เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วงจรชีวิตของแมงป่องช้าง
   
ปัญหา :
 
 
    ผมสนใจการเลี้ยงแมงป่องช้าง แต่ยังไม่รู้จักแมงชนิดนี้ดีพอ โดยเฉพาะวงจรชีวิตของมันว่าเป็นอย่างไร การเลี้ยงและอาหาร ใช้อะไรเลี้ยง ผมทราบว่า แถวจังหวัดชลบุรีมีฟาร์มเลี้ยงแมงป่องช้าง จึงขอรบกวนให้คุณหมอเกษตรตอบปัญหาของผมด้วย
วิธีแก้ไข :
 
    แมงป่องช้าง ปัจจุบันได้รับความสนใจกันมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคบางชนิดได้ แต่จะเป็นจริงดังที่เข้าใจกันหรือไม่ ยังเป็นปัญหาอยู่ เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ แมงป่องช้าง เป็นแมงที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีดำมันวาว มีความยาวจากส่วนหัวถึงปลายหาง ประมาณ 9-12 เซนติเมตร มีก้ามขนาดใหญ่สองอันอยู่ด้านหน้า ใช้จับเหยื่อกินเป็นอาหาร และใช้ต่อสู้ป้องกันตัวไปพร้อมกัน ส่วนหางมีลักษณะโค้ง ส่วนปลายแหลมภายในกลวง มีต่อมพิษอยู่ 2 ต่อม ส่งผ่านไปที่กระเปาะส่วนหาง และเหล็กในด้วยท่อขนาดเล็ก แมงป่องช้างเพศผู้จะมีก้ามและลำตัวใหญ่กว่าเพศเมีย แต่ในเพศเมียจะมีส่วนท้องกว้างใหญ่กว่าเพศผู้ แมงป่องช้างจะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนตัวและพักผ่อนอยู่ตามใต้กองไม้ ซอกหิน หรือในรูที่มืดและชื้น ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิระหว่าง 20-35 องศาเซลเซียส แมงป่องช้าง จัดอยู่ในแมลงชนิดที่กินกันเอง หากช่วงขาดแคลนอาหารจะกินลูกของตัวเองเป็นอาหาร แมงป่องช้างจะผสมพันธุ์ในฤดูฝนช่วงที่มีอาหารบริบูรณ์ หลังจากการผสมพันธุ์เสร็จ แมงป่องช้างเพศเมียจะกินเพศผู้เป็นอาหาร ใช้เวลาตั้งท้องนาน 8-9 เดือน และจะคลอดลูกเป็นตัวมีสีขาว ลำตัวยาว 2-3 มิลลิเมตร คราวละ 9-27 ตัว หลังคลอดลูกแล้วแม่แมงป่องช้างจะจับลูกขึ้นเกาะบนหลังเดินทางไปกับแม่ตลอดเวลา 15 วันแรก ลูกแมงป่องช้างจะไม่กินอาหารเนื่องจากมีอาหารตกค้างอยู่ในลำตัวอย่างพอเพียง จากนั้นจึงลงจากหลังแม่หากินอาหารด้วยตนเอง เช่น แมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ตามซากเศษไม้ ใบไม้ ที่ทับถมกันและกำลังถูกย่อยสลายโดยธรรมชาติ จากนั้นจะลอกคราบถึง 7 ครั้ง จึงเป็นตัวเต็มวัย ใช้เวลา 1 ปี ดังนั้น การเลี้ยงแมงป่องช้างแต่ละรุ่นใช้เวลาเกือบ 2 ปีเต็ม นอกจากนี้ ยังเป็นแมลงที่กินกันเอง นี่คืออุปสรรคในการเพาะเลี้ยงแมงป่องยักษ์ อย่างไรก็ตาม วิธีการเพาะเลี้ยงให้ได้ผลต้องปรับปรุงสถานที่ให้ใกล้เคียงกับสภาพธรรมชาติที่สุด พื้นที่เพาะเลี้ยงต้องมีขนาด 5x5 หรือ 8x8 เมตร ล้อมด้วยตาข่ายหรือแผ่นซีเมนต์บล็อก สูง 2-3 ก้อน ขัดมันด้านใน ป้องกันการปีนป่ายหนีออกสู่ภายนอก พรางแสงให้ร่มเงา ปรับพื้นให้เรียบ ปูทับด้วยทรายหยาบ ทำทางระบายน้ำอย่าให้น้ำท่วมขังหลังฝนตก ปูทับด้วยกิ่งและใบไม้ หนาอย่างน้อย 1 นิ้ว ให้เต็มพื้นที่ หรือ 2 ใน 3 ของพื้นที่ก็ได้ รดน้ำให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งไว้ 15-30 วัน จึงนำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในคอกที่เตรียมไว้ จำนวน 3-4 คู่ นอกจากให้หาอาหารกินตามธรรมชาติ เช่น แมลงขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใต้ใบและกิ่งไม้ที่เริ่มเน่าสลายให้เสริมด้วยอาหารไก่สำเร็จ หว่านไว้มุมใดมุมหนึ่งของคอก มีภาชนะตื้น ๆ วางเศษผ้าสะอาดและราดน้ำลงบนผ้าให้ชุ่มไว้ให้กินตลอดเวลา แหล่งเลี้ยงควรเป็นที่สงบ ไม่มีเสียงและศัตรูมารบกวน ในช่วงอากาศแห้งแล้งควรรดน้ำลงบนใบไม้และกิ่งไม้ให้ชุ่มแต่อย่าให้แฉะ หมั่นดูแลอย่างสม่ำเสมอ อีก 2 ปี คุณจะได้แมงป่องช้างเพิ่มปริมาณขึ้นตามต้องการ เนื่องจากใช้เวลาเพาะเลี้ยงนาน จึงมีผู้นิยมออกจับแมงป่องช้างจากป่าธรรมชาติมาขายในตลาด เพราะว่าหาง่ายและลงทุนน้อยกว่า ก่อนตัดสินใจเพาะเลี้ยงควรนำข้อมูลที่ผมอธิบายมาแล้วไปพิจารณา จะช่วยให้คุณมั่นใจยิ่งขึ้น ฟาร์มเพาะเลี้ยงแมงป่องช้างที่ อ.ศรีราชา ก็ใช้วิธีการเดียวกันกับที่ผมเล่ามาทั้งหมด หากต้องการรายละเอียด ลองติดต่อสอบถาม คุณปรีชา อ่อนบัตร สวนไทเกอร์ อำเภภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
ขะยูง
อำเภอ / เขต :
อุทุมพรพิสัย
จังหวัด :
ศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ :
33120
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 267
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM