เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกสะละพันธุ์ดี ที่สุโขทัยได้หรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสนใจจะปลูกสะละพันธุ์ดีที่จังหวัดสุโขทัย จะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หากปลูกได้แล้วจะให้ติดผลดกและมีรสหวาน ควรปฏิบัติอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    สะละ เป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ดิน ต้องระบายน้ำได้ดี ความเหมาะสมของพื้นที่อันดับแรกต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำพร้อมสร้างสภาพแวดล้อมให้ร่มเย็น ก็สามารถปลูกสะละให้ผลดีได้ ยกตัวอย่างการปลูกสะละที่จังหวัดเพชรบูรณ์ของไร่กำนันจุล โดยใช้สะละพันธุ์หม้อ ด้วยเหตุผลที่ว่าให้ผลดกตลอดปี แม้ว่าความนิยมของผู้บริโภคจะสู้สะละพันธุ์เนินวงไม่ได้ก็ตาม เพชรบูรณ์ปลูกได้ สุโขทัยก็ย่อมปลูกได้ ขออธิบายความแตกต่างของสะละทั้งสองพันธุ์ คือ พันธุ์หม้อจะมีผลเล็กและกลมกว่าพันธุ์เนินวง แต่จะถามว่ารสชาติพันธุ์ใดดีกว่ากัน คำตอบคือสุดแท้แต่ใครจะชอบ แต่ในถิ่นปลูกแถวจังหวัดระยองและจันทบุรี นิยมปลูกสะละเนินวงมากกว่า การขยายพันธุ์ ด้วยวิธีตัดต้นแม่เป็นท่อนคล้ายกับท่อนอ้อย ชำลงในวัสดุเพาะ ครบ 1 ปี นำปลูกลงในแปลงใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร ระยะแรกต้องปลูกพืชให้ร่มเงา อาจใช้ต้นตะขบก็ได้ แต่เมื่อต้นสะละมีใบมาประสานกันจนร่มครึ้ม ให้ตัดต้นตะขบทิ้งไป แปลงปลูกหากมีลมพัดแรงต้องกั้นด้านข้างด้วยซาแรนสีดำ ในแนวตั้งลักษณะเดียวกับรั้วกั้น วิธีการให้น้ำ นิยมให้แบบมินิสปริงเกลอร์ เนื่องจากสะละแต่ละต้นแบ่งเป็นต้นตัวผู้และต้นตัวเมีย การขยายพันธุ์ ด้วยการชำจะได้ต้นแม่ทั้งหมด ส่วนการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด จะได้ต้นตัวผู้สูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เพื่อให้ได้ต้นตัวผู้สำหรับผลิตเกสร ให้นำต้นที่ได้จากวิธีเพาะเมล็ดล้อมสวนไว้ ในช่วงออกดอกต้องช่วยผสมเกสร ด้วยวิธีใช้พู่กันแตะเกสรตัวผู้แล้วนำไปแตะลงที่เกสรตัวเมีย จะทำให้การติดผลดีขึ้นถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ควรใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเก่า และใส่ปูนขาว อัตรา 300-500 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้องการให้สะละมีรสหวานแนะนำให้ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตราครึ่งกิโลกรัม จนถึงหนึ่งกิโลกรัมต่อไร่ หากใส่ปุ๋ยเกล็ดพร้อมกับการให้น้ำจะช่วยประหยัดแรงงานได้มาก การตัดแต่งทางใบและทรงต้น ด้วยเสียมเหล็กที่ออกแบบเฉพาะ เพื่อให้ทรงกอสวยงามไม่เกะกะและไม่เป็นอันตรายขณะเข้าปฏิบัติงานในสวน การไว้แขนง ให้ไว้ไม่เกิน 3 ต้น ในหนึ่งทรงพุ่ม หากปล่อยไว้มากเกินไป จะให้ผลขนาดเล็ก อีกทั้งทรงพุ่มจะเกะกะไม่สวยงาม หากมีเวลาลองแวะไปเยี่ยมชมแปลงปลูกสะละที่ไร่กำนันจุล ได้ตลอดเวลา แต่ต้องติดต่อล่วงหน้าไปก่อนจึงจะได้รับความสะดวก ลองสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มจุลไหมไทย 443 หมู่ 3 ต.วังชมพู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67210 โทร. 0-5677-1101-4 ในเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ศรีสัชนาลัย
จังหวัด :
สุโขทัย
รหัสไปรษณีย์ :
64130
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 318
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM