เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
อินโดนีเซียมีแหล่งพันธุกรรมพืชที่ดี
   
ปัญหา :
 
 
    ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่ ทราบว่ายังมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่อีกมากมาย แต่เพราะเหตุใดไม่ทราบจึงยังต้องนำเข้าข้าวจากประเทศไทยอยู่เป็นประจำ ผมขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อน ขออวยพรให้คุณหมอเกษตรทองกวาวและผู้ร่วมงานมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีพลังที่จะช่วยเกษตรกรอีกต่อไปได้นาน ๆ
วิธีแก้ไข :
 
    อินโดนีเซีย มีพื้นที่ทั้งหมด 2,027,087 ตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้วมีขนาดใหญ่กว่าถึง 4 เท่า ประชากรสำรวจในปี พ.ศ. 2540 มี 184,283,000 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม สภาพภูมิอากาศร้อนชื้นเช่นเดียวกับประเทศไทย มีเกาะใหญ่ที่สำคัญ 4 เกาะ คือ เกาะชวา สุมาตรา บอร์เนียว และเกาะเซลีเบส เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซียส่วนใหญ่มีสันเขาพาดผ่านตอนกลางของเกาะ แต่ละเกาะล้วนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้เขตร้อน มีที่ราบแคบ ๆ รอบเกาะที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก ฝั่งทะเลมักเป็นที่ชื้นและมีป่าชายเลนเจริญงอกงามเขียวขจีตลอดปี การเกษตรกรรม สำคัญคือ การทำนา ปลูกข้าวโพด อ้อย ยาสูบ กาแฟ ชา ยางพารา โกโก้ ต้นซิงโคนา เปลือกใช้สกัดเป็นยา ควินิน สำหรับรักษาไข้มาลาเรีย ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว และพริกไทย ปศุสัตว์ มีการเลี้ยงโค แกะ ม้า และสัตว์ปีก ประมง การประมงของอินโดนีเซียนับว่ายังล้าหลัง สัตว์น้ำที่จับได้จากทะเลจะใช้บริโภคภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แร่ ที่สำคัญมีดีบุก และปิโตรเลียม ถ้าพูดถึงภูเขาไฟ การากาเตา ไม่ใช่ การากาตั้ว คนไทยรู้จักกันดี ชาวอินโดนีเซียเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. 2426 ภูเขาไฟลูกนี้เคยปรากฏให้เห็นบนเกาะที่ช่องแคบซุนดาระหว่างเกาะชวากับเกาะสุมาตรา เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง เถ้าและฝุ่นละอองพุ่งขึ้นจากพื้นดินไปในบรรยากาศสูงถึง 12 ไมล์ เสียงระเบิดดังไปไกลกว่า 3,000 ไมล์ แรงระเบิดทำให้เกาะถล่มหายไปครึ่งหนึ่ง เกิดคลื่นยักษ์สูง 40 เมตร ทำลายหมู่บ้านกว่า 150 หมู่บ้าน ผู้คนล้มตายประมาณ 35,000 คน ยอดภูเขาไฟการากาเตา เคยสูง 655 เมตร กลายมาเป็นเกาะเตี้ย ๆ พร้อมเกิด ทะเลสาบหุบภูเขาไฟ เหลือไว้ให้เห็นในปัจจุบัน กำลังการผลิตพืชเศรษฐกิจ ของอินโดนีเซียเทียบกับประเทศไทย เฉลี่ย 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2545 ข้าว อินโดนีเซียผลิตได้ 50.2 ล้านตัน ไทยผลิตได้ 23.13 ล้านตัน เมื่อเทียบกันแล้ว อินโดนีเซียผลิตได้มากกว่าไทย 2.1 เท่า แต่ในทางตรงกันข้ามประชากรของอินโดนีเซียมีมากกว่าไทยถึง 2.9 เท่า นี่คือปัญหาสำคัญที่อินโดนีเซียผลิตข้าวได้ไม่พอบริโภค สรุปง่าย ๆ ว่า ผลิตได้ไม่พอกินนั่นเอง สาเหตุที่แท้จริงอินโดนีเซียไม่สามารถหาพื้นที่ราบขนาดใหญ่เพื่อปลูกข้าวได้ จำเป็นต้องทำนาปลูกข้าวแบบขั้นบันได ที่พบเห็นได้ในทุกเกาะของอินโดนีเซียแต่ก็ผลิตได้ไม่พอบริโภคอยู่ดี ประเทศไทยผลิตข้าวได้มากเกินพอบริโภคจนสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศประมาณ 4 ล้านตันข้าวสาร ต่อปี นำเงินตราเข้าประเทศได้ปีละไม่น้อย มันสำปะหลัง อินโดนีเซียผลิตได้ 15.6 ล้านตัน ไทยผลิตได้ 17.2 ล้านตัน อ้อย อินโดนีเซียผลิตได้ 55.7 ล้านตัน ไทยผลิตได้ 49.8 ล้านตัน และ ข้าวโพด อินโดนีเซีย ผลิตได้ 9.4 ล้านตัน ส่วนประเทศไทยผลิตได้ 4.3 ล้านตัน พันธุกรรมพืช ที่น่าสนใจซึ่งคนไทยนำเชื้อพันธุ์มาพัฒนาในบ้านเรา ได้แก่ ชมพู่ ผลยาวสีแดงอมน้ำตาล สาลัก หรือ สะละเนื้อสีขาว รสหวานกรอบ และ เงาะพันธุ์ผลกลม ซึ่งล้วนอยู่ระหว่างขั้นตอนการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเด่นที่ได้จากของไทยและอินโดนีเซีย นี่คือความเก่งของเกษตรกรไทยครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
โนฆ้อง
อำเภอ / เขต :
บ้านฝาง
จังหวัด :
ขอนแก่น
รหัสไปรษณีย์ :
40270
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 16 ฉบับที่ 325
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM