เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ไคติน-ไคโตซาน วัสดุเหลือทิ้งที่มีคุณค่า
   
ปัญหา :
 
 
ไคติน-ไคโตซาน คืออะไร มีคนบอกว่ามีอยู่ในเปลือกกุ้งใช่หรือไม่ และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอย่างไรบ้าง
วิธีแก้ไข :
 
ไคติน เป็นรูปหนึ่งของแป้งและน้ำตาล ซึ่งพบมากในเปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปูนปลาหมึก นอกจากนี้ ยังมีอยู่ในผนังเซลล์ของจุลินทรีย์อีกหลายชนิด เล็บมือของมนุษย์ก็เป็นไคตินชนิดหนึ่ง ส่วนไคโตซาน เป็นอนุพันธ์ของไคตินที่สกัดแยกเอาอาซิตีลของน้ำตาลออกจากไคติน โดยรวมแล้วคุณสมบัติของไคตินและไคโตซานคล้ายคลึงกัน ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกกุ้งสุกแกะเปลือกไปยังต่างประเทศในระดับต้นๆ ของโลก ผลพวงที่ตามมาพบว่า เปลือกกุ้งที่เป็นของเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรม กุ้งมีจำนวนมหาศาล ทำให้นักคิดหันมาให้ความสนใจที่จะนำเปลือกกุ้งดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้ง ผลของการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ทราบว่า ในเปลือกกุ้งนั้นมีไคตินและไคโตซานเป็นองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ดังนี้ การนำมาใช้ในการถนอมอาหาร ไคติน-ไคโตซาน มีสมบัติในการควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ทั้งแบคทีเรียและเชื้อรา ทั้งนี้ ไคติน-ไคโตซาน มีประจุบวกที่สามารถจับผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีประจุลบ ทำให้โปรตีนและสารอื่นๆ ของจุลินทรีย์แตกรั่วออกจากเซลล์จุลินทรีย์จะตายลงในที่สุด นอกจากนี้ ยังใช้เคลือบเปลือกผลไม้ พืชผัก เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาให้สะอาดและไม่เป็นพิษกับผู้บริโภค การนำมาใช้ในการเกษตร เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซาน มีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ เมื่อใช้ฉีดพ่นในต้นพืชมันจะปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนออกมาอย่างช้าๆ ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและให้ธาตุไนโตรเจนกับต้นพืชอีกทางหนึ่ง ใช้บำบัดน้ำเสีย โดยสภาพทั่วไปในน้ำเสียจะมีสารแขวนลอยที่เป็นสิ่งสกปรกละลายอยู่ในน้ำ เช่น โปรตีน และไขมัน เนื่องจาก ไคติน-ไคโตซาน มีประจุบวก จะจับสารแขวนลอยที่เป็นประจุลบเอาไว้ ต่อมาจะเกิดการตกตะกอน ทำให้น้ำใสสะอาดขึ้นและการใช้เป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ไคติน-ไคโตซาน จะดูดซับไม่ให้ลำไส้ดูดซึมไขมันเข้าสู่ร่างกายได้ วิธีการผลิต ไคติน-ไคโตซาน ขั้นตอนที่หนึ่ง แยกโปรตีน ขั้นตอนที่สอง แยกสกัดเกลือแร่อื่นๆ ออก และ ขั้นตอนที่สาม แยกสกัด นำเอาเมล็ดสีออก ในที่สุดจะได้แผ่นเหนียวสีขาวใสคล้ายพลาสติคละลายได้ดีในกรดอ่อน เมื่อนำไปใช้ประโยชน์ต้องไปละลายน้ำก่อนฉีดพ่นควบคุมศัตรูพืชและถนอมผลผลิตการเกษตร ทั้งนี้ การนำไคติน-ไคโตซาน ไปใช้ในการเกษตร ยังอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาจำหน่ายผลผลิต จึงทำให้นักวิจัยและนักลงทุนพุ่งเป้าไปผลิตไคติน-ไคโตซาน เพื่อสุขภาพและความสวยงามเป็นสำคัญ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
คลองตัน
อำเภอ / เขต :
วัฒนา
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
10110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 19 ฉบับที่ 393
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM