เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีการตรวจความเป็น กรด-ด่าง ของดิน ทำเองได้หรือไม่
   
ปัญหา :
 
 
  1.     ผมติดตามอ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านมานานพอสมควร ได้ความรู้และประโยชน์เคล็ดลับต่าง ๆ มากมาย จดหมายฉบับนี้ผมขอเรียนถามปัญหาดังนี้  เรื่องการตรวจหาความเป็น กรด-ด่าง ของดินจะทำเองได้หรือไม่ 
  2.  การเก็บตัวอย่างดินควรทำอย่างไร เมื่อเก็บตัวอย่างแล้วส่งไปตรวจสอบที่ไหน ใช้เวลานานเท่าใด 
  3.  ค่าความเป็น กรด-ด่าง ของดิน จะเกี่ยวกับพืชหรือผลไม้ที่เราปลูกหรือไม่ครับ
วิธีแก้ไข :
 
  1.  การสังเกต เพื่อจำแนกดินที่เป็นกรด หรือด่าง ทำได้ครับ ดินกรด เมื่อมีน้ำขังจะใสอมฟ้า มีหญ้าเจริญเติบโตได้ไม่มากชนิด คนโบราณที่นิยมกินหมาก เมื่อบ้วนน้ำหมากลงน้ำ น้ำหมากจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้ำตาลคล้ำทันที ส่วนดินที่แห้งเมื่อขุดลึกลงไปสัก 30 เซนติเมตร จะพบเม็ดดินเป็นสีเหลืองฟาง กระจายอยู่ในดินซึ่งมีองค์ประกอบของ ธาตุเหล็ก และ อะลูมินั่ม เมื่อมีปริมาณสูงจะเป็นพิษกับพืชโดยตรง และนอกจากนี้ธาตุทั้งสองยังจะไปดูดยึด ธาตุฟอสฟอรัส ในดินไว้ทำให้พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดินด่าง ขณะชื้นดินจะเหนียวเนื้อแน่น แต่เมื่อดินแห้งจะแข็งมาก เนื่องจากมีธาตุ โซเดียม ในปริมาณสูง นอกจากนี้โซเดียมจะเป็นพิษต่อพืชเมื่อมีปริมาณมากเกินความจำเป็น 
  2.  การเก็บตัวอย่างดิน ควรเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ก่อนการปลูกพืชอย่างน้อย 6 สัปดาห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อได้ผลวิเคราะห์ ความอุดมสมบูรณ์และข้อควรปรับปรุงแก้ไข เมื่อปลูกพืชแล้วจะได้ผลดีตามความต้องการ วิธีเก็บตัวอย่างดิน ยกตัวอย่างพื้นที่ 15 ไร่ ให้เก็บตัวอย่างดิน 15-30 จุด ข้อสำคัญให้หลีกเลี่ยง บริเวณทางเดินที่มีผู้คนเคยเดินผ่านไปมา ขอบรั้ว คอกสัตว์ กองปุ๋ย กองปูน และกองสารเคมีอื่น ๆ ในกรณีที่ดินเป็นรูปสี่เหลี่ยม ให้เก็บตามแนวทแยงมุม จนครบตามจำนวนแนะนำ ทำความสะอาดบริเวณจุดที่จะเก็บดิน ด้วยกำจัดวัชพืชออก กวาดผิวดินให้เรียบใช้เสียมหรือพลั่วที่สะอาดเสียบลงดิน ให้เป็นรูปตัววี หรือเปิดปากหลุมโดยเสียบพลั่วเอียง 45 องศา จาก 2 ด้าน ให้ส่วนลึกลงไปบรรจบกันที่ระดับลึก 6 นิ้ว เก็บดินออกจะเกิดหลุมรูปตัววี เมื่อเปิดปากหลุมแล้วใช้พลั่วเสียบเก็บดินด้านใดด้านหนึ่งหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วช้อนขึ้น แบ่งดินที่ได้มา 1 ส่วน ใน 3 ส่วน โดยเก็บดินตามแนวยาวของพลั่วเป็นหลักเพื่อจะได้ตัวอย่างดินตามแนวลึกได้อย่างสมบูรณ์ นำตัวอย่างดินที่ได้จากทุกจุดที่ปฏิบัติเช่นเดียวกัน บรรจุลงในถังพลาสติกที่สะอาด คลุกเคล้าให้เข้ากันเป็นอย่างดี แล้วนำตัวอย่างดินที่ได้มา 1 กิโลกรัม บรรจุลงในถุงพลาสติกที่สะอาด พร้อมเขียนป้ายบอกรายละเอียดผูกมากับปากถุง มีรายละเอียดดังนี้ แปลงที่ ............................................เจ้าของชื่อ.............................. ความลึกที่เก็บ................................................................................ เก็บจาก ......................................... ตำบล ..................................... อำเภอ ......................................... จังหวัด .................................... วันที่เก็บ ..................................... พืชที่ปลูก................................. จากนั้นนำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ ที่ กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กทม. 10900 โทร. 0-2579-0159, 0-2579-1994 ในวันเวลาราชการ หรือส่งที่ กรมพัฒนาที่ดิน ใกล้สี่แยกเกษตร หรือที่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้เช่นเดียวกัน ผลการวิเคราะห์ใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน
  3. พืชเกือบทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน คือมีค่าระหว่าง 6.5-6.8 ทั้งนี้ ค่าความเป็นกลางคือ 7.0 หากต่ำกว่า 7 ลงมาจะมีฤทธิ์เป็นกรด ค่ายิ่งน้อยยิ่งเป็นกรดจัด แต่หากมากกว่า 7 ขึ้นไป จะมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่ายิ่งสูงจะยิ่งเป็นด่างจัด ดังนั้น การปลูกพืชจึงจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติดินให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช จึงจะได้ผลดีตามต้องการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
5
ตำบล / แขวง :
สำโรงเหนือ
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
สมุทรปราการ
รหัสไปรษณีย์ :
10270
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 มกราคม พ.ศ. 2546 ปีที่ 15 ฉบับที่ 302
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM