เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน
   
ปัญหา :
 
 
    ผมสนใจการเพาะเห็ดมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่มีโอกาสได้ทำจริง ๆ สักครั้ง แต่ขณะนี้ผมมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ จึงขอเรียนถามคุณหมอเกษตรว่า วิธีเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนที่ให้ผลดีนั้นเขาทำกันอย่างไร และจะขอความรู้เพิ่มเติมได้จากแหล่งใด
วิธีแก้ไข :
 
    การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน สิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ คือ โรงเรือน ทั้งนี้ขนาดโรงเรือนที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร และกว้าง 3.5 เมตร มีประตูด้านหน้าและด้านหลัง มีหน้าต่างด้านข้างตามแนวยาวด้านละ 1 อัน เปิดปิดได้เพื่อใช้ระบายความร้อนและอากาศเสียออกจากโรงเรือน ด้านในบุด้วยพลาสติก อาจใช้พลาสติกใส หรือพลาสติกสีอ่อนก็ได้ เพื่อใช้เก็บความชื้นไว้ภายในและเก็บความร้อนในขณะอบวัสดุเพาะหรือปุ๋ยหมัก ชั้นเพาะเห็ด ในโรงเรือนทำเป็น 2 แถว แถวละ 4 ชั้น แต่ละชั้นกว้าง 1-1.25 เมตร ยาว 5 เมตร แต่ละชั้นห่างกัน 50 เซนติเมตร พื้นของชั้นวางวัสดุเพาะเห็ดปูด้วยไม้รวกวางชิดกันยึดกับคานด้วยตะปู หรืออาจใช้ตะแกรงพลาสติกตาห่างก็ได้ ถังต้มน้ำร้อน ทำด้วยถังน้ำมัน ขนาด 200 ลิตร 2 ใบ เชื่อมต่อกัน วางตามแนวนอน มีช่องเติมน้ำสะอาดที่เปิดปิดได้ ยึดให้แน่นด้วยคอนกรีต มีท่อส่งเข้าภายในโรงเรือน วางใต้ชั้นเพาะเห็ดเจาะรูที่ท่อห่างกันทุก ๆ 10 เซนติเมตร ให้ไอน้ำร้อนกระจายออกได้อย่างทั่วถึงภายในโรงเรือน ขณะอบไอร้อนเพื่ออบปุ๋ยหมักที่อุณหภูมิ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 3-4 ชั่วโมง สูตรวัสดุเพาะหรือปุ๋ยหมัก ใช้ฟางข้าวใหม่และสะอาด 100 กิโลกรัม ปู่ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียง 1 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรียครึ่งกิโลกรัม รำข้าว 5 กิโลกรัม แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กิโลกรัม และยิปซัมอีกครึ่งกิโลกรัม การหมัก นำฟางข้าวสับให้สั้นลง แช่น้ำให้อิ่มตัว ใส่ลงในแบบพิมพ์ไม้ขนาด กว้างและยาว 1.5 เมตร เท่ากัน และสูง 1 เมตร เป็นชั้น ๆ ประมาณ 4 ชั้น แต่ละชั้นโรยทับฟางข้าวด้วยปุ๋ยสูตร 15-15-15 และปุ๋ยยูเรียจนหมด คลุมด้วยพลาสติก หลังจากถอดแบบไม้ออกเป็นเวลา 2 วัน ครบกำหนดแล้ว กลับกองใหม่เป็นรูป 3 เหลี่ยม 2 ครั้ง หลังหมักไว้ 2 วัน จากนั้นจึงเติมปูนขาว ยิปซัมและรำข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากันอย่างทั่วถึง เกลี่ยแปลงให้เตี้ยลงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้กองสูงเพียง 50 เซนติเมตร คลุมด้วยพลาสติกเช่นเดิม รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 45-50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน แล้วจึงนำเข้าวางบนชั้นเพาะเห็ด อัตราการใช้ปุ๋ยหมัก 400 กิโลกรัม ต่อโรงเรือน ขนาด 4x6 เมตร วางปุ๋ยหมักลงชั้นทุกชั้นให้หนาหรือสูง 10 เซนติเมตร เกลี่ยให้เรียบสม่ำเสมอ ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ต้มน้ำส่งไอน้ำเข้าอบปุ๋ยหมักที่อุณหภูมิ 60-65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง ครบกำหนดลดอุณหภูมิลงเหลือเพียง 36-38 องศาเซลเซียส แล้วโรยเชื้อเห็ดที่สะอาด ไม่มีการปนเปื้อนจากราดำและราขาว มีกลิ่นหอมของเห็ดฟาง อัตราที่ใช้เชื้อเห็ดประมาณ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ระยะ 1-5 วัน รักษาอุณหภูมิไว้ที่ 32 องศาเซลเซียส และความชื้น 80 เปอร์เซ็นต์ กรณีที่หน้าปุ๋ยหมักแห้งเกินไป ควรให้น้ำแบบพ่นเป็นฝอย วันที่ 4-6 เส้นใยจะเริ่มสร้างตุ่มดอกขนาดเล็กปรากฏให้เห็น ระยะนี้ลดอุณหภูมิลงที่อุณหภูมิ 28-32 องศาเซลเซียส ด้วยการเปิดหน้าต่างพร้อมระบายอากาศเสียออกทิ้งไป พร้อมพ่นน้ำเป็นฝอยรอบ ๆ ผนังโรงเรือน ใต้ชั้นเพาะเห็ด และที่ผิวหน้าปุ๋ยหมัก รักษาอุณหภูมิไม่ให้ร้อนจนเกินไปในระยะให้ดอก ระวังอย่าให้น้ำขังแฉะภายในโรงเรือนให้ทำทางระบายน้ำออกจากโรงเรือน การดูแลอย่างสม่ำเสมอ จะเก็บผลผลิตได้ 2 รุ่น หลังเก็บผลผลิตแล้วต้องนำปุ๋ยหมักออกจากโรงเรือน ใช้ทำปุ๋ยหมักสำหรับเพาะปลูกต้นไม้ได้ดี พร้อมทำความสะอาดชั้นเพาะเห็ดในโรงเรือนก่อนเพาะเห็ดรุ่นต่อไป ต้องการความรู้เพิ่มเติม หรือมีปัญหา ติดต่อสอบถามได้ที่ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-4857 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
2
ตำบล / แขวง :
ปลายโพงพาง
อำเภอ / เขต :
อัมพวา
จังหวัด :
สมุทรสงคราม
รหัสไปรษณีย์ :
75110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 302
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM