เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาหว้าหน้านอ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมพบปลาในตลาดปลาเลี้ยงอย่างหนึ่งดูจากโปสเตอร์ของกรมประมงเขียนไว้ว่า ปลาหว้าหน้านอ (Bangana beheri Fowler) นอกจากนี้ ผมค้นในหนังสือเกี่ยวกับปลาแต่ไม่มีข้อมูล จึงขอเรียนถามดังนี้ ปลาประเภทนี้จัดอยู่ในประเภทใด แหล่งของปลา อาหารที่กิน หากจะนำมาเลี้ยงในอ่าง หรือตู้ปลาจะมีการจัดการเหมือนกับการเลี้ยงปลาน้ำจืดทั่วไปหรือไม่ การขยายพันธุ์และการเจริญเติบโตเป็นอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    ปลาหว้าหน้านอ จัดอยู่ในประเภทปลากินพืช มีเกล็ดรูปร่างคล้ายปลาไน ลำตัวมีสีเทาเหลือบดำ หน้าสั้น ตาโปน เยื้องไปด้านหน้า ปากด้านบนหนา มีแหล่งอาศัยอยู่ตามลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล และแม่น้ำสงคราม ปลาหว้าหน้านอ เป็นปลากินพืชน้ำ และตะไคร่น้ำที่เกาะอยู่ตามโขดหินใต้น้ำ สามารถนำมาเลี้ยงในอ่างและตู้ปลาได้เช่นเดียวกับปลาน้ำจืดทั่วไป แต่ต้องจัดหาตู้ที่มีขนาดเหมาะสมให้กับปลาชนิดนี้ เนื่องจากมีความยาวอยู่ระหว่าง 30-50 เซนติเมตร การขยายพันธุ์ก็เช่นเดียวกับปลาน้ำจืดอื่น ๆ ที่จะแตกต่างบ้างคือ สถานที่สำหรับผสมพันธุ์ปลา ต้องเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์อายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การดูแลรักษาและการให้อาหารปฏิบัติเช่นเดียวกับปลาน้ำจืดอื่น ๆ ขออนุญาตเล่าเรื่องปลาในลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อเป็นความรู้เพิ่มเติมอีกเล็กน้อย แม่น้ำโขง มีต้นกำเนิดในทิเบต สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความยาว 4,200 กิโลเมตร จัดลำดับเป็นอันดับที่ 11 ของโลก ส่วนที่ไหลผ่านประเทศไทยที่ใช้เป็นเส้นแบ่งระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งแม่น้ำสาขาคือ มูล และสงคราม รวมระยะทางยาว 1,200 กิโลเมตร เริ่มจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ที่เต็มไปด้วยแก่งหิน และหน้าผา ฤดูน้ำหลากระดับน้ำจะสูงขึ้น 10-20 เมตร แต่ในปัจจุบันระดับน้ำจะแตกต่างกันไม่มาก ในฤดูฝน และฤดูแล้ง เนื่องจากมีการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงที่มณฑลยูนนานทางภาคใต้ของจีน ปลาในลุ่มน้ำโขงมีทั้งหมดประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากลุ่มน้ำอะเมซอน และแม่น้ำแซร์ในแอฟริกา ในส่วนของปลาในลุ่มน้ำโขงและสาขาที่ไหลผ่านประเทศไทยประมาณ 289 ชนิด นอกจากนี้ จะสังเกตุพบว่าปลาหลายชนิดทางตอนบนของไทยจะมีลักษณะคล้ายกับปลาในเขตอบอุ่นของจีน ดังนั้น หากมีการประกอบอาชีพทางประมงอย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วเราจะยังคงมีความหลากหลายของแหล่งพันธุกรรมปลาที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากมายในอนาคต
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
11
ตำบล / แขวง :
แม่น้ำคู้
อำเภอ / เขต :
ปลวกแดง
จังหวัด :
ระยอง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 268
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM