เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กล้วยตายพรายจะแก้ไขอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
ผมปลูกกล้วยไว้ที่ภาคอีสาน พบว่า เกิดการเน่ากลางลำต้น สอบถามเพื่อนบ้านเขาบอกว่าเป็นโรคตายพราย อยากทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไร จะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไรครับ
วิธีแก้ไข :
 
โรคตายพรายของกล้วย เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง มักเกิดกับต้นกล้วยที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป อาการแรกพบ ที่ก้านใบล่างมีสีเหลืองอ่อน ต่อมาปลายใบหรือขอบใบจะเริ่มเหลืองและขยายพื้นที่อย่างรวดเร็ว จนเหลืองทั้งใบ ต่อมาใบอ่อนมีสีเหลืองไหม้และตายนึ่ง บิดเป็นคลื่น โคนก้านหักพับลง ใบยอดยังเขียวและตั้งตรง ต่อมาแห้งตายเช่นเดียวกัน หากเกิดอาการรุนแรงระยะกล้วยตกเครือ ผลจะลีบเล็กไม่สม่ำเสมอ เนื้อฟ่าม แก่ก่อนกำหนด เมื่อตัดต้นตามขวางจะพบเนื้อในกาบใบเน่ามีสีน้ำตาลแดง และมีเส้นใยของเชื้อราปรากฏให้เห็น

วิธีการป้องกันกำจัด เริ่มจากปรับพื้นที่ปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ให้มีน้ำขัง และหลังจากให้น้ำหรือฝนตกหนัก หว่านปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรคและลดความเป็นกรดของดินลง ระยะนี้ควรลดการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง จนกว่าการระบาดของโรคจะลดความรุนแรงลง สิ่งสำคัญเบื้องต้น ให้นำหน่อพันธุ์จากแหล่งที่ปราศจากโรคตายพรายระบาดมาก่อน และให้ตัดต้นที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่และสะสมโรคต่อไป โรคอีกชนิดหนึ่งที่มีอาการคล้ายกับโรคตายพราย ได้แก่ โรคเหี่ยวของกล้วย โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาการเริ่มแรกพบที่ใบอ่อนคือ ใบจะเหี่ยว และต่อมาก้านใบหักพับลง การเหี่ยวเกิดขึ้นและขยายออกไปอย่างรวดเร็ว หน่อกล้วยที่เกิดใหม่มียอดบิดสีดำ แคระแกร็น และเน่าตายในที่สุด เมื่อตัดลำต้นตามขวางพบไส้กลางเน่ามีกลิ่นเหม็น แต่ไม่มีเส้นใยของเชื้อรา

วิธีป้องกันกำจัด นำหน่อพันธุ์จากแหล่งไม่มีโรคระบาดมาปลูก แช่หน่อกล้วยในน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนนำลงปลูกในแปลง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
อุดรธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 391
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM