เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การกำจัดแมลงวันทองด้วยรังสี จะเหมาะสมกับประเทศไทยหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    มีข่าวว่าปัจจุบันนี้มีวิธีกำจัดแมลงวันทองผลไม้ได้ผลดีนั้น เป็นความจริงหรือไม่ ถ้าหากได้ผลดีแล้วผมจะไปติดต่อสอบถามได้ที่หน่วยงานไหน หากมีต้นทุนสูงหรือรัฐบาลไม่สามารถสนับสนุนได้ จะมีวิธีป้องกันและควบคุมแมลงวันทองที่ทำลายผลไม้ได้อย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    แมลงวันทองหรือแมลงวันผลไม้ เป็นแมลงที่ทำลายผลไม้ได้หลายชนิด แมลงวันผลไม้ที่สร้างความเสียหายให้กับผลไม้มากที่สุด จัดอยู่ในวงศ์ Dacinae เนื่องจาก มีพืชอาศัยหลายชนิด สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดปี มีการเคลื่อนย้ายเพื่อหาอาหารได้เป็นระยะทางไกล และปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ โดยเฉพาะเพศเมียวางไข่ได้คราวละจำนวนมาก การเจริญเติบโตตั้งแต่ฟักออกจากไข่ เป็นตัวหนอน ดักแด้และตัวเต็มวัย ใช้เวลาเพียง 1-3 เดือนเท่านั้น ลักษณะตัวโตเต็มวัย การกำจัดหนอนแมลงวันทองด้วยวิธีฉายรังสีแกรมม่าเพื่อให้เพศผู้เป็นหมัน เมื่อผลิตได้ปริมาณมาก ๆ แล้วนำไปปล่อยในแหล่งที่มีแมลงวันทองระบาด เมื่อมีการผสมพันธุ์ระหว่างเพศเมียปกติกับเพศผู้เป็นหมัน ไข่ที่ได้ก็จะไม่ได้รับเชื้อตัวผู้ ไข่ที่ได้จึงฟักไม่เป็นตัว ทำอย่างต่อเนื่อง วิธีนี้ใช้ได้ผลมาแล้วในประเทศญี่ปุ่น ทำไมประเทศญี่ปุ่นจึงประสบความสำเร็จ ก็เพราะว่าญี่ปุ่นเป็นเกาะไม่มีชายแดนติดกับผืนแผ่นดินประเทศอื่น ระยะทางที่แมลงวันทองจะบินข้ามเกาะอย่างเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ทำไม่ได้ ญี่ปุ่นได้ทุ่มเทงบประมาณมหาศาลในการกำจัดแมลงวันทองด้วยวิธีดังกล่าว ดังนั้น ต่างกักพืชของญี่ปุ่นจึงตรวจเข้มกับการส่งผลไม้เข้าประเทศ เพื่อไม่ให้มีการระเบิดเกิดขึ้นทำความเสียหายให้กับวงการผลไม้ในประเทศอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะโอกินาว่า ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้เมืองร้อนได้ดีที่สุดของญี่ปุ่น ในความเห็นของผมการกำจัดแมลงวันทองด้วยวิธี ฉายรังสีเพศผู้ ของไทยนั้นทำได้ในเชิงวิชาการแต่จะให้สำเร็จเหมือนกับญี่ปุ่นนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไทยมีชายแดนติดกับหลายประเทศ ที่ปลูกผลไม้เมืองร้อนเช่นเดียวกับประเทศเรา ดังนั้น แม้ว่าเราจะทำได้สำเร็จ แต่อีกไม่กี่วันก็จะพบการระบาดเกิดขึ้นอีก เนื่องจากแมลงวันทองสามารถบินข้ามประเทศมาได้ หากต้องการรายละเอียด ติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ใกล้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้านถนนวิภาวดีรังสิต ในวันและเวลาราชการ อย่างไรก็ตาม วิธีปฏิบัติที่ค่อนข้างได้ผลดี ตามคำแนะนำของ สำนักงานอารักขาพืช ตามโครงสร้างใหม่ที่รวมเอากองกีฏและสัตววิทยา กองวิจัยโรคพืชและจุลชีวะ และ กองพฤกษศาสตร์และวัชพืช กรมวิชาการเกษตร ดังนี้ 1. ทำความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หมั่นเก็บผลที่ร่วงหล่นฝังหรือเผาทำลาย ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์อีกต่อไป 2. การห่อผลวิธีนี้สามารถป้องกันการเข้าทำลายได้คือ 100 เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูงก็ตาม แต่ก็ได้ผลคุ้มค่า 3. ใช้วิธีกับดักด้วยสารล่อเพศผู้ ทำได้โดยหยดสารล่อ เมทธิลยูจีนอล ลงในสำลี พร้อมกับสารกำจัดแมลง มาลาไธออน แล้วใส่ลงกับดักแบบสเตนเนอร์ หรือประยุกต์จากขวดน้ำอัดลมพลาสติกใสก็ได้ประโยชน์ไม่แพ้กัน อัตราวางกับดัก 10 อัน ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ในบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ วิธีนี้แม้ว่าจะได้ผลน้อยแต่ประโยชน์ที่สำคัญเพื่อตรวจดูปริมาณแมลงวันทองผลไม้สำหรับวางแผนกำจัดต่อไป 4. วิธีใช้เหยื่อล่อ โดยใช้สารเคมี คลอร์พีริฟอส หรือ มาลาไธออน อัตรา 200 ซีซี ผสมลงในเหยื่อ โปรตีนไฮโดรไลเซท อัตรา 20 ซีซี ผสมสารจับใบละลายในน้ำ 5 ลิตร พ่นเป็นจุด ต้นละ 4 จุด ทุกทิศทาง ใช้จุดละ 10-30 ซีซี ควรฉีดพ่นในตอนเช้าตรู่ ทุก 7 วัน รวม 4 ครั้ง จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดจากแมลงวันทองลง ในกรณีที่พบแมลงวันทองในกับดักสารล่อเพศผู้มากกว่า 1 ตัวต่อกับดัก ให้ฉีดพ่นสารพิษได้อีก
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
แกลง
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 316
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM