เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงปลากัดและหนูตะเภา
   
ปัญหา :
 
 

    ผมมีปัญหาขอเรียนถามคุณหมอเกษตร ดังนี้

  1. ผมเลี้ยงหนูตะเภาไว้ 2 ตัว  ขณะนี้กำลังตั้งท้องจะให้อาหารเสริมอย่างไร 
  2.  ผมสนใจเลี้ยงปลากัดเพื่อจำหน่าย แต่ยังขาดความรู้หลายอย่าง เช่น ปลากัดแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง และจะหาแหล่งพันธุ์ได้จากแหล่งใด และวิธีเลี้ยงปลากัดมีวิธีการอย่างไร ตั้งแต่ฟักออกเป็นตัวจนถึงระยะจำหน่ายได้
วิธีแก้ไข :
 
  1. การเลี้ยงหนูตะเภา ควรเลี้ยงในกรงที่สะอาด อาจใช้กรงไม้ หรือกรงลวดตาข่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง ภายในรองด้วยเศษผ้า หรือฟางข้าวที่สะอาด มีภาชนะสำหรับใส่น้ำ และใส่อาหารไว้มุมใดมุมหนึ่ง บริเวณที่จะให้คลอดลูกควรจัดหาภาชนะก้นตื้น เช่น กระถางดินเผาแตกวางเอียงราบลงกับพื้น บุพื้นด้วยเศษผ้า วางไว้มุมใดมุมหนึ่งของกรง อาหารของหนูตะเภาให้หั่นหญ้าขนใส่ภาชนะไว้ให้กินเช้าและเย็น ควรสลับกับการให้อาหารข้นด้วยอาหารไก่ไข่ โดยเฉพาะในช่วงตั้งท้อง ลูกที่คลอดจะมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี ระยะนี้ควรระวังอย่าให้สุนัขและแมวเข้ามารบกวน ส่วนอุปสรรคอื่น ๆ มีน้อย 
  2.  ปลากัด แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ปลากัดจีน และ ปลากัดไทย แต่ละชนิดยังแบ่งได้เป็นปลากัดสีเดี่ยว ปลากัด 2 สี และปลากัดแฟนซี สำหรับแหล่งพันธุ์ที่หาซื้อได้สะดวก คือ ตลาดซันเดย์ บริเวณสวนจตุจักร กทม. มาที่นี่จะได้ปลาครบทุกชนิด วิธีเลี้ยงปลากัด เริ่มตั้งแต่คัดพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ต้องคัดเลือกตัวที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง อายุตั้งแต่ 8-10 เดือนขึ้นไป ปลากัดพ่อพันธุ์จะมีสีสันสดใสสวยงามกว่าปลากัดเพศเมีย หรือแม่พันธุ์ ระยะนี้เลี้ยงด้วยลูกน้ำ หรือไรแดง แต่การเลี้ยงด้วยลูกน้ำจะได้ผลดีกว่า เนื่องจากปลาจะไม่อ้วนเกินไป ปริมาณที่ให้เพียงแต่น้อยเมื่อพบว่ามีอาหารเหลือต้องลดปริมาณลงทันที สถานที่เลี้ยงปลาเพื่อผสมพันธุ์ต้องเงียบสงบ ไม่มีเสียงดังรบกวน นำภาชนะหรือใช้กะละมังสะอาดสีไม่สดเกินไป เส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 25-30 เซนติเมตร ใส่น้ำสะอาดลึก 10-15 เซนติเมตร พร้อมโรยใบมะยมหรือฉีกใบตองลอยลงบนผิวน้ำบาง ๆ นำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ปล่อยลงในภาชนะที่เตรียมไว้ คอยสังเกตว่า ทั้งคู่จะสมพงษ์กันหรือไม่ หากไม่มีปัญหา เช่น ทำร้ายกันก็ถือว่าใช้ได้ ปล่อยให้คลอเคลียกัน อีก 2-3 วัน ปลาเพศผู้จะก่อหวอดด้วยการเป่าลมและขับเมือกให้เป็นฟองที่ผิวน้ำตามใต้ใบมะยมหรือใบตอง ต่อมาจะผสมพันธุ์กัน ปลาเพศเมียจะวางไข่บริเวณที่มีหวอด ไข่บางฟองที่หลุดจากหวอด ปลาเพศผู้จะนำกลับมาเก็บในหวอดใหม่ เมื่อวางไข่จนหมดให้ช้อนเพศเมียไปพักในบ่ออื่น ปล่อยให้เพศผู้ดูแลแต่ฝ่ายเดียว ภายในเวลา 36 ชั่วโมง ไข่จะฟักออกเป็นตัว 2 วันแรก ไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เนื่องจากยังคงมีอาหารสะสมอยู่ในตัวอย่างพอเพียง จากนั้นให้ไข่แดงบดละลายน้ำให้กินอีก 5 วัน ระยะต่อไปเลี้ยงด้วยอาร์ทีเมีย หรือไรน้ำเค็ม จนครบ 1 เดือน จึงเปลี่ยนอาหารเป็นลูกน้ำ เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นให้คัดเลือกตัวที่แข็งแรงสมบูรณ์ แยกเลี้ยงในขวดแม่โขง หรือโหลเลี้ยงโดยเฉพาะ และฝึกหัดด้วยนำเทียบ คือนำไปไว้ใกล้กับตัวอื่น ๆ กั้นระหว่างกลางด้วยแผ่นกระดาษทึบแสง แล้วชักหรือนำกระดาษกั้นกลางออก ปลาที่มีเลือดนักสู้จะพองตัวพร้อมที่จะกัดกับคู่ต่อสู้ จากนั้นแยกออกและหมั่นฝึกอย่างสม่ำเสมอ ปลาของคุณจะกัดเก่งตามต้องการ จากนั้นถ่ายน้ำทุก 15 วัน เมื่อมีอายุ 3-4 เดือน คุณสามารถจำหน่ายได้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
8
ตำบล / แขวง :
กระโทก
อำเภอ / เขต :
โชคชัย
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
30190
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 263
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM