เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปุ๋ยคีเลตเป็นอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับการเกษตร พบคำว่า ปุ๋ยคีเลต แต่ไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด จึงเขียนจดหมายมาเรียนถามคุณหมอเกษตร และขอให้ขยายความให้เข้าใจด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ของปุ๋ยเคมีมีอะไรบ้าง
วิธีแก้ไข :
 
    คีเลต (Chelate) มาจากภาษากรีก มีความหมายว่า กรงเล็บหรือกรรไกร หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ สารที่มีโครงสร้างเป็นวงแหวน เมื่อนำมาผสมกัน ปุ๋ยจะทำหน้าที่นำธาตุอาหารบางชนิดที่ซึมเข้าทางใบได้ยาก ให้เข้าสู่ใบพืชและแตกตัวให้ธาตุอาหารเกิดประโยชน์กับต้นพืชได้ดีขึ้น ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุก็เรียกกัน สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภทคือ 1. สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก และกรดอะมิโน 2. สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่าง เช่น อีดีทีเอ ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตทางใบ เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ลำตาเสา
อำเภอ / เขต :
วังน้อย
จังหวัด :
พระนครศรีอยุธยา
รหัสไปรษณีย์ :
13170
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 316
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM