เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วิธีควบคุมโรคแคงเกอร์และกรีนนิ่งของมะนาว
   
ปัญหา :
 
 
    ผมมีคำถาม ถามคุณหมอเกษตร ทองกวาว คือ ผมปลูกมะนาวไว้ในบริเวณบ้าน เพื่อเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร ปัญหาที่พบคือ ผลมะนาวมีลักษณะเป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง มีเพื่อนบอกว่า เป็นโรคขี้กลากใช่หรือไม่ครับ และบางต้นมีใบสีเหลือง เส้นใบเขียวมีขนาดเล็กชูตั้งขึ้น ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
    อาการผลมีแผลตกสะเก็ดของมะนาวเรียกว่า โรคขี้กลาก ถูกแล้วครับ แต่ในภาษาทางวิชาการเรียกว่า โรคแคงเกอร์ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง โรคชนิดนี้แพร่ระบาดได้ด้วยไหลไปกับน้ำฝนและน้ำค้างหรือการนำกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรคระบาด การระบาดจะรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่ออยู่สภาพที่มีความชื้นในบรรยากาศสูง อุณหภูมิระหว่าง 30-35 องศาเซลเซียส โรคแคงเกอร์ที่เกิดขึ้นที่ใบ พบว่า เริ่มมีจุดขนาดเล็กที่ผิวผลส้มขนาดเท่าหัวเข็มหมุด สีใสฉ่ำน้ำ ใบมีสีเข้ม ต่อมาจุดจะขยายใหญ่ขึ้น ฟูคล้ายฟองน้ำ สีเหลืองอ่อน อาจเกิดเป็นที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือกระจายทั่วทั้งผลก็ได้ ต่อมาแผลจะนูนขึ้นเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ฟูและแตก เป็นสะเก็ดขรุขระและแข็ง ส่วนตอนกลางของแผลจะยุบตัวลงเล็กน้อยที่ขอบแผลมีวงสีเหลืองล้อมรอบ ขนาดของแผลจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้านทานของมะนาวแต่ละพันธุ์ โรคแคงเกอร์เกิดที่กิ่งและก้านมะนาว การระบาดมักเกิดขึ้นที่กิ่งอ่อน เริ่มมีจุดขนาดเล็กเกิดขึ้น ต่อมาแผลจะฟูลักษณะเช่นเดียวกับเกิดที่ใบ แต่รูปร่างแผลไม่แน่นอนและมีปุ่มปมขนาดใหญ่และไม่มีขอบ อาการที่เกิดกับผลมะนาว เกิดเป็นแผลกลม คล้ายกับรอยแผลที่ใบ แผลจะนูนและโปร่งคล้ายฟองน้ำสีเหลืองแข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในเวลาต่อมา ทำให้ผลไม่สวยงาม น้ำมะนาวก็จะน้อยลงจนขายไม่ได้ราคา วิธีป้องกันกำจัด ไม่ควรนำกิ่งพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคแคงเกอร์ระบาด ปลูกพืชกันลมป้องกันลมพัดแรงทำให้กิ่งก้านและใบเสียดสีกันจนเกิดแผล ส่งผลให้เชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งไป เมื่อพบการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยสารปฏิชีวนะ สเตรปโตมัยซินที่มีชื่อการค้าว่า แอกริมัยซิน หรือแคงเกอร์เอกซ์ชนิดใดชนิดหนึ่ง ตามอัตราแนะนำข้างฉลาก การควบคุมโรคอย่างเป็นระบบดังกล่าว การระบาดของโรคแคงเกอร์จะหมดไปในที่สุด ส่วนอาการใบมีสีเหลือง เส้นใบเขียวเข้ม ใบมีขนาดเล็ก และชูตั้งขึ้นเรียกว่า โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลม เชื้อชนิดนี้จะเข้าทำลายระบบท่อลำเลียงอาหารของมะนาว ทำให้การเคลื่อนย้ายอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นมะนาวได้น้อยลง ทำให้ต้นแคระแกร็นให้ผลผลิตลดลง อาการที่แสดงออกคล้ายกับการขาดธาตุสังกะสี การแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้นเนื่องจากการนำกิ่งพันธุ์หรือตาพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาใช้ขยายพันธุ์ รวมทั้งเพลี้ยกระโดดและเพลี้ยไก่แจ้เป็นพาหะนำโรค วิธีป้องกันกำจัด เนื่องจากโรคดังกล่าวยังไม่มีวิธีรักษา การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรนำกิ่งพันธุ์และตาพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาปลูก นำต้นที่เกิดโรคเผาทำลายทิ้งไป หว่านปูนขาวลงหลุม หลังจากนำต้นที่เกิดโรคไปทำลายทิ้งแล้วเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในดิน เมื่อพบการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ให้ฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 8 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ 2 ครั้ง สัปดาห์เว้นสัปดาห์ และหมั่นบำรุงต้นมะนาวให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ การระบาดของโรคกรีนนิ่งจะไม่กลับมาระบาดได้อีก
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
7
ตำบล / แขวง :
ท่าวังทอง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
พะเยา
รหัสไปรษณีย์ :
56000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 387
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM