เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาสลิดไม่ยอมขยายพันธุ์
   
ปัญหา :
 
 
    ผมขุดบ่อเลี้ยงปลาไว้ 3 บ่อ บ่อแรก เลี้ยงปลานิล บ่อที่สอง เลี้ยงปลาตะเพียน บ่อที่สาม เลี้ยงปลาสลิด ปัญหาที่พบคือ ปลาสลิดไม่ยอมขยายพันธุ์ ส่วนปลานิลและปลาตะเพียนขยายพันธุ์ได้เป็นปกติ แม้ผมจะให้หัวอาหารปลาและพืชผักแล้วก็ตาม ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
    ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ชอบอาศัยในบริเวณน้ำนิ่ง กินสาหร่าย พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ แต่มีขนาดใหญ่กว่า ลำตัวแบน มีครีบท้องยาวเพียงอันเดียว ลำตัวสีเขียวออกเทา มีริ้วดำพาดขวางตามลำตัว ตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงส่วนของโคนหาง ปากมีขนาดเล็กยืดและหดได้ ปลาเพศผู้มีลำตัวยาวเรียว สันหลังและสันท้องเกือบเป็นเส้นขนานกัน ลำตัวมีสีเข้มกว่าเพศเมีย และส่วนท้องของปลาเพศเมียจะยาวไม่ขนานกับสันหลัง ลำตัวมีสีอ่อนกว่าเพศผู้เล็กน้อย แม่ปลาเริ่มวางไข่ได้เมื่อมีอายุ 7 เดือน ขนาดตัวเต็มวัยของปลาสลิดทั้งเพศผู้ และเพศเมียมีความยาวของลำตัว 6-7 นิ้ว น้ำหนักตัว 130-400 กรัม ปลาเพศเมียวางไข่ได้คราวละ 4,000-10,000 ฟอง แม่ปลาจะเริ่มวางไข่ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป ลักษณะของไข่จะมีสีเหลือง การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์ปลาสลิด ขนาดบ่อขยายพันธุ์นิยมใช้กว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร และลึก 1.50 เมตร หากบ่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติจะทำให้เลี้ยงปลาสลิดได้ผลดีมากขึ้น กำจัดศัตรูปลาออกจากบ่อขยายพันธุ์ออกให้หมด สูบน้ำเข้าบ่อผ่านตาข่ายสีฟ้าป้องกันศัตรูปลาเข้าบ่อ จนมีระดับน้ำลึก 20-30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยคอกเก่า หว่านให้ทั่วบ่ออัตรา 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อหนึ่งบ่อ ปลูกผักบุ้งตามบริเวณชานบ่อ สำหรับเป็นที่หลบซ่อนตัว ให้ร่มเงาและใช้สำหรับก่อหวอดวางไข่ อัตราปล่อยเพศผู้ : เพศเมีย คือ 1:1 หลังปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์แล้วอีก 4-6 วัน ปลาสลิดเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดแล้วผสมพันธุ์ ปลาเพศผู้จะรัดท้องเพศเมียให้ไข่หลุดจากช่องผ่านเพศออกมาภายนอก แล้วปล่อยน้ำเชื้อผสมภายนอกและนำไข่ด้วยการอมนำไปเก็บใต้หวอดที่เตรียมไว้ จากนั้นปลาเพศผู้จะคอยเฝ้าระวังอันตรายให้ไข่ในหวอดตลอดเวลา ไข่ที่หลุดจากหวอดก็จะนำเข้าไปเก็บที่เดิมอีก จากนั้นลูกปลาจะฟักออกเป็นตัวภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะฝ่อไปในที่สุด ส่วนลูกปลาที่ฟักออกมาจากไข่จะมีถุงอาหารติดอยู่กับส่วนท้อง จึงสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินอาหารได้เป็นเวลา 7 วัน เมื่อใช้อาหารจนหมดลูกปลาจะว่ายขึ้นมาที่ผิวน้ำในตอนเช้าตรู่ ระยะนี้ลูกปลาจะกินตะไคร่น้ำและไรน้ำเป็นอาหาร จนมีอายุ 21 วัน จึงควรให้อาหารที่มีส่วนผสมของรำข้าว 2 ส่วน ต้มผสมกับผักบุ้งสับละเอียดให้กินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ปริมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักปลาโดยรวม การให้อาหารควรมีแป้นรองรับอาหารจมอยู่ใต้น้ำตื้น ๆ ระดับลึกไม่เกิน 15-20 เซนติเมตร ก่อนให้อาหารควรตีผิวน้ำหรือเคาะภาชนะเรียกปลาเพื่อฝึกให้เป็นนิสัย ในไม่ช้าปลาจะเคยชินและจะมากินอาหารได้ตามสั่ง เมื่อปลามีขนาดโตขึ้นควรเพิ่มระดับน้ำขึ้นอย่างช้า ๆ จนมีระดับ 80-100 เซนติเมตร หากพบว่า น้ำใสขึ้นควรใส่ปุ๋ยคอกเก่าเพิ่มอีก ควรให้ปลวกเป็นอาหารเสริมให้ปลากินเป็นครั้งคราวจะทำให้ปลาสลิดสมบูรณ์ยิ่งขึ้น การเลี้ยงปลาตั้งแต่เริ่มฟักออกจากไข่จะใช้เวลา 10-11 เดือน ก็จับขายได้ แต่หากใช้ลูกปลาขนาด 5 เซนติเมตร มาเลี้ยงจะใช้เวลาเพียง 7-8 เดือน เท่านั้น เนื่องจากปลาสลิดเป็นปลาเลี้ยงง่ายและมีน้ำอดน้ำทนดี จึงยังไม่พบโรคระบาดรุนแรง การป้องกันศัตรูอื่น ๆ เข้าทำลายให้ล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนลอนสีฟ้าโดยรอบและต้องหมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดอย่างสม่ำเสมอ วิธีจับปลา ให้ระบายน้ำออกจากบ่ออย่างช้า ๆ เพื่อให้ปลาว่ายไปรวมกันที่บริเวณบ่อรวมที่ทำไว้ที่มุมใดมุมหนึ่งของบ่อแล้วใช้อวนลากจับปลาขึ้นมาอย่างนุ่มนวล การขนส่ง ก่อนลำเลียงไปยังปลายทางให้พักปลาไว้ในถังขนาดใหญ่อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และงดการให้อาหารในระยะนี้ เติมน้ำในภาชนะที่ใช้ขนส่ง 3 ใน 4 ส่วน นำผักบุ้งหรือพืชน้ำลอยที่ผิวก่อนจับปลาด้วยสวิงถ่ายลงในภาชนะใหม่ วางภาชนะให้มั่นคงไม่โยกคลอน เมื่อถึงปลายทางให้ถ่ายลงในภาชนะที่มีขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมถ่ายน้ำใหม่ จะทำให้อัตราการรอดตายของปลาสูง คุณปานลองนำวิธีที่ผมเสนอแนะมาไปปฏิบัติดูนะครับ ผมหวังว่าการเลี้ยงปลาสลิดของคุณจะได้ผลดีขึ้นอย่างแน่นอน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
น้ำอ้อม
อำเภอ / เขต :
กันทรลักษ์
จังหวัด :
ศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ :
33110
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 310
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM