เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงกวางให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะเลี้ยงกวาง จะต้องเตรียมตัวอย่างไร และควรเลี้ยงพันธุ์อะไรดี การเลี้ยงดูต้องปฏิบัติอย่างไร และข้อมูลอื่น ๆ สามารถติดต่อสอบถามได้จากแหล่งใดบ้างครับ
วิธีแก้ไข :
 
    กวาง เป็นสัตว์กีบ มีสี่กระเพาะ สามารถกินหญ้า ใบไม้ต่าง ๆ รวมทั้งเปลือกไม้บางชนิด กวางส่วนใหญ่ไม่มีถุงน้ำดี ประเทศที่เลี้ยงกวางเป็นการค้ามีหลายประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ เวียดนาม และมาเลเซีย ในประเทศไทยได้นำกวางพันธุ์รูซ่าจากประเทศนิวแคลีโดเนีย ซึ่งสามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของบ้านเราที่อยู่ในเขตร้อน ข้อดีของกวางพันธุ์รูซ่าจะสามารถผสมข้ามพันธุ์กับกวางป่าได้ง่าย กวางพันธุ์รูซ่า อายุ 2 ปี เพศผู้มีน้ำหนักตัว 50-100 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียมีน้ำหนักเฉลี่ย 50-60 กิโลกรัม กวางชนิดนี้เริ่มเป็นสัดเมื่ออายุ 13 เดือน และเป็นสัดได้ตลอดปี ใช้เวลาอุ้มท้องนาน 233 วัน จะให้ลูกตัวแรกเมื่ออายุ 2-3 ปี คราวละ 1 ตัว การกินอาหารของกวางรูซ่าจะใกล้เคียงกับแพะ คือกินทั้งหญ้าและใบไม้ต่าง ๆ จึงเป็นกวางที่เลี้ยงง่าย เมื่อชำแหละจะให้เปอร์เซ็นต์ซากประมาณ 58 เปอร์เซ็นต์ กวางลูกผสมที่ใช้กวางรูซ่าเป็นแม่และใช้กวางป่าเป็นพ่อจะได้ลูกแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดีกว่าพ่อแม่ อีกทั้งให้เนื้อและเขาได้ดีพอกัน สถานที่เลี้ยงกวาง ไม่ควรมีน้ำขังแฉะ ก่อนนำกวางเข้ามาเลี้ยงต้องนำตัวอย่างดินไปตรวจหาเชื้อแอนแทรกซ์เสียก่อน เพื่อป้องกันการระบาดของโรคชนิดนี้ รั้วกั้นต้องให้ขอบล่างชิดกับพื้นดินกันสุนัขเข้าไปรบกวน รั้วลวดควรเหนียว ทนทานและยืดหยุ่น มีซองบังคับกวางขณะทำวัคซีนและตัดเขา สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมีต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในบริเวณที่เลี้ยงกวาง การเลี้ยงกวางในปัจจุบันนิยมเลี้ยงแบบปล่อยแปลง อัตราการปล่อยให้คำนวณจากความต้องการกินหญ้าแห้งเป็นอาหาร เช่น ลูกกวางอายุ 18 เดือน ต้องการกินหญ้าแห้งวันละ 1.5 กิโลกรัม กวางเพศผู้โตเต็มวัยต้องการอาหาร 1.7 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียต้องการหญ้าแห้ง 1.0 กิโลกรัม ทั้งนี้ค่าเฉลี่ยหญ้าสด 1 กิโลกรัม ผลิตหญ้าแห้งได้ 300 กรัม แปลงปลูกหญ้าสำหรับเลี้ยงกวางควรมีอย่างน้อยจำนวน 3 แปลง แต่ละแปลงควรปลูกหญ้าต่างชนิดกัน น้ำสะอาดต้องมีให้กินตลอดเวลา ลักษณะประจำพันธุ์ของกวางรูซ่า มีส่วนสูง 110 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 102 กิโลกรัม โรคที่พบเสมอคือ วัณโรคปอด ต่อมน้ำเหลืองในช่องอกและเต้านมอักเสบ ทำให้กวางมีร่างกายซูบผอม กินอาหารได้น้อยลง หายใจขัด และไอ โรคปากเปื่อยเท้าเปื่อย อาการเริ่มแรกจะมีน้ำลายฟูมปาก ต่อมาจะมีตุ่มเล็ก ๆ และใสเกิดขึ้นในปาก บริเวณกีบเท้าทำให้เดินกะเผลก กินอาหารน้อยลง ร่างกายซูบผอม ไม่ถึงกับเสียชีวิต แต่จะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง วิธีป้องกันโรค ให้แยกกวางที่เป็นโรคออกจากฝูงกวางที่ได้มาใหม่ ห้ามเลี้ยงร่วมกับฝูงเก่า ต้องแยกเลี้ยง จนแน่ใจว่าไม่มีโรคติดต่อจึงปล่อยเลี้ยงรวมกันได้ การให้เขา กวางเพศผู้อายุครบ 1 ปี จะเริ่มให้เขาอ่อน และเปลี่ยนเป็นเขาเนื้อแข็ง ใช้เวลา 3-6 เดือน จึงตัดมาใช้ประโยชน์ได้ กวางที่แข็งแรงสมบูรณ์ ให้น้ำหนักเขา 5 กิโลกรัม และตัดได้ปีละ 1 ครั้ง จากนั้นตัดได้อีกต่อไป 10-15 ปี เขากวางเมื่อนำมาอบแห้งจะได้น้ำหนักเพียง 30-35 เปอร์เซ็นต์ การให้เนื้อ กวางเพศผู้อายุ 14 เดือน มีน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 80 กิโลกรัม เมื่อชำแหละจะได้น้ำหนักซาก 50 กิโลกรัม หรือประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ซาก ต้องการรายละเอียดอื่น ๆ สอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จังหวัดราชบุรี โทร. 0-3226-1090 หรือ กลุ่มงานสัตว์เล็ก กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ พญาไท โทร. 0-2251-4281 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
สว่าง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
สุรินทร์
รหัสไปรษณีย์ :
32000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 319
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM