม่มีน้ำฝนจะใช้น้ำกลั่นที่ใช้เติมแบตเตอรี่รถยนต์จะได้หรือไม่
วิธีแก้ไข :
 
    ไคติน จัดอยู่ในประเภทแป้งและน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่ฝรั่งเขาเรียกว่า คาร์โบไฮเดรต เรานี่แหละครับ ในตัวมนุษย์เราก็มี ที่สำคัญคือ เล็บ และเส้นผม องค์ประกอบสำคัญก็คือ ธาตุคาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O2) และไนโตรเจน (N) ส่วนในแมลงและกุ้งจะมีที่เปลือกทั้งหมด เมื่อไม่นานมานี้มีนักวิทยาศาสตร์นำมาสกัดให้บริสุทธิ์ ให้ชื่อว่า ไคโตซาน นำมาเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง ระบุว่า ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งและเนียน ส่วนผลทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ ผมยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง ต่อมามีบริษัทเอกชนนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในการเกษตร ทั้งใส่ลงในบ่อกุ้งและฉีดพ่นให้กับต้นไม้ เนื่องจากพบว่าการส่งกุ้งออกไปต่างประเทศต้องแกะเปลือกออกให้หมด ส่วนเปลือกจึงเหลืออย่างมากมายมหาศาล จึงทำให้มีผู้สนใจนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ไคโตซาน ออกมาจำหน่าย ส่วนผลในการวิจัยทางวิชาการยังไม่มีการวิจัยรับรองแต่อย่างใด คงต้องคอยติดตามต่อไป ส่วนหนึ่งเปลือกกุ้งทะเลอาจจะมีแคลเซียมปะปนบางส่วน ประโยชน์ของแคลเซียมจะช่วยให้ผนังเซลล์พืชแข็งแรงขึ้น มีผลต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูได้ เนื่องจากจิ้งโกร่งเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่กว่าจิ้งหรีด ทำให้มีปริมาณของไคตินมากกว่า หากหาจิ้งโกร่งไม่ได้ ก็สามารถใช้จิ้งหรีดแทน แต่ต้องเพิ่มปริมาณขึ้นอีก 1 เท่าตัว ส่วนผสมของเปลือกไข่ กุ้ง และปู ใน ข้อ 3.2.2 หน้า 72 นั้น ใช้เปลือกไข่ กุ้ง และปู รวมกัน 1 กิโลกรัม เท่านั้น ไม่ใช่ 3 กิโลกรัม อย่างที่เข้าใจ กรณีไม่มีน้ำฝน จะใช้น้ำกลั่นแทนก็ได้ครับ แต่น้ำกลั่นมีราคาแพง ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็นครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
คลองใหญ่
อำเภอ / เขต :
แหลมงอบ
จังหวัด :
ตราด
รหัสไปรษณีย์ :
23120
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 271
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM