เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เกษตรดีที่เหมาะสม มีความเป็นมาและมีความหมายอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ดิฉันเคยอ่านพบข่าวเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดยมีการอ้างถึงการนำเอา GAP เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือ ดิฉันยังไม่เข้าใจถึงความหมายและความเป็นมาของคำว่า GAP จึงหวังพึ่งคุณหมอเกษตร ช่วยกรุณาอธิบายให้ทราบด้วยค่ะ
วิธีแก้ไข :
 

    GAP มาจากคำว่า Good Agvicultural Practic มีความหมายว่า เกษตรดีที่เหมาะสม สืบเนื่องจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ เอฟ เอ โอ ได้กำหนดเป้าหมายของระดับนานาชาติไว้ว่า จะนำหลักปฏิบัติของ เกษตรดีที่เหมาะสม มาใช้ในการผลิตอาหารให้พอเพียง หล่อเลี้ยงพลโลก เพื่อลดจำนวนผู้หิวโหยลง และสนับสนุนให้มีความมั่นคงในการผลิตอาหารของโลก โดยกำหนดหลักการของเกษตรดีที่เหมาะสม ไว้ 8 ประการคือ

  1. การจัดการดินที่ดี ในการผลิตอาหาร เพื่อรักษาและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ด้วยวิธีเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุลงในดิน ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือการปลูกพืชหมุนเวียนก็ตาม ปลูกพืชคลุมผิวลดการชะล้างหน้าดินเมื่อมีฝนตกหนัก การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรด้วยประเภท ปริมาณ ระยะเวลา และวิธีการอย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
  2. การจัดการน้ำ ให้มีใช้อย่างพอเพียง ป้องกันไม่ให้มีการปนเปื้อนของสารพิษทั้งน้ำที่ผิวดินและน้ำใต้ดิน
  3. การผลิตพืช คัดเลือกพันธุ์หรือสายพันธุ์พืชที่ต้านทานโรคและแมลงศัตรู รวมทั้งจัดช่วงปลูกอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของศัตรูพืช จัดลำดับการปลูกพืชในแปลงปลูกให้มีความหลากหลายที่เกื้อกูลประโยชน์ต่อกัน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อเพิ่มธาตุไนโตรเจนที่ได้จากไรโซเบียมในปมรากถั่ว มีการทำระบบเกษตรผสมผสานพืชสัตว์และปลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของความปลอดภัยที่รัฐกำหนดไว้
  4. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ให้มีการตรวจสอบและพยากรณ์ช่วงการระบาดของโรคและแมลงศัตรูอย่างสม่ำเสมอ และนำวิธีการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานมาใช้อย่างเหมาะสม คือ การระบาดระยะแรกไม่รุนแรงให้กำจัดโดยวิธีเผาทำลาย เมื่อมีการระบาดมากขึ้นในระดับหนึ่งให้ควบคุมด้วยชีววิธี เช่น ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน หรือ ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรู และเมื่อมีการระบาดถึงระดับทำความเสียหายรุนแรงจึงใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม การเก็บรักษาสารเคมีก่อนและหลังนำมาใช้ให้เก็บในที่ห่างไกลจากเด็กเพราะอาจเกิดอันตรายได้
  5. การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปในระดับไร่นา เก็บเกี่ยวผลผลิตในเวลาถูกต้องเหมาะสม ไม่ให้มีผลตกค้างของสารเคมีในระดับอันตราย ล้างทำความสะอาดผลผลิตด้วยน้ำ สบู่ และน้ำสะอาด เก็บรักษาผลผลิตในแหล่งที่สะอาดถูกสุขลักษณะ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม บรรจุผลผลิตในภาชนะที่สะอาดก่อนการขนส่งไปยังแหล่งจำหน่าย
  6. การจัดการพลังงานและของเสียจากไร่นา จัดหาและใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหรือถ่านที่ใช้เป็นแหล่งพลังงานอย่างเหมาะสมและพอเพียง มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรตามกำหนดเวลา ควรนำพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์และไบโอดีเซลมาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง เก็บปุ๋ยและสารเคมีการเกษตรในที่มิดชิด ปลอดภัยจากเด็กและสัตว์เลี้ยง
  7. สวัสดิภาพ สุขภาพ และความปลอดภัยของเกษตรกรหรือผู้ปฏิบัติ การผลิตสินค้าเกษตรต้องมีรายได้พอเพียงกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต มีความปลอดภัยและมีเวลาพักผ่อนอย่างพอเพียง รัฐต้องเป็นผู้ให้ความรู้ในการใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรอย่างถูกวิธี นายจ้างต้องจ่ายค่าตอบแทนอย่างเหมาะสมให้กับลูกจ้าง
  8. ไม่ทำลายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชป่า และสภาพภูมิประเทศ การทำการเกษตรควรหลีกเลี่ยงการทำลายพันธุ์พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการไถพรวน ในการเตรียมดินเพื่อเพาะปลูกลง การกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม การใช้สารเคมีอย่างระมัดระวัง มีการจัดการน้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำไม่ให้มีสารพิษปนเปื้อน อันจะเกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมใกล้เคียงอีกด้วย ผมอธิบายมาเสียยืดยาว และผมหวังว่า คุณคงเข้าใจในเรื่อง GAP ดีขึ้นไม่มากก็น้อย หากต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานเลขานุการ กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน จตุจักร กทม. 10210 โทร. (02) 579-4406 ในวันเวลาทำการ ขอให้โชคดีครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
เจริญสุข
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
ราชบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
70000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 16 ฉบับที่ 324
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM