เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
หนอนกออ้อย อันตรายตัวใหม่จากจีน
   
ปัญหา :
 
 
    ผมทราบข่าวจากนักวิชาการบางท่าน บอกว่า ขณะนี้ได้พบหนอนกออ้อยชนิดใหม่ที่ทำลายต้นอ้อยได้รุนแรงกว่าหนอนกออ้อยชนิดที่เคยระบาดอยู่ในบ้านเรา จึงขอเรียนถามถึงรูปร่างลักษณะ ความเป็นมาอย่างไรที่เข้ามาระบาดได้ และจะสามารถขอข้อมูลรายละเอียดจากใครได้บ้างครับ
วิธีแก้ไข :
 
    หนอนกออ้อย เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง ที่ทำความเสียหายให้กับอ้อยได้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอ้อยในระยะแตกกอ ประเทศไทยมีหนอนกอระบาดอยู่ 5 ชนิด ได้แก่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอสีขาว หนอนกอสีชมพู หนอนกอลายใหญ่หรือลายแถบ และหนอนกอลายจุดใหญ่ แต่ชนิดที่ทำลายรุนแรงมากที่สุดที่ผ่านมาคือ 3 ชนิดแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2546 นายณัฐกฤต พิทักษ์ นักวิชาการเกษตร 8 สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตรได้สำรวจพบ หนอนกออ้อยชนิดใหม่ที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งลำตัวจะมีลายแถบสีแดงด้านข้าง จากการตรวจสอบประวัติพบว่า หนอนกอชนิดนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีนตอนใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ทั้งนี้คาดว่าน่าจะติดมากับท่อนพันธุ์อ้อยที่นำมาจากประเทศไต้หวันเมื่อหลายปีก่อน หนอนกอชนิดนี้มีนิสัยชอบสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จึงเจริญเติบโตได้ดีในพืชอาศัยที่อยู่ตามชายน้ำและพงหญ้า มีน้ำขังแฉะ จากการสำรวจความเสียหายในแหล่งปลูกอ้อยที่จังหวัดนครสวรรค์ในปีเดียวกัน พบว่า มีการระบาดรุนแรงกว่าหนอนกอลายจุดเล็กที่เคยระบาดรุนแรงในประเทศไทยมาแล้ว วงจรชีวิตของหนอนกอชนิดใหม่นี้ จะวางไข่เป็นกลุ่ม มีลักษณะสีขาวใส ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม ไข่ 1 กลุ่ม จะมีประมาณ 5-22 ฟอง อัตราการฟักเป็นตัวประมาณ 90-100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อฟักออกจากไข่ ที่บริเวณลำตัวจะมีรอยขีดสีแดงด้านข้าง เมื่อโตเต็มที่จะมีจุดตามลำดับตัวสีดำเข้ม มีการลอกคราบ 8 ครั้ง จึงจะเป็นตัวเต็มวัย ขนาดลำตัวยาว 17 มิลลิเมตร ส่วนกะโหลกหัว กว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร เมื่อเข้าดักแด้แล้วจะมีสีแดงเข้ม ระยะเป็นดักแด้ใช้เวลา 8-11 วัน แล้วพัฒนาเป็นผีเสื้อ ลำตัวและปีกมีสีเทาดำ ที่เส้นปีกมองเห็นสีดำชัดเจน ผีเสื้อเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย นิสัยของหนอนกอชนิดนี้เมื่อฟักออกจากไข่จะคืบคลานไปที่ขอบใบ และเคลื่อนย้ายไปที่ส่วนยอด รวมตัวกันอยู่ 10-30 ตัว และกัดกินยอดอ้อยจนแห้งตาย เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยควรระวังการระบาดจากหนอนกอชนิดใหม่นี้ ในสภาพที่อากาศมีความชื้นสูง เช่น ขณะที่หมอกลงจัด หรือหลังฝนตกใหม่ ๆ แนะนำว่า เกษตรกรควรออกตรวจแปลงอ้อยอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดแล้วให้รีบป้องกันกำจัดทันทีเพื่อไม่ให้ทำความเสียหายกับไร่อ้อยของเกษตรกร ต้องการายละเอียดเพิ่มเติม ให้ติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2579-0605, 0-2579-3930-3 ต่อ 213 ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
3
ตำบล / แขวง :
ตลุก
อำเภอ / เขต :
สรรพยา
จังหวัด :
ชัยนาท
รหัสไปรษณีย์ :
17150
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 319
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM