เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
คาเมไลน่า พืชน้ำมันกระแสมาแรง แต่ต้องรอการพิสูจน์
   
ปัญหา :
 
 
    พืชน้ำมัน คาเมไลน่า มีคนเล่าว่า พืชชนิดนี้ให้น้ำมันที่สามารถนำมาใช้เป็นไบโอดีเซลได้ดี และให้ปริมาณมากกว่าสบู่ดำจริงหรือไม่ และรูปร่างลักษณะของต้นคาเมไลน่านั้นเป็นอย่างไร จะสามารถปลูกในบ้านเราได้ผลดีหรือไม่
วิธีแก้ไข :
 
    คาเมไลน่า เป็นพืชที่ให้เมล็ดที่มีปริมาณน้ำมันสูง ทำให้นักวิจัยหันมาให้ความสนใจเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซล เมื่อเกิดวิกฤติราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาแพง เนื่องจากให้ปริมาณน้ำมัน 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักมวลรวมทั้งหมด คาเมไลน่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ไปจนถึงยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลกะหล่ำปลี คนท้องถิ่นรู้จักปลูกกันมานานกว่า 4,000 ปี โดยปลูกเพื่อหีบน้ำมันจากเมล็ดเป็นเชื้อเพลิง ส่วนลำต้นและใบใช้เลี้ยงสัตว์ คาเมไลน่าเป็นพืชล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศหนาวเย็นและแห้ง ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวได้ถึง -2 องศาเซลเซียส ลักษณะทรงต้นคล้ายต้นถั่วเหลือง ใบเวียนเรียงซ้อนกันเป็นกระจุกที่ส่วนยอด มีความสูง 40-100 เซนติเมตร ผิวลำต้นเรียบ แต่เนื้อหยาบมีเส้นใยสูง ใบยาวรีปลายแหลม ขอบใบเรียบ ยาว 5-8 เซนติเมตร ใบเรียงสลับและตั้งฉาก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอดของลำต้นและปลายกิ่ง มีดอกสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมเขียว ดอกเป็นชนิดสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน กลีบดอกมี 4 กลีบ มีผลเป็นฝักลักษณะกลม ขนาดเล็กมาก ยาวเพียง 1-1.4 มิลลิเมตร แต่ละฝักมี 8-10 เมล็ด สีเหลือง หรือเหลืองอมน้ำตาลก็มี ผิวเมล็ดขรุขระและมีขนาดเล็กมาก กว้าง 0.7 มิลลิเมตร และยาว 1.5 มิลลิเมตร เฉลี่ย 1,000 เมล็ด มีน้ำหนักเพียง 1 กรัมเท่านั้น ปัจจุบันคาเมไลน่ามีปลูกกันอยู่ที่สหรัฐอเมริกา รัสเซีย นอร์เวย์ และออสเตรเลียฝั่งตะวันตก ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาทดลองปลูกที่จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผลการทดลองพบว่า คาเมไลน่าให้ผลผลิต ประมาณ 200-300 กิโลกรัม ต่อไร่ และให้น้ำมันที่นำไปผลิตไบโอดีเซลได้ 60-90 ลิตร ต่อไร่ อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน ตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก การทดลองโดยเตรียมดินให้ร่วน เก็บวัชพืชออกจนสะอาด สูบน้ำเข้าในแปลงและระบายออกทิ้งไว้ 2-3 วัน พอมีความชื้นแล้วหว่านเมล็ดพันธุ์อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อไร่ คลุมด้วยฟางข้าว ใช้เวลาเพียง 3-4 วัน เมล็ดจะงอก และเจริญเติบโตตามลำดับ หว่านปุ๋ยยูเรีย อัตรา 6 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังเมล็ดงอกแล้ว 7 วัน และใส่อีกครั้ง เมื่อมีใบ 4 ใบ ด้วยอัตราเดียวกัน ระวังอย่าให้เม็ดปุ๋ยสัมผัสใบหรือลำต้น จากนั้นจึงให้น้ำด้วยระบบสายยาง หรือปล่อยตามร่องในแปลง อายุครบ 90-100 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โรคที่พบ คือ ราน้ำค้าง ส่วนโรคและแมลงอื่นไม่พบการระบาดที่รุนแรง นี่เป็นเพียงงานทดลองเบื้องต้น หากต้องการทราบว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
หมู่ 12
ตำบล / แขวง :
ต้นโพธิ์
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
สิงห์บุรี
รหัสไปรษณีย์ :
16000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 01 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 19 ฉบับที่ 392
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM