เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
โครงการปลูกยางหนึ่งล้านไร่ ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจโครงการปลูกยางหนึ่งล้านไร่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่ามีความเป็นมาอย่างไร มีจังหวัดใดบ้างที่อยู่ในโครงการ และทำไมจึงมอบให้เอกชนเป็นผู้ผลิตต้นกล้ายาง หากผมจะเข้าร่วมโครงการ จะติดต่อได้ที่ไหนครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ความเป็นมาของโครงการปลูกยาง 1 ล้านไร่ มีดังนี้ สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 26 พฤษภาคม 2546 ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ และความมั่นคงให้กับเกษตรกร ในแหล่งปลูกยางใหม่ระยะที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2547 ถึง 2549 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ 13 จังหวัด 700,000 ไร่ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ มุกดาหาร เลย อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร และศรีสะเกษ ต่อไปอาจเพิ่มจำนวนจังหวัดขึ้นได้ และภาคเหนือ 7 จังหวัด พื้นที่ 300,000 ไร่ ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ และลำพูน โดยมีกรมวิชาการเกษตรดำเนินการผลิตต้นยางชำถุง จำนวน 90 ล้านต้น ในวงเงิน 1,440 ล้านบาท นายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ชี้แจงในรายละเอียดว่า การผลิตต้นยางชำถุงจำนวนดังกล่าว ได้มีการจ้างเหมาให้เอกชนเป็นผู้ผลิตแทนการซื้อต้นยางชำถุงที่ผลิตไว้แล้วนั้น มีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ จะได้ต้นยางชำถุงตรงตามพันธุ์และอัตราการรอดตายสูง ทั้งนี้ การผลิตต้นยางชำถุงให้ได้คุณภาพนั้น ต้องมีวิธีการควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอนและใช้เวลาตรวจสอบนาน 8-12 เดือน นอกจากนี้ การผลิตจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมแปลงเพาะกล้ายาง ต้องปรับพื้นที่ให้เรียบ จัดระบบการให้น้ำอย่างเหมาะสม เมล็ดยางที่นำมาปลูกต้องแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลงศัตรู ปลูกแล้วจะได้ต้นกล้าที่มีระบบรากแข็งแรง ภายในเวลา 1 สัปดาห์ ขั้นตอนที่ 2 การดูแลรักษาต้นกล้ายาง ขณะที่ต้นกล้ายางมีขนาดเล็กต้องให้น้ำ ใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด จะส่งผลให้ต้นกล้ามีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลา 5-8 เดือน จะได้ต้นกล้ายางที่มีขนาดพอเหมาะในการติดตาพันธุ์ดี ขั้นตอนที่ 3 นำตายางพันธุ์ดีจากกิ่งตายางในแปลงที่จดทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตร ซึ่งผ่านการตรวจสอบและรับรองพันธุ์มาแล้ว ติดตาให้กับต้นกล้าในแปลง ครบ 3 สัปดาห์ ต้นกล้าที่ได้จะเจริญเติบโตเป็นพันธุ์ดีต่อไป ขั้นตอนที่ 4 ถอนต้นกล้าที่ติดตาแล้ว จากแปลงเพาะกล้าขึ้นจากดินในแปลง ให้ตัดยอดเหนือแผลติดตา 10-12 เซนติเมตร พร้อมกับตัดแต่งรากให้เหลือความยาวเพียง 15-20 เซนติเมตร ต้นกล้าที่ตัดยอดและแต่งรากจนเรียบร้อย เรียกว่า ต้นตอตายางพันธุ์ดี ขั้นตอนที่ 5 นำต้นตอตายางพันธุ์ดี ปลูกลงในถุงเพาะชำที่มีวัสดุปลูก หมั่นรดน้ำและใส่ปุ๋ยตามอัตราแนะนำ พร้อมกำจัดวัชพืชให้สะอาดอยู่เสมอ อีก 2-5 เดือน จะได้ต้นยางชำถุงที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร กำหนดไว้ นอกจากนี้ ผู้รับจ้างผลิตต้นยางชำถุง ต้องมีพื้นที่แปลงกล้าเป็นของตนเอง ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ และมีแปลงต้นยางกิ่งตาพันธุ์ดีที่จดทะเบียนไว้กับกรมวิชาการเกษตรอีกไม่น้อยกว่า 200 ไร่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลและควบคุมการผลิตได้อย่างเป็นระบบ จนแน่ใจว่าผู้รับจ้างปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน เมื่อได้ต้นยางชำถุงตามต้องการแล้ว จะต้องมีการตรวจรับอีก 180 จุด แต่ละจุดจะต้องตรวจรับจำนวน 500,000 ต้น โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และตัวแทนเกษตรกร เป็นผู้ตรวจรับ โดยทั้งนี้ กรรมการจะตรวจรับเฉพาะต้นยางชำถุงที่ได้มาตรฐานเท่านั้น ต้องการรายละเอียดติดต่อสอบถามที่ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประจำจังหวัด หรือสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลาง บางเขน โทร. 0-2 579-1576 ในวัน เวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ด่านซ้าย
จังหวัด :
เลย
รหัสไปรษณีย์ :
42120
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 318
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM