เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลบินข้ามประเทศได้ไกล 200 กิโลเมตร โดยไม่หยุดพัก
   
ปัญหา :
 
 
    มีคนเคยเล่าให้ผมฟังว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เคยระบาดอย่างรุนแรงในบ้านเรามาแล้วเมื่อ 10 ปีก่อน ว่าสามารถบินข้ามประเทศไปได้ไกลเป็นร้อยกิโลเมตรจริงหรือไม่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชนิดปีกสั้นกับปีกยาวเป็นคนละพันธุ์กันใช่หรือไม่ และมีโอกาสจะกลับมาระบาดรุนแรงได้อีกหรือไม่ครับ
วิธีแก้ไข :
 
    เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงขนาดเล็ก ที่ทำความเสียหายให้กับนาข้าวได้อย่างรุนแรงในเวลาเพียงชั่วข้ามคืน เนื่องจากการเพิ่มปริมาณประชากรได้อย่างรวดเร็ว ในสภาวะที่มีอาหารบริบูรณ์ มีสภาพอากาศร้อน อบอ้าว และชื้น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีความสามารถเคลื่อนย้ายด้วยการบินเป็นกลุ่มไปได้ในระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร โดยไม่หยุดพัก ตรงกับความเข้าใจของคุณศิริพงษ์ กาญจนพงษ์พันธุ์ เล่ามา การค้นพบเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 20 ปีเศษที่ผ่านมา ครั้งนั้นญี่ปุ่นได้กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจนราบคาบไปแล้ว แต่วันดีคืนดีกลับมีการระบาดของแมลงชนิดนี้เกิดขึ้นอีก นักวิจัยจึงเกิดความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงตั้งสมมติฐานว่า หากแมลงชนิดนี้อพยพมาจากประเทศอื่นจริงประเทศนั้นน่าจะเป็นเกาหลีอย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลที่ว่าผืนแผ่นดินตั้งอยู่ใกล้กับประเทศญี่ปุ่นที่สุด มีเพียงทะเลญี่ปุ่นกั้นกลางอยู่เท่านั้น ซึ่งระยะทางระหว่างสองประเทศห่างกันเพียง 200 กิโลเมตร โดยประมาณ จากนั้นนักวิชาการญี่ปุ่นจึงส่งเรือประมงพร้อมติดตั้งตาข่ายสวิงบนเสากระโดงเรือไปดักจับที่กลางทะเลญี่ปุ่น ในช่วงที่มีกระแสลมพัดจากประเทศเกาหลีมายังประเทศญี่ปุ่น ผลของการเฝ้าติดตามอยู่ระยะหนึ่งปรากฏว่าพบการเคลื่อนย้ายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล บินข้ามทะเลมาได้โดยอาศัยลมเป็นตัวช่วยจริง ดังนั้น นักวิจัยของทั้งสองประเทศจึงร่วมมือป้องกันกำจัดแมลงศัตรูชนิดนี้อย่างจริงจัง ปัญหาจึงหมดไป เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในช่วงที่มีอาหารบริบูรณ์ปีกจะไม่พัฒนาหรือเรียกว่าปีกกุด แต่หากในช่วงที่ขาดแคลนอาหาร ปีกจะพัฒนาให้ยาวขึ้นเพื่อใช้บินเคลื่อนย้ายไปหาอาหารกินในแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า ดังนั้น การปลูกข้าวพันธุ์เดียวกันอย่างต่อเนื่อง อาจเกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลขึ้นได้อีก ข้อแนะนำทางวิชาการ ให้ปลูกข้าวหลากหลายพันธุ์ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน หากจะให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ควรปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นสลับกับการทำนา เพื่อตัดวงจรการระบาดของแมลงชนิดนี้ลง ส่วนโอกาสการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจเกิดขึ้นได้หากไม่มีการเฝ้าระวังอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม ข้อเตือนใจจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเคยเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 ต่อเนื่องปี พ.ศ. 2533 ที่รุนแรงและกว้างขวาง ทำให้นักวิชาการและตัวเกษตรกรเองได้ให้ความสนใจในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เหตุการณ์อย่างที่ผ่านมาเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในทางวิชาการไม่มีการเรียกว่า พันธุ์ แต่จะเรียกว่า ชีวะชนิด หรือไบโอไท้พ์ ที่มาจากคำว่า Bio-type นั่นหมายถึง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีรูปร่างลักษณะและขนาดเดียวกัน จนแยกไม่ออก แต่มีความสามารถเข้าทำลายข้าวได้ต่างพันธุ์กัน เช่น ชีวะชนิด เอ สามารถเข้าทำลายข้าวพันธุ์ กข 1 ได้ แต่ไม่ทำลายข้าวพันธุ์ กข 2 ในทางตรงกันข้าม ชีวะชนิด บี สามารถเข้าทำลายข้าวพันธุ์ กข 2 ได้ แต่ไม่ทำลายข้าวพันธุ์ กข 1 จึงสรุปว่า เพลี้ยกระโดดทั้งสองเป็นคนละชีวะชนิดกัน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
4
ตำบล / แขวง :
ตาคลี
อำเภอ / เขต :
ตาคลี
จังหวัด :
นครสวรรค์
รหัสไปรษณีย์ :
60140
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 16 ฉบับที่ 326
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM