เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงแพะ
   
ปัญหา :
 
 

    ผมมีปัญหาอยากทราบหลายข้อ จึงขอความกรุณาจากคุณหมอช่วยตอบดังนี้ 

  1.  การทำวัคซีนสัตว์ เช่น เป็ด ไก่ แพะ และหมู ถ้าหากตอนที่สัตว์ยังเล็กผมไม่ได้ทำวัคซีน แต่มาเริ่มทำตอนที่สัตว์โตแล้วจะได้หรือไม่ และมีผลเสียอย่างไร 
  2.  ผมเริ่มเลี้ยงแพะไม่นานมานี้ ผมจะซื้อเครื่องชอร์ตวัวมาใช้กับแพะจะได้หรือไม่ และจะมีผลทำให้แพะเป็นหมันหรือไม่ 
  3.  อาหารข้นสำหรับเสริมให้กับแพะ โดยใช้อาหารหมูได้หรือไม่ และควรใช้เบอร์ไหนและให้วันละเท่าใด โดยเฉพาะแพะตั้งท้องและระยะให้นม
  4. ลูกแพะอายุ 2 เดือน อย่านมได้หรือไม่ เพราะต้องการให้เป็นสัดเร็วขึ้น 5. วัคซีนปากเปื่อยเท้าเปื่อย ต้องแช่เย็นหรือไม่ และวัคซีนอื่นที่ใช้กับแพะมีอีกหรือไม่
วิธีแก้ไข :
 
  1.  การทำวัคซีนในสัตว์โตแล้ว ไม่มีปัญหาครับ สัตว์เลี้ยงที่รอดมาได้แสดงว่า มีภูมิต้านทานสูง หรืออาจโชคดีที่ไม่มีโรคระบาดรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้น ควรทำวัคซีนโดยเร็วจะปลอดภัยที่สุดครับ 
  2.  การใช้ไฟชอร์ตวัว หรือรั้วไฟฟ้า ใช้กับแพะมักไม่ได้ผล เนื่องจากมีขนาดเล็กและปราดเปรียว ที่สำคัญมีขนหนา จึงเป็นฉนวนกันไฟฟ้าได้ดี จึงมักวิ่งชน หรือปีนป่าย ทำให้รั้วไฟฟ้าขาดได้ง่าย ขอแนะนำให้ใช้วิธีอื่นดีกว่าครับ
  3. อาหารข้น สำหรับแพะตั้งท้อง และระยะให้นม สามารถผสมเองได้ ดังมีส่วนผสมดังนี้ รำละเอียด 2 ส่วน ปลายข้าว 2 ส่วน กากมะพร้าว 1 ส่วน กากถั่วเหลือง 1 ส่วน และเกลือป่นผสมกระดูกป่น 1 เปอร์เซ็นต์ ของส่วนผสมทั้งหมด สูตรอาหารที่แนะนำเป็นสูตรที่เหมาะสมที่สุด หากจะใช้หัวอาหารข้นแทน ก็ควรใช้สูตรที่มีโปรตีนไม่เกิน 12 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณที่ให้ไม่ควรเกิน 0.5-1.0 กิโลกรัม ต่อตัว ต่อวัน นอกจากนั้น ต้องให้อาหารหยาบไปพร้อมกัน เช่น ใบกระถิน ใบแค ฝักก้ามปู เปลือกกล้วย และเปลือกมะละกอ เท่านี้ก็นับว่าเพียงพอแล้ว 
  4.  ลูกแพะหลังคลอด อายุ 6 สัปดาห์ หรือเดือนครึ่ง สามารถแยกและหย่านมได้ 5. วัคซีนทุกชนิดมีความจำเป็นต้องเก็บในตู้เย็นหรือแช่เย็น มิเช่นนั้นจะเสื่อมคุณภาพลงอย่างรวดเร็ว เพราะวัคซีนก็คือ เชื้อโรคอ่อน ๆ เมื่อฉีดเข้าร่างกาย สัตว์จะสร้างภูมิคุ้มกันโรคชนิดเดียวกันขึ้น จึงมีความต้านทานต่อโรคได้ ส่วนโรคอื่น ๆ ที่สำคัญ คือ โรคท้องร่วง แก้ไขได้โดยหมั่นทำความสะอาดโรงเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ พยาธิ เป็นศัตรูอีกชนิดหนึ่ง เพราะจะทำให้แพะผอมซูบและอ่อนแอ ป้องกันและแก้ไขโดยการใช้ยาถ่ายพยาธิ เช่น ยาไทโอเบนดาโอ แมนโซเปียน หรือราไนต์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
ดอนยาง
อำเภอ / เขต :
ประทิว
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
86210
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 สิงหาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 268
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM