เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มังคุดไม่ติดดอกผล
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีมังคุดอยู่ 25 ต้น อายุประมาณ 15 ปี ผมไม่ค่อยได้ดูแลเท่าที่ควร ผมเคยซื้อขี้ไก่มาใส่ ผลตามมาคือ ใบแห้งกรอบ ต่อมาซื้อปุ๋ยเม็ดมาใส่มังคุดปรากฏว่า ออกผลดี แตกใบดีมาก แต่ตรงกันข้ามในช่วงออกดอกกลับไม่ยอมติดดอกออกผลประการใด ผมรู้สึกจนปัญญาไม่ทราบจะแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    มังคุด เป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงและระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 5-6 หรือเรียกว่า ดินเป็นกรดอ่อน สภาพอากาศร้อนและชุ่มชื้น มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีที่ 25-30 องศาเซลเซียส และต้องการปริมาณน้ำฝน 1,300 มิลลิเมตรตลอดปี ประการสำคัญต้องมีแหล่งน้ำอย่างพอเพียงให้กับมังคุดในช่วงฤดูแล้ง การปลูกมังคุดให้ได้ผลดีนั้น มีวิธีปฏิบัติและดูแลรักษาตามลำดับคือ กรณีต้นมังคุดที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรตัดแต่งกิ่ง หลังเก็บเกี่ยวผลมังคุดไปแล้วตัดกิ่งที่แห้ง กิ่งเป็นโรค ตัดแต่งปลายกิ่งที่เบียดทรงพุ่มระหว่างต้นที่อยู่ในแถวเดียวกัน เพื่อให้ลมพัดและแสงแดดส่องเข้าภายในทรงพุ่มได้ การใส่ปุ๋ยบำรุงต้น หลังตัดแต่งกิ่งทันที ด้วยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม พร้อมกับปุ๋ยคอกเก่า อัตรา ต้นละ 1-2 ปุ้งกี๋ ด้วยวิธีโรยใต้ทรงพุ่มและรดน้ำตามทันที หรือต้องการให้ปุ๋ยเคมีเกิดประโยชน์มากที่สุด ให้เซาะร่องเล็ก ๆ และตื้นเป็นวงกลมใต้ทรงพุ่ม ห่างจากโคนต้นประมาณ 1 เมตร ใส่ปุ๋ยกลบดินตื้น ๆ แล้วรดน้ำตาม ใส่ปุ๋ยระยะก่อนออกดอก ด้วยปุ๋ยสูตร 8-24-12 หรือ 12-24-12 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และใส่ปุ๋ยระยะติดผลแล้ว ระยะนี้ต้องรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ พร้อมใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1 กิโลกรัม และใส่อีกครั้งเมื่อมังคุดติดผลแล้ว 4-5 สัปดาห์ ด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 14-14-21 อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น จะทำให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น แต่หากปีใดราคามังคุดไม่ดีให้ลดการใช้ปุ๋ยลงบ้างตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ และต้องหมั่นกำจัดวัชพืชเพื่อไม่ให้แย่งน้ำและอาหารจากมังคุดที่ปลูก แมลงศัตรูสำคัญ ที่มีส่วนทำให้มังคุดไม่ติดผลคือ เพลี้ยไฟ เป็นแมลงขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มักระบาดในระยะฝนทิ้งช่วง อากาศแห้งติดต่อกันหลายวัน ตัวอ่อนและตัวแก่ของเพลี้ยไฟจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ดอกอ่อน และผลอ่อน ทำให้ยอดแห้ง ดอกและผลอ่อนร่วงหล่นไม่ติดผล การป้องกันกำจัด ทำได้โดยหมั่นตรวจดูที่ดอกมังคุด หากพบว่ามีเพลี้ยไฟอาศัยอยู่ตามโคนดอกหรือกลีบดอก ให้ฉีดพ่นด้วยเมทไธโอคาร์บ หรือคาร์โบซัลแฟน ตามอัตราแนะนำที่ข้างฉลาก ตรวจซ้ำหลังจากใช้สารเคมีไปแล้ว 5-7 วัน หากพบว่ายังมีการระบาดอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีก 1 ครั้ง ก็พอ ไรแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมากอีกชนิดหนึ่ง มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ตัวโตเต็มวัยมีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ ลำตัวมีสีแดง เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว มักอาศัยอยู่เป็นกลุ่ม และเข้าระบาดพร้อม ๆ กับเพลี้ยไฟ โดยจะดูดน้ำเลี้ยงที่ดอก และผลอ่อน ทำให้ดอกอ่อน ผลอ่อนแห้งและร่วงหล่นในที่สุด หากไม่ร่วงหล่นผิวมังคุดจะตกกระเป็นขุย ขายไม่ได้ราคา วิธีป้องกันกำจัด ให้หมั่นตรวจดูมังคุดในสวน หากพบมีการเข้าทำลายดอกและผลให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงทุก ๆ 7-10 วัน 2-3 ครั้ง การระบาดจะหมดไป การให้ปุ๋ยให้น้ำและควบคุมแมลงศัตรูมังคุดได้อย่างถูกวิธี จะช่วยให้คุณปลูกมังคุดได้ผลดีตามความต้องการ สำหรับข้อมูล รายละเอียดอื่นๆ สอบถามได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อำเภอพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี หรือที่สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-0508 ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
มาบข่า
อำเภอ / เขต :
พนัสนิคม
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
21180
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 317
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM