เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เพราะเหตุใด ราคาต้นยางชำถุงจึงมีราคาแพงขึ้นมาก
   
ปัญหา :
 
 
    ผมกำลังมีความสนใจในการปลูกยางในภาคอีสาน ขณะนี้กำลังดำเนินการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องอยู่ แต่มีข้อสงสัยว่าปัจจุบันราคาต้นยางชำถุงมีราคาแพงขึ้นมาก และเพราะเหตุใดกรมวิชาการเกษตรจึงต้องมารับผิดชอบในการจัดหาต้นยางชำถุงให้กับเกษตรกรที่เข้าโครงการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ ซึ่งแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ที่เคยปฏิบัติมา
วิธีแก้ไข :
 
    โครงการปลูกยางในพื้นที่ใหม่จำนวน 1 ล้านไร่ โดยจัดสรรให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 แสนไร่ และภาคเหนือ 3 แสนไร่ มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2547-2549 นั้น ผมมีโอกาสเข้าพบ นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เพื่อสอบถามถึงรายละเอียดเกี่ยวกับราคายางชำถุงว่า ทำไม จึงแพงขึ้นจากที่เคยซื้อขายกันเพียงต้นละ 12 บาท ปัจจุบันขยับสูงขึ้นถึง 18-19 บาท เป็นเพราะเหตุใดผมได้รับคำอธิบายว่า โครงการดังกล่าวจะดำเนินการไปพร้อมกับการปลูกยางทดแทนสวนเก่าที่หมดสภาพแล้ว ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยในปี พ.ศ. 2547 มีพื้นที่ปลูกยางใหม่ จำนวน 200,000 ไร่ และการปลูกทดแทนสวนเก่าอีก 350,000 ไร่ รวมเป็น 550,000 ไร่ ต้องใช้ต้นยางชำถุง จำนวน 50 ล้านต้น ปี พ.ศ. 2548 พื้นที่ปลูกยางใหม่ จำนวน 300,000 ไร่ ปลูกทดแทนสวนเก่า 350,000 ไร่ รวมพื้นที่ 650,000 ไร่ ใช้ต้นยางชำถุง จำนวน 59 ล้านต้น และในปี พ.ศ. 2549 การปลูกยางในพื้นที่ใหม่ 500,000 ไร่ ปลูกทดแทนสวนเก่าอีก 350,000 ไร่ รวมพื้นที่ 850,000 ไร่ ใช้ต้นยางชำถุง 77 ล้านต้น ดังนั้น ในเวลา 3 ปี ต้องใช้ต้นยางชำถุงจำนวน 186 ล้านต้น ทำให้ความต้องการยางชำถุงของเกษตรกรในระยะนี้สูงขึ้นมาก จึงส่งผลต่อราคาต้นยางชำถุงที่ปรับระดับราคาสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้น เพื่อให้โครงการดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รัฐบาลจึงควรวางมาตรการควบคุมราคายางชำถุงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับความเป็นจริง เพื่อสนับสนุนให้โครงการปลูกยางในพื้นที่ใหม่ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างแท้จริง นอกจากนี้ มักมีคำถามเสมอว่า การปลูกยางในพื้นที่ใหม่อีก 1 ล้านไร่นั้น จะทำให้ปริมาณยางที่เพิ่มขึ้นจนล้นตลาดเกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไร นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบายเพิ่มเติมว่า ยางปลูกใหม่นั้น จะสามารถกรีดน้ำยางได้ต้องมีอายุ 6-7 ปี ขึ้นไป ในพื้นที่ 1 ล้านไร่ จะได้ยางแผ่นดิบประมาณ 2 แสนตัน ปริมาณดังกล่าวจะสอดรับกับการลดปริมาณการผลิตยางของประเทศมาเลเซียลง เพื่อนำพื้นที่ปลูกยางเดิมไปใช้ปลูกปาล์มน้ำมันแทน นอกจากนี้ ความต้องการใช้ยางของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกัน จึงจะไม่มีผลกระทบต่อปริมาณใช้ยางของตลาดโลกที่มีอยู่ประมาณ 8 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การปลูกยางในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ต้นยางชำถุงที่มีระบบรากที่แข็งแรงสมบูรณ์ อีกทั้งรอยแผลของตาต้องแห้งสนิทปราศจากเชื้อโรค เพื่อแก้ปัญหาจากข้อจำกัดของเวลาปลูกยางที่เหมาะสมเพียง 2 เดือน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เท่านั้น ซึ่งมีโอกาสช่วงสูญเสียในอัตราที่สูงกว่าการปลูกยางในภาคใต้ที่มีช่วงปลูกยาวนานถึง 5 เดือน และอีกหนึ่งคำถาม มักถามว่า โครงการปลูกยางพื้นที่ใหม่ ทำไมกรมวิชาการเกษตรจึงเป็นผู้ดำเนินการจัดหาพันธุ์ยางปลูกให้กับเกษตรกร เนื่องจากมีความแตกต่างจากโครงการอื่น ๆ ในอดีตที่ผ่านมา นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ ได้ชี้แจงว่า โดยความเป็นจริงแล้วตาม พ.ร.บ. ยางปี 2481 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การพัฒนาคุณภาพยางทุกขั้นตอนให้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมวิชาการเกษตรทั้งสิ้น นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ กล่าว อนึ่ง การปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดประโยชน์กับเกษตรกรหลายประการ คือ นอกจากมีรายได้เป็นตัวเงินแล้ว สวนยางยังเพิ่มร่มเงาให้ความชุ่มชื่นกับท้องถิ่น เมื่อปลดระวางแล้ว ไม้ยางยังสามารถตัดขายได้อีก สิ่งสำคัญสวนยางจะช่วยลดปัญหาในภูมิภาคให้เกษตรกรทำงานอยู่ในท้องถิ่นตลอดปี จึงเป็นการแก้ปัญหาการอพยพผู้คนเข้าไปขายแรงงานในเมืองหลวงได้อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
มีชัย
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
หนองคาย
รหัสไปรษณีย์ :
43000
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 319
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM