เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การเลี้ยงไหมให้ได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
    ผมสนใจเรื่องการปลูกหม่อนและเลี้ยงไหม เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว แต่ยังขาดวิชาการใหม่ ๆ ที่จะผลิตเส้นไหมให้ได้คุณภาพดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร และผมจะหาความรู้ใกล้บ้านได้อย่างไร หวังว่าคุณหมอคงจะให้ความกระจ่างแก่ผมได้เป็นอย่างดี
วิธีแก้ไข :
 
    การเลี้ยงไหม ให้ได้ผลดี ต้องใช้หม่อนพันธุ์ดีควบคู่กับไหมพันธุ์ดี เพราะหม่อนเป็นอาหารของตัวหนอนไหม ปัจจุบันหม่อนที่เกษตรกรนิยมปลูกมากคือ พันธุ์บุรีรัมย์ 60 และ นครสวรรค์ 60 เนื่องจากให้ผลผลิตสูงเฉลี่ยน้ำหนักใบสด 2,500-4,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วน พันธุ์คุณไพ และ ไผ่ เป็นพันธุ์ทนต่อโรครากเน่าได้ดี ลักษณะหม่อนพันธุ์ดี ต้องเจริญเติบโตเร็ว แตกแขนงพอเหมาะ ขนาดใบไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ใบมีน้ำมาก อ่อนนุ่ม และขยายพันธุ์ได้ง่าย หม่อนเป็นพืชต้องการดินร่วนซุย น้ำท่วมไม่ถึง แปลงปลูกหม่อนต้องอยู่ใกล้โรงเรือนเลี้ยงไหม และต้องไม่อยู่ใกล้เคียงกับแปลงปลูกพืชที่มีการฉีดพ่นสารเคมี ฝุ่นละออง หรือควัน เพราะอาจจะทำให้ใบหม่อนปนเปื้อนสารพิษ การเตรียมแปลงปลูกหม่อน ไถดินลึก 40 เซนติเมตร ตากแดดไว้นาน 5-7 วัน แล้วไถดินให้ละเอียด ปรับพื้นให้เรียบ ใช้ระยะปลูก 1.50-2.00x0.75 เมตร เปิดร่องแคบ ๆ ตามแนวปลูก พร้อมใส่เศษหญ้าแห้งกลบดิน นำกล้าที่ชำในถุงไว้จนตั้งตัวได้ดีมีอายุ 2-3 เดือน การปลูกควรปลูกต้นฤดูฝนจะทำให้มีโอกาสรอดตายสูง ต้นหม่อน อายุ 8-12 เดือน สามารถเก็บใบไปเลี้ยงตัวไหมได้ ต้นหม่อน อายุ 2 เดือน เมื่อพบบางต้นตายให้ปลูกซ่อมเสียใหม่ พร้อมกำจัดวัชพืชให้สะอาด และใส่ปุ๋ยข้างแถว สูตร 15-15-15 อัตรา 35 กิโลกรัม ต่อไร่ แล้วกลบดิน โรคของหม่อนที่สำคัญ เช่น โรครากเน่า ระยะแรกแสดงอาการของใบคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาใบและกิ่งจะเหี่ยวตั้งแต่ส่วนยอดลงมา ใบจะร่วงหล่น เปลือกหม่อนบริเวณโคนต้นและรากจะเน่าเปื่อยมีกลิ่นเหม็น วิธีป้องกันกำจัด ไม่ปลูกต้นหม่อนในที่ลุ่ม ระวังอย่าให้เกิดรอยแผลบริเวณโคนต้น หากพบมีการระบาดของโรคเกิดขึ้น ให้ขุดต้นที่เป็นโรคเผาทำลายและโรยปูนขาวลงในหลุมปลูก เป็นการฆ่าเชื้อ ในแหล่งที่พบการระบาดรุนแรง ควรปลูกพันธุ์คุณไพและไผ่แทนพันธุ์เดิม การเลี้ยงไหม พันธุ์ไหมที่ให้ผลผลิตและคุณภาพดี เช่น พันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ ที่ได้จากพันธุ์ญี่ปุ่นกับพันธุ์จีน ลักษณะรังไหมค่อนข้างกลมรี สีขาว ผลผลิต 20-25 กิโลกรัม ต่อกล่อง หรือต่อแผ่น เช่น พันธุ์นครราชสีมา ลูกผสม 1 หรือ ยูบี 3 x ยูบี 6 วงจรชีวิตของไหม 1. ระยะไข่ไหม 10-11 วัน 2. ระยะหนอนไหม 3. ระยะดักแด้ 10-13 วัน และ 4. ระยะผีเสื้อ 7-10 วัน โรงเรือนเลี้ยงไหม ขนาดพื้นที่เลี้ยงไหม 1 กล่อง หรือ 1 แผ่น ต้องใช้พื้นที่ 16-20 ตารางเมตร ใช้ใบหม่อน 550-600 กิโลกรัม แหล่งที่ตั้งโรงเรือนควรอยู่ใกล้กับสวนหม่อน ด้านหน้าและหลังหันหน้าทางตะวันออก-ตก ป้องกันมดและแมลงวันได้ อยู่ห่างจากบริเวณไร่ยาสูบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความสูงของโรงเรือนจากพื้นถึงฝ้าเพดานไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร หลังคาอาจมุงด้วยแฝก หรือกระเบื้อง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้เลี้ยง อุปกรณ์จำเป็นในการเลี้ยงไหม ประกอบด้วย ชั้นเลี้ยงไหม ถ้วยหล่อน้ำขาโต๊ะชั้นเลี้ยงไหม กล่องไม้ ขนาด 7x70x90 เซนติเมตร เขียงและมีดหั่นใบหม่อน กระบะพักใบหม่อน จ่อ ตาข่ายถ่ายมูลไหม เทอร์โมมิเตอร์ชนิดตุ้มแห้ง ตุ้มเปียก กระด้ง การเลี้ยงและการดูแล 1. เมื่อหนอนไหมฟักออกเป็นตัว เทตัวหนอนไหมลงบนกระด้งเลี้ยงไหม เรียกว่า เริ่มเลี้ยงไหม 2. ให้อาหารด้วยใบหม่อนหั่นย่อย 3. การถ่ายมูลหนอนไหมด้วยตาข่ายพลาสติกตาห่าง ร่อนเบา ๆ ให้มูลและเศษใบหม่อนหลุดรอดออกให้เหลือเฉพาะตัวหนอนไหม 4. เพิ่มพื้นที่เลี้ยงมากขึ้นให้พอเหมาะกับขนาดและจำนวนของตัวหนอนไหม 5. ระยะหนอนไหมเข้าระยะพักตัว ลำตัวเลื่อมมัน ระยะนี้ให้ลดอาหารลง ถ้าความชื้นสูงให้โรยปูนขาวลงบนกระด้ง เพื่อลดความชื้นและช่วยให้การลอกคราบได้ดีขึ้น โดยเฉลี่ยจะใช้เวลา 15-30 ชั่วโมง จึงลอกคราบเสร็จ หลังจากลอกคราบตัวหนอนจะมีหัวขนาดใหญ่ขึ้น หนังของลำตัวจะบางลงและเริ่มเคลื่อนไหวจึงให้อาหารอีกครั้ง 6. รักษาอุณหภูมิภายในโรงเรือนไว้ที่ 23-28 องศาเซลเซียส พรางแสงให้สลัว 7. การเลี้ยงไหมวัยอ่อน หั่นใบหม่อน ขนาดเท่าลำตัวให้กิน อาจเลี้ยงในกระบะไม้ ขนาด 7x70x90 เซนติเมตร 8. การเลี้ยงไหมวัยแก่ ให้เลี้ยงบนชั้น ระยะนี้ให้ใบหม่อนได้ทั้งใบและกิ่ง ต่อมาไหมจะสุก ลำตัวโปร่งแสง มูลไหมมีขนาดโตขึ้น สีเขียวอ่อน ลำตัวนิ่ม ส่ายหัวไปมาเร็วขึ้น ในที่สุดจะพ่นเส้นใยสำหรับทำรังหุ้มลำตัว จ่อกระด้งที่ใช้เลี้ยงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.20 เมตร จุไหมสุกได้ 600-700 ตัว การเก็บเกี่ยวรังไหม เมื่อเก็บไหมสุกเข้าจ่อและจะสร้างรังเสร็จภายใน 2 วัน จากนั้น 6-7 วัน จะเก็บเกี่ยวรังไหมได้แล้วคัดแยกรังเสียออกจากรังที่สมบูรณ์ การขนส่งรังไหมส่งตลาด เมื่อคัดเลือกรังไหมดีได้แล้ว นำรังไหมบรรจุในถุงตาข่ายไนลอน ขนาด 40x40x80 เซนติเมตร จะได้น้ำหนัก 10-15 กิโลกรัม ควรระวังอย่าให้รังไหมถูกแสงแดด จะทำให้รังไหมเสียหาย หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้วให้รมโรงเรือนด้วยฟอร์มาลิน 3 เปอร์เซ็นต์ และล้างทำความสะอาดอุปกรณ์เลี้ยงไหม เพื่อเตรียมไว้เลี้ยงไหมในรุ่นต่อไป ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามที่ สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 ในวันเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ด่านช้าง
จังหวัด :
สุพรรณบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2544 ปีที่ 13 ฉบับที่ 261
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM