เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แม่ปุ๋ยทุกสูตร นำมาผสมกับปุ๋ยหมัก และปุ๋ยหมักน้ำได้หรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
    แม่ปุ๋ยทุกสูตร นำมาผสมกับปุ๋ยหมัก และปุ๋ยหมักน้ำได้หรือไม่ และควรใช้อัตราเท่าใด
วิธีแก้ไข :
 
    แม่ปุ๋ย ที่มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยจะมีธาตุอาหารหลักอยู่ 3 ชนิด ชนิดแรก เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย จะมีธาตุไนโตรเจนที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด 46 เปอร์เซ็นต์ ปุ๋ยยูเรียมีโครงสร้างเหมือนกับปัสสาวะของมนุษย์และสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป ชนิดที่สอง แม่ปุ๋ยฟอสฟอรัส ได้แก่ ปุ๋ยทริปเปิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟต มีฟอสฟอรัสที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ 46 เปอร์เซ็นต์ และ ชนิดที่สาม แม่ปุ๋ยโพแทสเซียมได้จาก ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ มีโพแทสเซียมที่ต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ได้ 60 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันเกษตรกรหาซื้อแม่ปุ๋ยได้ค่อนข้างยาก เพราะว่าส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตปุ๋ยเคมีจะจัดจำหน่ายในรูปของปุ๋ยผสม เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 13-13-21 หรือ 14-14-21 ข้อดีคือ ใช้ได้สะดวก แต่ความเป็นจริงแล้ว หากเกษตรกรมีการวิเคราะห์ดินในแปลงปลูกต้นไม้ เมื่อทราบว่าขาดธาตุอาหารตัวใดก็ใส่เพิ่มเติมในส่วนเฉพาะตัวที่ขาด การใช้ปุ๋ยก็จะได้ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นการประหยัดสตางค์ในกระเป๋าอีกด้วย การใส่ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยหมักที่ได้จากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา เช่น ฟางข้าวหรือผักตบชวา รวมทั้งเศษใบไม้อื่น ๆ มักนิยมใช้ปุ๋ยยูเรียเพียงเล็กน้อย อัตราไม่เกิน 2-5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนักด้วยการหว่านบาง ๆ ลงบนแต่ละชั้นระหว่างทำกองปุ๋ยหมัก วัตถุประสงค์เพื่อให้ปุ๋ยยูเรียที่เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์กับจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายซากพืชในระยะเริ่มต้นนั่นเอง ส่วนปุ๋ยหมักน้ำไม่มีผู้นิยมใส่ปุ๋ยเคมีผสมลงไปด้วย หากต้องการให้ได้ผลดี ควรใส่ลงดินในอัตราที่เหมาะสมจะได้ผลดีที่สุดครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สตูล
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 312
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM