เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
บัควีท เป็นพืชคนละชนิดกับข้าวสาลี
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีความสงสัยมานานว่า บัควีท (Buck wheat) กับข้าวสาลี (wheat) นั้น เป็นพืชชนิดเดียวกันใช่หรือไม่ หากไม่ใช่แล้วแตกต่างกันอย่างไร ผมเคยเห็นการโฆษณาขายหมอนเขาบอกว่า ใช้เปลือกเมล็ดบัควีททำไส้ใน จึงขอเรียนถามอีกข้อว่า ข้อดีของเปลือกเมล็ดบัควีทนั้นดีอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ
วิธีแก้ไข :
 
    บัควีท (Buck wheat : Fagopurum esculentum) เป็นพืชคนละชนิดกับข้าวสาลี ซึ่งทั้งนี้บัควีทไม่จัดอยู่ในประเภทธัญพืช แต่ข้าวสาลีถูกจัดไว้ในประเภทธัญพืช บัควีท มีการบันทึกไว้ว่า ปลูกครั้งแรกในแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อ 6,000 ปี ก่อนคริสต์ศตวรรษ ต่อมามีการแพร่กระจายเข้าสู่เอเชียกลางและทวีปยุโรป โดยเฉพาะแถบคาบสมุทรบอลข่าน บัควีท เป็นพืชล้มลุก แต่มีอายุข้ามปี ขึ้นได้ดีในสภาพที่อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี แต่จะไม่ทนต่อสภาพอากาศหนาวจัด หรือร้อนจัด มีลมพัดแรงและฝนตกหนัก ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง ลักษณะด้อยของบัควีทคือ เป็นพืชชนิดทอดยอด จึงพบว่าดอกแรกส่วนล่างของต้นติดผลแล้ว แต่ในทางตรงกันข้ามส่วนยอดยังอยู่ในระยะดอกบานก็มี และจะหยุดทอดยอดเมื่ออากาศเย็นลงในช่วงย่างเข้าฤดูหนาว รากของบัควีทสามารถหยั่งลงในดินลึก 75-100 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 40-42 เซนติเมตร มีขนาดเล็กกว่าดินสอดำเล็กน้อย แตกกิ่งก้านน้อย มีใบเป็นรูปหัวใจแตกออกด้านข้างของลำต้นที่บริเวณข้อสลับกัน ช่อดอกจะแทงออกจากบริเวณก้านใบ เมล็ดมีรูปร่างคล้ายเมล็ดทานตะวัน เปลือกนอกแข็ง แต่เนื้อในอ่อนนุ่ม ปลูกด้วยวิธีหว่านเมล็ดในเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนสิงหาคม จากนั้นออกดอกภายใน 4-5 สัปดาห์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัม ต่อไร่ โรคสำคัญที่พบการระบาดอยู่เสมอ ได้แก่ โรคใบจุด และโรครากเน่า องค์ประกอบสำคัญในแป้งบัควีทมีความชื้น โปรตีน ไขมัน เส้นใย และเถ้า 12.1 7.8 1.5 0.7 และ 12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนประกอบที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในเนื้อแป้งของบัควีทคือ กลูเต้น ที่นำไปใช้ทำแบะแซ ในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้แป้งบัควีทผสมกับแป้งข้าวสาลี เพื่อทำ โซบะ หรือ เส้นบะหมี่ญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือมีเส้นนุ่มเหนียวและกรุบกว่าเส้นบะหมี่ที่ทำจากแป้งข้าวสาลีล้วนๆ ท่านผู้อ่านคงหายสงสัยแล้วนะครับ ว่าเพราะเหตุใดเส้นโซบะของญี่ปุ่นจึงแตกต่างกับเส้นบะหมี่ของบ้านเรา ปัจจุบันประเทศที่ผลิตบัควีทได้มากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่บริโภคมากที่สุดคงหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่น หากสังเกตให้ดีจะพบว่าแป้งของบัควีทจะมีสีหม่น หรือคล้ำกว่าแป้งของข้าวสาลี บางประเทศนำกลูเต้นจากแป้งบัควีทไปผลิตเยลลี่ และแยม ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของเปลือกเมล็ดบัควีท นิยมนำมาใช้เป็นไส้หมอน โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น หมอนชนิดนี้จำหน่ายในราคาค่อนข้างแพง ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อหนุนแล้วจะยุบตัวลงตามรูปของศีรษะและต้นคอ อีกทั้งไม่มีฝุ่นละออง ที่สำคัญมีความยืดหยุ่น สามารถแต่งรูปร่างได้ตามความต้องการของผู้ใช้และนำออกมาล้างทำความสะอาดได้ง่าย หากถามว่า ประเทศไทยมีแหล่งปลูกหรือไม่ ขอตอบว่าปัจจุบันยังไม่มี ดังนั้น แหล่งปลูกสำคัญยังอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ส่วนงานวิจัยเกี่ยวกับบัควีทยังมีน้อยมาก ในอนาคตหากมีความต้องการใช้ปริมาณแป้งบัควีทมากขึ้น ประเทศไทยอาจจะให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนาการผลิตบัควีทเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยก็เป็นได้

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
1
ตำบล / แขวง :
ท่าวังทอง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
พะเยา
รหัสไปรษณีย์ :
56000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 386
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM