เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงแกะ จะได้ผลดีหรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีที่ว่างอยู่หลายไร่ อยากนำมาใช้ประโยชน์ ลองคิดวางแผนจะเลี้ยงแกะ จะได้ผลประการใด พันธุ์แกะที่นิยมเลี้ยงมีกี่พันธุ์ และจะเลี้ยงดูอย่างไร การตลาดจะเป็นไปได้เพียงใด
วิธีแก้ไข :
 
    ปัจจุบันประเทศไทยเลี้ยงแกะกันอยู่เพียงจำนวนจำกัด เนื่องจากมีตลาดรองรับอยู่ที่มาเลเซีย และตะวันออกกลาง เกษตรกรที่เลี้ยงแกะส่วนใหญ่จะเลี้ยงเป็นฝูงเล็ก ๆ เพียงรายละ 3-5 ตัว มีเพียงบางรายที่เลี้ยงเป็นจำนวน 100 ตัวขึ้นไป พันธุ์แกะที่มีเลี้ยงอยู่ในปัจจุบันคือ พันธุ์พื้นเมือง ที่มีเชื้อสายมาจากจีนตอนใต้ มีลักษณะลำตัวสีขาว บางตัวมีสีเข้มปะปนอยู่ด้วย รูปร่างเล็ก สูงเฉลี่ย 46-47 เซนติเมตร น้ำหนักตัวเต็มวัย เพศผู้ 25-30 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียมีน้ำหนัก 20-25 กิโลกรัม แกะพันธุ์พื้นเมือง เหมาะสำหรับใช้เพื่อบริโภคเนื้อมากกว่าเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์จากขนแกะ พันธุ์เมอริโน เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตได้เร็วกว่าพันธุ์พื้นเมือง เพศผู้มีน้ำหนักประมาณ 75 กิโลกรัม สูง 70 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียมีน้ำหนักประมาณ 65 กิโลกรัม สูงเพียง 60 เซนติเมตร ขนสีขาวละเอียด ่แกะพันธุ์นี้ทนต่อสภาพอากาศร้อนได้ดี แต่คุณภาพเนื้อไม่ดีนัก มีการนำเข้ามายังประเทศไทยในปี 2514 โดยรัฐบาลสาธารณรัฐเยอรมัน ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สำหรับโครงการเกษตรที่สูง จำนวน 20 ตัว ระยะแรกเลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ดอยอ่างขาง ต่อมานำมาผสมพันธุ์กับพันธุ์พื้นเมือง แล้วนำมาขยายพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อมีจำนวนมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานให้กับเกษตรและแพร่หลายสู่เกษตรกรทั่วไป โรงเรือนเลี้ยงแกะ ต้องเลือกสถานที่น้ำไม่ท่วมขังขณะฝนตก หากสามารถยกพื้นควรยกสูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร พื้นคอกให้ทำเป็นร่องเช่นเดียวกับคอกแพะ เพื่อให้มูลและเศษอาหารตกลงพื้นดิน ไม่ให้ขังสกปรกบนพื้นที่ยกสูงขึ้น พร้อมทำไม้พาดหรือบันไดให้แกะเดินขึ้นลงได้สะดวก พื้นที่โรงเรือนคิดคำนวณอัตรา 1 ตัว ต่อ 2 ตารางเมตร ภายในโรงเรือนจะต้องมีรางน้ำและรางอาหารที่มีขอบด้านในสูง 10 เซนติเมตร ส่วนด้านนอกสูง 30 เซนติเมตร ผนังโรงเรือนควรสร้างให้แข็งแรงป้องกันสุนัขเข้าไปรบกวน แต่ไม่ควรสร้างให้ทึบ เนื่องจากแกะไม่ชอบความมืด บางส่วนอาจทำผนังด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก หรือลวดตาข่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง นิสัยของแกะจะไม่ชอบเดินในช่องทางที่หักมุมหรือมุมแคบ ๆ ชอบเดินในที่กว้าง ทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ เพื่อให้ได้ออกกำลัง จึงต้องมีทุ่งหญ้าให้แกะได้แทะเล็มกิน หญ้าที่นำมาปลูกอาจใช้หญ้าขน หญ้ารูซี่ และแม้แต่หญ้าแพรกก็ถือว่าใช้ได้ แต่หากปลูกเพื่อตัดให้กิน ควรปลูกหญ้ากินกินนี หญ้าโร้ด และหญ้าซิกแนล หญ้าทั้ง 3 ชนิด ต้องตัดให้กินสด ๆ จะดีที่สุด สำหรับพันธุ์หญ้าที่แนะนำมา ติดต่อขอได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้าน หรือกองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ เขตพญาไท กรุงเทพฯ การเลี้ยงแกะต้องคัดเลือกแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีไว้เสมอ ส่วนพ่อพันธุ์ควรนำมาจากแหล่งอื่น ที่มีลักษณะดีมีสุขภาพแข็งแรง หากปล่อยให้ผสมกันเองระหว่างพี่น้องจะทำให้เกิดการผสมเลือดชิด ลูกที่ได้จะแสดงลักษณะด้อยออกมา ดังนั้น แกะเพศผู้ที่เหลืออยู่ควรตอนเสียเลย แกะเพศผู้ อายุ 1 ปีขึ้นไป ใช้คุมฝูงตัวเมียได้ 25 ตัว แกะเพศเมียเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุย่างเข้าเดือนที่ 5-7 หากต้องการให้มีลูกต้องมีอายุ 8-9 เดือน หลังผสมพันธุ์แล้วแกะเพศเมียจะอุ้มท้อง 142-152 วัน ขณะอุ้มท้องต้องกั้นคอกขนาด 1x1.5 เมตร ให้อาหารอย่างสมบูรณ์ทั้งอาหารข้นและหญ้าสด พร้อมแร่ธาตุ สิ่งสำคัญอย่าให้ขาดน้ำสะอาด ก่อนคลอดต้องตัดขนที่ก้น ขาหนีบ สะโพก ใต้หางและบริเวณรอบเต้านม แม่แกะระหว่างอุ้มท้องให้เดินออกกำลังกายเป็นครั้งคราว หลังคลอดควรปล่อยให้แกะพักอยู่ในคอก ระวังอย่าให้ลูกแกะถูกลมโกรก และตัดสายสะดือห่างจากหน้าท้อง 2 นิ้ว ให้ทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ควรทำเมื่อลูกแกะคลอดออกมาไม่เกิน 4 ชั่วโมง และให้ลูกดูดกินนมแม่ที่เป็นน้ำเหลือง เนื่องจากมีคุณค่าอาหารสูงและเพิ่มภูมิต้านทานให้ลูกแกะได้ดี ลูกแกะอายุ 5-10 วัน ควรหัดให้กินอาหารผสม อายุ 7-14 วัน ต้องตัดหางลูกแกะทิ้งไป ครบ 10 วัน ปล่อยให้แม่แกะเดินลงมากินหญ้าในแปลงได้ ส่วนลูกแกะขังไว้บนคอกก่อน จะปล่อยลงจากคอกเมื่อมีอายุ 3 สัปดาห์ ลูกแกะจะหย่านมเมื่อมีอายุ 3 เดือนครึ่ง จนถึง 5 เดือน แกะต้องการอาหารวันละ 5-6 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัวและต้องการน้ำวันละ 3-5 ลิตร สูตรอาหารข้นสำหรับลูกแกะ ประกอบด้วยกากถั่ว รำข้าว และข้าวโพดบด อัตรา 25, 25 และ 50 ส่วน ตามลำดับ และสูตรอาหารข้นสำหรับแกะขุนประกอบด้วย ข้าวโพดบด รำข้าว กากน้ำตาล ต้นถั่วแห้งบด และกากถั่วเหลือง อัตรา 20, 20, 10, 40 และ 10 ส่วน ตามลำดับ การให้อาหารที่มีคุณค่า โรงเรือนสะอาด หมั่นระวังไม่ให้มีการรบกวนจากสุนัขและศัตรูอื่น ๆ คุณก็จะได้แกะที่สมบูรณ์ ต้องการรายละเอียดอื่น ๆ ติดต่อสอบถามที่ปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้าน ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 315
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM