เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สนใจเลี้ยงปลาทับทิม
   
ปัญหา :
 
 

    ผมต้องการเลี้ยงปลาทับทิม ทราบว่ามีราคาแพงและเป็นปลาที่ทนต่อโรค ปัจจุบันผมอยู่ที่ ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ผมมีพื้นที่ขนาดใหญ่พอสมควร ในบริเวณฝายทดน้ำ ขนาด 100 x 1,000 เมตร ตอนนี้ผมต้องการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปลาทับทิม ดังต่อไปนี้ 

  1.  แหล่งพันธุ์ ตลาดรับซื้อ ราคารับซื้อ แหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ อาหารปลา 
  2.  ระยะเวลาคุ้มทุน 
  3.  โรคต่าง ๆ ของปลาทับทิม
วิธีแก้ไข :
 
    ปลาทับทิม เป็นพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ ผู้ที่จะเลี้ยงปลาชนิดนี้ ต้องติดต่อที่บริษัท จากนั้นทางบริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูฟาร์มของคุณว่า มีความพร้อมในการเลี้ยงปลาชนิดนี้หรือไม่ โดยเฉพาะแหล่งน้ำ เมื่อทางบริษัทมั่นใจแล้ว จึงส่งมอบพันธุ์ปลาพร้อมอุปกรณ์และอาหาร พร้อมมีการเซ็นสัญญาระหว่างผู้เลี้ยงกับบริษัท ทั้งนี้ ทางบริษัทจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมด ส่วนเงื่อนไขต่าง ๆ ต้องตกลงกันเอง ราคารับซื้อจากบริษัทอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 40-50 บาท และวางจำหน่ายในตลาด ประมาณ 70-80 บาท ต่อกิโลกรัม 2. ระยะเวลาคุ้มทุน ขึ้นอยู่กับความสามารถการผลิต และปริมาณการผลิตของแต่ละราย โดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณ 5-6 รุ่น จึงจะคุ้มทุน การเลี้ยงในแต่ละรุ่น ใช้เวลา 4-5 เดือน ต้องการรายละเอียดสอบถามที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โทร. (02) 657-8800 3. โรคสำคัญของปลาตะเพียน โรคแผลตามลำตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย อาการเริ่มแรกเกล็ดปลาจะหลุดออกจากลำตัว ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึก หากการระบาดรุนแรงปลาอาจตายได้ วิธีป้องกันและรักษา ให้แช่ปลาที่แสดงอาการเริ่มแรกในน้ำ ผสมยาปฏิชีวนะ เตตร้าซัยคลิน อัตรา 10-20 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร เป็นเวลา 1-2 วัน หากอาการยังไม่หายขาดให้ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง การระบาดของโรคจะหมดไป หรือผสมเตตร้าซัยคลินในอาหารปลา อัตรา 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การกำจัดเชื้อโรคในบ่อด้วยปูนขาว อัตรา 50-60 กิโลกรัม ต่อไร่ การเกิดโรคจะหมดไปในที่สุด โรคท้องบวม เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาการที่พบจะมีท้องบวบมาก บริเวณผิวหนังมีรอยช้ำตกเลือด เกล็ดจะตั้งขึ้น วิธีป้องกันและรักษา ใช้วิธีเดียวกับโรคแผลตามลำตัว และไม่ควรเลี้ยงปลาในอัตราที่หนาแน่นจนเกินไป อีกทั้งควรให้อาหารในอัตราไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลารวมกันทั้งบ่อเลี้ยง (โดยการคำนวณ) โรคหูดปลา หรือ โรคแสนปม เกิดจากการเข้าทำลายจากเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบจะมีตุ่มสีขาวคล้ายหูดมีหลายขนาด ปรากฏขึ้นบริเวณหลังและครีบหลังของปลา ตุ่มเหล่านี้มักอยู่รวมกันเป็นกระจุก การป้องกันและรักษา เมื่อเกิดการระบาดจากโรคนี้แล้วการรักษาจะทำได้ยาก จึงต้องแยกปลาที่เป็นโรคออกมาทำลาย ส่วนปลาที่ยังไม่เป็นโรคให้แยกออกเลี้ยงในบ่อใหม่ จากนั้นฆ่าเชื้อโรคในบ่อด้วยปูนขาวหรือสารละลายด่างทับทิม ระบายน้ำทิ้งและตากบ่อให้แห้ง นาน 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงใช้บ่อเลี้ยงปลาได้ต่อไป โรคจุดขาว เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่งที่กินผิวหนังปลาเป็นอาหาร อาการของโรคจะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ปรากฏให้เห็นกระจายอยู่ทั่วทั้งตัว วิธีป้องกันและรักษา ก่อนนำปลามาเลี้ยงในบ่อ ต้องกักไว้ในตู้หรือบ่อ นาน 7-10 วัน จนแน่ใจว่าไม่มีเชื้อโรคติดมาด้วย จึงนำลงเลี้ยงในบ่อ และในช่วงมีการระบาดรุนแรงให้แช่พันธุ์ปลาในสารละลายที่มีส่วนผสมของฟอร์มาลิน 2.0-2.5 ซีซี ต่อน้ำ 100 ลิตร เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนำลงเลี้ยงในบ่อ ปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น การระบาดของโรคจะไม่เกิดขึ้น
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 269
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM