เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการผลิตสะละให้ได้คุณภาพ
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกสะละไว้สองแปลง ขณะนี้เริ่มให้ผลผลิตแล้ว แต่ผลมีขนาดเล็กและไม่สมบูรณ์เท่ากับที่มีวางขายอยู่ทั่วไป ผมจึงเขียนจดหมายมาขอคำแนะนำจากคุณหมอเกษตรว่า ผมควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะทำให้สะละผลดกและสมบูรณ์ดี
วิธีแก้ไข :
 
    เทคนิคการผลิตสะละให้ได้คุณภาพ ควรเริ่มตั้งแต่การตัดแต่งกระปุกดอกและทะลายดอก ในสภาพธรรมชาติ สะละจะให้ดอกจำนวน 12 ทะลาย ต่อกอ ต่อปี และแต่ละทะลายเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 12-15 กระปุก หากปล่อยให้ติดผลทั้งหมดจะได้จำนวนผลเล็กมากกว่าผลขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการแย่งอาหารที่ได้รับในปริมาณไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงควรตัดแต่งกระปุก เพราะนอกจากให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้วต้นยังไม่โทรมอีกด้วย การเลือกตัดแต่งให้เหลือ 8-10 ทะลาย ต่อกอ และตัดแต่งกระปุกดอกส่วนปลายของทะลายออก หรือไว้เพียง 6-8 กระปุก ต่อทะลาย ก็พอ สะละเป็นพืชที่ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกกันคนละต้น การช่วยผสมเกสร จะทำให้การผสมเกสรดีขึ้น ส่งผลให้ติดผลดีตามไปด้วย วิธีผสมเกสรสะละ ให้เลือกตัดเฉพาะกระปุกดอกตัวผู้ที่บานแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ในระยะนี้ละอองเกสรตัวผู้จะมีสีเหลืองสด และมีกลิ่นฉุน เก็บรวบรวมกระปุกดอกตัวผู้บรรจุลงในถุงพลาสติคหรือถุงกระดาษสีน้ำตาล ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ไปจนถึง 10.00 น. แล้วอบในตู้อบที่อุณหภูมิ 30-35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง จากนั้นนำมาเคาะลงบนกระดาษที่สะอาดและร่อนในตะแกรงขนาด 250 เมช หรือจำนวนช่องที่มีขนาดเท่ากัน 250 ช่อง ใน 1 ตารางนิ้ว รวบรวมละอองเกสรที่ร่อนแล้วเก็บในขวดพลาสติคที่สะอาดปิดฝาให้แน่น เก็บรักษาในตู้เย็น ละอองเกสรจะมีชีวิตได้นานถึง 6 เดือน เมื่อได้ละอองเกสรตัวผู้ตามต้องการ ก่อนนำไปผสมกับดอกตัวเมียให้ผสมกับแป้งทาลคัม อัตรา 1 : 30 โดยน้ำหนัก นำไปโรยหรือเป่าลงบนอับละอองเกสรตัวเมีย ตั้งแต่เวลา 08.00 น. จนถึง 12.00 น. จะช่วยให้การติดผลที่สมบูรณ์มากกว่าการผสมเกสรโดยอาศัยลมและแมลง เมื่อสะละติดผลแล้วตัดแต่งให้เหลือกระปุกละ 15-20 ผล จะช่วยให้รูปทรงกระปุกสวยงามและมีผลขนาดใหญ่ขึ้นอีกทั้งทะลายจะแห้งเร็วขึ้นหลังจากมีฝนตกหนัก ผลจึงสะอาดไม่เน่าเสีย หลังติดผล 3 เดือน ควรผูกโยงทะลายและกระปุกผลสะละไม่ให้เลื้อยไปตามพื้นดินเพราะจะทำให้ผลสกปรกจากเม็ดดิน เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลสะละให้ใส่ปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 3 ปุ้งกี๋ ต่อต้น 2 ครั้ง ต่อปี ช่วงต้นและปลายฤดูฝน ระยะติดผลแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น หรือต่อกอ โรยรอบทรงพุ่มห่างจากโคนต้น 20 เซนติเมตร พร้อมรดน้ำตามทันที เกษตรกรในแถบจังหวัดจันทบุรีนิยมให้ปุ๋ยละลายน้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ พร้อมกับให้น้ำอย่างพอเพียงและสม่ำเสมอ แต่ระวังอย่าให้ขังแฉะ จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตสะละได้ภายใน 9 เดือน หลังจากเริ่มผสมเกสรแล้ว โรคระบาดที่พบเสมอ ได้แก่ โรคผลและทะลายเน่า เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง อาการของโรคพบว่า เปลือกของผลสะละเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมามีเส้นใยสีขาวหรือสีขาวอมชมพูปรากฏให้เห็น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรงจะแทงเส้นใยทะลุเข้าไปในผล ทำให้ผลเน่าและแพร่กระจายไปทั้งกระปุก วิธีป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งและใบสะละให้โปร่ง ลมพัดผ่านได้สะดวก เพื่อลดความชื้นในสวนสะละไม่ให้ชื้นเกินไปจนเกิดการระบาดของโรคได้ การระบาดที่รุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยคอปเปอร์ออกซี่คลอไรด์ ตามอัตราแนะนำที่ฉลาก 2 ครั้ง ทุก 10-14 วัน และให้เลิกใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 14 วัน การปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้น คุณจะได้ผลผลิตสะละที่ได้คุณภาพตามต้องการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ทุ่งเบญจา
อำเภอ / เขต :
ท่าใหม่
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
22170
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 387
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM