เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เคปกูซเบอรี่ ไม้จากอเมริกาใต้
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่เมื่อเดือนก่อน พบว่ามีผลไม้ชนิดหนึ่งมีชื่อว่า เคปกูซเบอรี่ มีผลค่อนข้างแปลก ไม่ทราบว่ามีรสชาติอย่างไร และเป็นพืชนำมาจากประเทศใด
วิธีแก้ไข :
 
    เคปกูซเบอรี่ (Cape gooseberry) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุข้ามปี และมีเนื้ออ่อน สูงเพียง 90-160 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านออกรอบทรงพุ่ม มีใบยาว 6-15 เซนติเมตร และกว้าง 4-10 เซนติเมตร ใบมีรูปทรงระฆัง ดอกมีสีเหลือง มีฐานรองดอก 5 กลีบ หลังผสมเกสรกลีบดอกจะร่วง และฐานรองดอกพัฒนาเป็นกาบหุ้มผล มีสีฟาง ส่วนผลกลมเมื่อสุกสีเหลืองเข้ม ขนาดใกล้เคียงกับมะเขือเปรี้ยว ผลเกลี้ยงมัน ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็ก รสชาติคล้ายกับมะเขือเปรี้ยว มีกลิ่นหอมอ่อนคล้ายมะเขือเทศ รสชาติออกเปรี้ยวเล็กน้อย ผลสุกเต็มที่จะฉ่ำน้ำ เคปกูซเบอรี่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะในประเทศเปรูและชิลี แม้ว่ามีวางจำหน่ายในตลาดทั่วไปของทั้งสองประเทศ แต่ปัจจุบันก็ยังไม่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ มีการนำเคปกูซเบอรี่ไปปลูกเมือง เคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2360 จึงเชื่อว่าเคปทาวน์มีอิทธิพลต่อการตั้งชื่อพืชดังกล่าว ปัจจุบันนิยมใช้ผลิตแยม บรรจุกระป๋อง และรับประทานผลสด ต่อมามีผู้นำไปปลูกในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ส่วนใหญ่นิยมปลูกแบบสวนครัว ระยะเวลาใกล้เคียงกันมีการแพร่กระจายไปสู่เกาะฮาวาย และนำเข้าสู่ประเทศอิสราเอลในปี พ.ศ. 2476 ในที่สุดมีการนำไปปลูกในสหรัฐอเมริกาอีกประเทศหนึ่ง เคปกูซเบอรี่เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น ประเทศไทยปลูกได้ดีที่บนดอยสูงของจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีนิสัยชอบขึ้นในดินที่อุดมสมบูรณ์สูงและระบายน้ำได้ดี ต้องการแสงแดดจ้า แต่ต้องมีพืชกันลมเพื่อช่วยป้องกันลมพัดกันโชกแรง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและปักชำ ฤดูเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น ในประเทศไทยนิยมปลูกบนดอยสูง ที่โครงการหลวง ที่นี่เก็บเกี่ยวผลผลิตระหว่างปลายเดือนมีนาคมไปถึงกลางเดือนเมษายน รวมระยะเวลาตั้งแต่เมล็ดงอกจนเก็บเกี่ยว ใช้เวลา 8-12 เดือน เมื่อปลูกครบ 4 ปี ควรรื้อแปลงทั้งหมดและปลูกพืชหมุนเวียน โดยปลูกพืชตระกูลถั่ว เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช คุณค่าทางโภชนาการ ของผลเคปกูซเบอรี่ ปริมาณ 100 กรัม มีส่วนประกอบของน้ำ โปรตีน ไขมัน เส้นใย และเถ้า ปริมาณ 78.9, 0.054, 0.16, 4.9 และ 1.01 กรัม มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก แคโรทีน ไทอามีน ไรโบเฟลวิน ไนอะซิน และวิตามินซี 8.0, 55.3, 1.23, 1.613, 0.101, 0.032, 1.73 และ 43.0 มิลลิกรัม ตามลำดับ ข้อควรระวัง หากรับประทานผลดิบจะเกิดโทษต่อร่างกายได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จองทอง
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10150
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 384
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM