เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาแดง และ ปลาตอง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมได้ติดตามอ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านอยู่เป็นประจำ นับว่าเป็นนิตยสารที่เต็มไปด้วยเนื้อหาสาระครบเครื่องดีมาก อ่านแล้วได้ความรู้และมีความหวังทำให้มีกำลังใจ กำลังปัญญาในการประกอบอาชีพต่อไป ผมเขียนจดหมายมาเป็นฉบับแรก ขอเรียนถามปัญหาคือ ผมต้องการเลี้ยง ปลาแดง และ ปลาตอง ปลาทั้งสองจะนำมาเลี้ยงในเชิงธุรกิจได้อย่างไร และมีอุปนิสัยอย่างไร และจะหาพันธุ์ได้จากที่ไหนได้บ้างครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ปลาแดง หรือ ปลาเนื้ออ่อน ปลาน้ำเงิน ปลานาง และ ปลาเกด มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น พบมากในภาคกลาง ตามแม่น้ำลำคลอง ในอ่างน้ำที่มีระดับน้ำลึก มีลำตัวยาว 25-30 เซนติเมตร เคยพบขนาดใหญ่ที่สุดยาว 60 เซนติเมตร ลักษณะลำตัวยาวและแบนมาก แผ่นหลังยกสูงและลาดลงมาทางส่วนหัว ปากกว้างและเฉียงเล็กน้อย ตามีขนาดเล็กอยู่ตรงกลางของส่วนหัว ที่มุมปากมีหนวดเส้นเล็ก 2 คู่ ปลาชนิดนี้ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นยาวไปจดโคนหาง หางมีขนาดเล็กและเว้าลึก พื้นลำตัวมีอมชมพู ส่วนหัวและข้างลำตัวมีจุดดำขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่ว เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร ชอบนอนกบดานอยู่ในน้ำลึก กินอาหารมีกลิ่นสาบและฉุน เหยื่อที่ใช้ตกปลาแดงจึงหนีไม่พ้นแมลงสาบ ปลาแดงจะวางไข่ระหว่างเดือนสิงหาคมไปจนถึงเดือนกันยายน ตามโคนต้นไม้น้ำหรือตามโขดหิน ไข่มีสีเหลืองอมน้ำตาล วางไข่คราวละหลายหมื่นฟอง และจะฟักออกเป็นตัวภายใน 24 ชั่วโมง ระวังอย่าเลี้ยงปลาแดงร่วมกับปลาที่มีขนาดเล็กกว่า เพราะจะถูกจับกินหมด ปลาแดงเป็นปลาที่ตกใจง่าย การให้อาหารด้วยการหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้กิน ส่วนพันธุ์ปลา กรมประมงและฟาร์มปลาทั่วไปยังไม่มีเพาะจำหน่าย เนื่องจากยังไม่มีความก้าวหน้าในขั้นที่เลี้ยงในเชิงธุรกิจ เพราะเจริญเติบโตช้า ส่วนใหญ่จะได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาตอง พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติที่ประเทศพม่า มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ขนาดลำตัวยาวไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะลำตัวแบน ยาวเรียวลงไปทางหาง หัวเล็กมาก สันลำตัวด้านหน้าคอดลึก ปากกว้าง พื้นลำตัวสีเทาเงิน ลำตัวส่วนบนมีสีคล้ำกว่าด้านล่าง มีจุดดำขนาดใหญ่ 5-10 จุด ล้อมรอบด้วยวงแหวนสีขาว วางเรียงขนานไปกับครีบก้น ครีบหลังมีขนาดเล็กมาก เกล็ดก็มีขนาดเล็กละเอียดเช่นเดียวกัน มักหลบซ่อนอาศัยอยู่ตามตอไม้หรือซอกหิน หรืออาจลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ ในน้ำ มีนิสัยขี้อาย ตกใจง่ายและไม่ชอบแสงจ้า ลักษณะเด่นของเพศผู้คือส่วนของปากจะงอนและเชิดมากกว่าเพศเมีย ครีบก้นก็ใหญ่กว่าเพศเมียอีกด้วย จะผสมพันธุ์และฟักไข่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน และจะวางไข่คราวละ 5,000-10,000 ฟอง ฟักออกเป็นตัวใช้เวลา 7 วัน การเลี้ยงแต่ละรุ่น ต้องคัดขนาดให้เท่ากัน จัดทำซอกมุมให้เป็นที่หลบเลี่ยงกันได้ ให้อาหารด้วยเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลาหั่นให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ แต่สามารถฝึกให้กินอาหารสำเร็จรูปได้ การเลี้ยงในเชิงธุรกิจยังไม่มี ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ สอบถามได้ที่ สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดหนองคาย บ้านห้วยทราย ต.บ้านพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 43130 โทร. (042) 451-195 ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
คงบัง
อำเภอ / เขต :
บึงโขงหลง
จังหวัด :
หนองคาย
รหัสไปรษณีย์ :
43220
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 315
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM