เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะเกี๋ยงต่างกับต้นหว้า
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสงสัยมานานว่า ต้นมะเกี๋ยงกับต้นหว้านั้นเป็นพืชชนิดเดียวกันหรือไม่ และแตกต่างกันอย่างไร ผมอยากทราบรายละเอียดของต้นมะเกี๋ยงเป็นพิเศษอีกด้วย
วิธีแก้ไข :
 
    มะเกี๋ยง กับ ต้นหว้า เป็นพันธุ์ไม้คนละชนิดกัน ลักษณะที่มองเห็นที่แตกต่างกันอย่างเด่นชัด ใบมะเกี๋ยง มีสีเขียวซีด มีเส้นใบปรากฏชัด ก้านใบสีม่วง แดง ใบอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ก้านใบค่อนข้างสั้นสีแดงสด เมื่อนำมาขยี้ดมจะมีกลิ่นน้ำมันหอมระเหยเฉพาะตัว ส่วน ใบหว้า มีสีเขียวเข้มเรียบมัน ก้านใบสีเขียวอ่อน ผลหว้า มีขนาดใหญ่ สีม่วงดำ รสอมเปรี้ยว ผลสุกแก่ในเดือนพฤษภาคม ส่วน ผลมะเกี๋ยง มีขนาดเล็ก สีม่วงแดง มีรสเปรี้ยว ผลสุกแก่ในเดือนสิงหาคม ต้นมะเกี๋ยง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่สู ง 15-20 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 1.5 เมตร ต้นตั้งตรง เปลือกสีเทาหรือสีเทาปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบหรืออาจแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามความยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว แตกออกจากกิ่งอ่อนตรงข้ามกันเป็นคู่ กิ่งละ 4-6 คู่ กว้าง 8-12 เซนติเมตร ยาว 20-30 เซนติเมตร ดอกมะเกี๋ยง มะเกี๋ยงจะให้ดอกเมื่อมีอายุ 4-5 ปีขึ้นไป จะผลิดอกระหว่างมุมก้านใบ เป็นกระจุกแยกแขนง ลักษณะคล้ายพีระมิด ยาว 8-14 เซนติเมตร ก้านช่อดอกเรียบสีเขียวเข้ม ดอกมะเกี๋ยงเป็นดอกประเภทสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยสีเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-4 มิลลิเมตร ยาว 4-7 มิลลิเมตร ก้านเกสรตัวผู้สีขาว ผลมะเกี๋ยง ผลสุกเนื้อนุ่ม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผล 10-18 มิลลิเมตร ยาว 15-24 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเหลืองปนเขียว ผลแก่เปลือกบางสีแดง จนถึงแดงอมม่วง เนื้อผลสีขาวหนา 3-5 มิลลิเมตร เนื้อผลชั้นในเป็นเยื่อบางหุ้มรอบเมล็ด ในหนึ่งผลจะมีเพียง 1 เมล็ด เนื้อผลมีรสเปรี้ยวและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เมล็ด เป็นรูปไข่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 มิลลิเมตร ใน 1 เมล็ด มีหลายต้นอ่อน เปลือกเมล็ดมีสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดจะเสียความงอกเร็วมาก แหล่งปลูกมะเกี๋ยง พบได้ที่ประเทศอินเดีย เมียนมาร์ และภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา และน่าน อาจพบเห็นบ้างแต่จำนวนไม่มากที่จังหวัดแพร่ แม่ฮ่องสอน และพิษณุโลก มะเกี๋ยงชอบขึ้นตามริมห้วย หนอง บึง มีความชุ่มชื้นตลอดปี แต่อย่างไรก็ตาม มะเกี๋ยงไม่ชอบน้ำขัง เป็นที่น่าสังเกตว่ามะเกี๋ยงส่วนใหญ่จะขึ้นใกล้แหล่งที่อยู่อาศัย ในทางตรงกันข้ามไม่พบมะเกี๋ยงอยู่ในป่าธรรมชาติ จึงเชื่อว่ามีคนทางภาคเหนือนำเมล็ดจากที่อื่นมาปลูก คุณค่าทางโภชนาการในเนื้อมะเกี๋ยงสด ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน กาก คาร์โบไฮเดรต พลังงานและน้ำตาล 1.29, 0.31, 3.52, 7.95 และ 1.94 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ กรดแอมมิโนที่จำเป็นในร่างกาย มีหน่วยมิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 100 กรัม ไอโซ-ลูซีน ลูซีน ไลซีน เมไทโอนีน ซิสทีน ทรีโอนีน ทริปโตเฟน วาลีน และฮีสติดีน ในปริมาณ 26.32, 55.10, 4.76, 8.93, 14.29, 31.51, 9.01, 35.37 และ 16.65 ตามลำดับ แหล่งข้อมูล กรมวิทยาศาสตร์บริการ, 2539 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ อ.ทนงศักดิ์ มณีวรรณ หัวหน้าคณะปฏิบัติงานวิทยาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรลำปาง กระทรวงศึกษาธิการ อ.เมือง จ.ลำปาง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
แม่สอด
จังหวัด :
ตาก
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 16 ฉบับที่ 324
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM