เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
อาการเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุดจะแก้ไขอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
    ผมซื้อสวนผลไม้ไว้ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นสวนเก่ามีผลไม้อยู่หลายชนิด แต่ปัญหาที่พบมากคือ บางปีต้นมังคุดแสดงอาการเนื้อแก้ว เกิดขึ้นพร้อมๆ กับอาการยางไหลที่ผิวเปลือก ไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดและผมจะมีวิธีแก้ไขปัญหาที่พบเสมอได้อย่างไร กรุณาแนะนำด้วย
วิธีแก้ไข :
 
    อาการเนื้อแก้วในผลมังคุด พบว่า เนื้อผลหุ้มเมล็ดโดยปกติจะมีสีขาวสะอาด แต่เมื่อเกิดเป็นเนื้อแก้วกลับพบว่า เนื้อหุ้มเมล็ดที่ใช้รับประทานกลับมีสีใส มักเกิดกับพูที่ใหญ่ที่สุดของผลและจะลุกลามไปยังพูหรือเมล็ดใกล้เคียงได้ หากเกิดอาการรุนแรงอาจทำให้เปลือกเกิดเป็นรอยแผลปริแตก สาเหตุของการเกิด เนื้อแก้ว เนื่องจากการรับน้ำหรือการให้น้ำไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะมังคุดติดผลและระยะการพัฒนาของผลอย่างรวดเร็วนั้น หากขาดน้ำเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ เมื่อได้รับน้ำโดยเฉพาะน้ำฝน ด้วยความหิวกระหาย รากของต้นมังคุดจะดูดน้ำและส่งต่อไปยังผลมังคุด อณูของน้ำ น้ำจะแทรกตัวเข้าไปอยู่ในเนื้อผลในปริมาณมากกว่าในสภาวะปกติ ทำให้เนื้อผลมีสีใสคล้ายกับสีของน้ำ อาการเนื้อแก้วจะเกิดรุนแรงในระยะผลมังคุดใกล้สุกแก่และหากได้รับน้ำในปริมาณมากขึ้นจะทำให้ผิวเปลือกปริแตกได้ ตามที่กล่าวมาแล้ว สาเหตุของ การเกิดยางไหลในระยะผลอ่อน เนื่องจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ แมลงชนิดนี้มีขนาดเล็กมาก ลำตัวมีสีเหลืองนวล มีความยาวเพียง 1-2 มิลลิเมตร เท่านั้น เพลี้ยไฟมักหลบซ่อนอยู่ตามขั้วผลและออกมาดูดกินน้ำเลี้ยงที่ผิวเปลือกที่ยังไม่แก่เต็มที่ การดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้เกิดบาดแผล ผลมังคุดจึงขับน้ำยางสีเหลืองออกมาเพื่อสมานแผลที่เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ และ การเกิดยางไหลในผลระยะใกล้สุกแก่ เกิดขึ้นได้ทั้งจากได้รับน้ำมากเกินไป จนทำให้ผลปริแตก และมียางไหลออกมา หรืออาจเกิดจากการกัดแทะของแมลงชนิดมีปากแหลมคม ทำให้มังคุดขับน้ำยางออกมาเพื่อสมานแผล จึงพบมียางสีเหลืองเหนียวและข้นเป็นแห่งๆ วิธีแก้ไขปัญหาเนื้อแก้วและยางไหลของผลมังคุด ด้วยวิธีบังคับให้มังคุดออกดอกในเดือนธันวาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม ก่อนมีฝนตกชุก เริ่มต้นจากการชักนำให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนในเดือนกันยายนด้วยสารละลายที่มีส่วนผสมของไธโอยูเรีย 20-40 กรัม น้ำตาลเดกซ์โทรส 600 กรัม และสารกำจัดเชื้อราตามอัตราแนะนำ ละลายในน้ำสะอาด 1 ปี๊บ ผสมให้เข้ากัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ต้นมังคุดจะผลิใบอ่อนภายใน 7-14 วัน และใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น หว่านให้ทั่วทรงพุ่มและรดน้ำตามทันที พร้อมกับให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 15-30-15 อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มเช่นเดียวกัน 2 ครั้ง เดือนเว้นเดือน วัตถุประสงค์เพื่อเร่งให้ใบแก่เร็วขึ้น พร้อมให้ดอก ในเดือนตุลาคมงดการให้น้ำ จนพบว่าใบเริ่มห่อ จึงให้น้ำอย่างพอเพียง ในปริมาณ 40-50 ลิตร ต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร และงดการให้น้ำ 7 วัน จึงให้น้ำอีก 20-25 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร อีกครั้ง ในไม่ช้ามังคุดจะแทงตาดอกปรากฏให้เห็น จากนั้นต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ปริมาณ 3 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ทุก 3 วัน หากพบว่าติดผลดกเกินไปควรเด็ดทิ้งบ้าง ในระยะผลกำลังพัฒนา ให้ฉีดพ่นด้วยสารละลายที่มีส่วนผสมของไฮฟอสจีเอ อัตรา 40 ซีซี ปุ๋ยสูตร 10-20-30 อัตรา 60 กรัม และกรดฮิวมิค อัตรา 20 ซีซี ละลายในน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นตามใบและทรงพุ่ม 3 ครั้ง สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง หมั่นดูแลรักษาอย่าให้ขาดน้ำ ป้องกันกำจัดศัตรูมังคุดที่พบเสมอ ได้แก่ เพลี้ยไฟ ด้วยคาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น เมื่อพบการระบาดที่รุนแรง 2 ครั้ง ทุก 5 วัน และควรงดการฉีดพ่นในระยะดอกบาน หรือใช้อิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 10 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และศัตรูสำคัญอีกชนิดหนึ่งคือ ไรขาว เมื่อพบการระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผง อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 ครั้ง ทุก 3 วัน การระบาดของไรขาวจะหมดไป เมื่อพบว่าไม่มีการระบาดของแมลงทั้งสองชนิดดังกล่าว คุณจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีคุณภาพปราศจากมังคุดเนื้อแก้วและยางไหลตามต้องการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร. (039) 397-030 ในวันและเวลาทำการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ลาดพร้าว
อำเภอ / เขต :
วังทองหลาง
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10310
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 387
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM