เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สะละ สายพันธุ์มาเลเซีย
   
ปัญหา :
 
 
สะละน้ำผึ้งพันธุ์มาเลเซีย ขอรบกวนคุณหมออธิบายวิธีปลูก การดูแลรักษา ระยะเวลาให้ผลผลิต และอยากทราบแหล่งจำหน่ายต้นพันธุ์ด้วย สภาพดินฟ้าอากาศในภาคอีสานจะปลูกได้หรือไม่
วิธีแก้ไข :
 
สะละน้ำผึ้ง พันธุ์มาเลเซีย ผมตรวจสอบข้อมูลแล้ว ยังไม่พบแปลงปลูก อย่างไรก็ตาม การปลูกและดูแลรักษาให้ใช้วิธีเดียวกับสะละพันธุ์อื่นๆ ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับสะละนั้นต้องเป็นพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง ดินควรเป็นดินร่วนทรายหรือร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกเกิน 50 เซนติเมตร มีฤทธิ์ความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.0-6.5 ต้องการปริมาณน้ำฝน 1,500 มิลลิเมตร ต่อปี การกระจายตัวของฝนค่อนข้างดี มีความชื้นสัมพัทธ์ ระหว่าง 60-70 เปอร์เซ็นต์ และต้องมีน้ำสะอาดอย่างพอเพียงในฤดูแล้ง พันธุ์ที่นิยมปลูกอยู่ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 พันธุ์ คือ

พันธุ์เนินวง เป็นพันธุ์สะละที่นิยมปลูกกันมากที่สุด ลักษณะประจำพันธุ์ มีขนาดตะโพกหรือลำต้นเล็กกว่าระกำ ที่กาบใบมีสีน้ำตาลทอง ปลายใบยาว หนามที่ปลายยอดอ่อนจะมีสีขาว ผลรูปร่างยาว คล้ายกระสวย หนามผลยาว อ่อนและนิ่ม เนื้อสีเหลืองนวลคล้ายน้ำผึ้ง นุ่มหนา รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยวก็มี และกลิ่นหอม เมล็ดเล็ก

พันธุ์หม้อ ลำต้นเล็ก ใบเขียวเข้มกว่าพันธุ์สะละเนินวง ข้อทางใบถี่ สั้น หนามยาวขนาดเล็ก และอ่อนนิ่ม การติดผลง่ายกว่าสะละเนินวง ผลค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้มอมน้ำตาล เนื้อสีน้ำตาล มีลาย รสหวาน กลิ่นหอมเฉพาะตัว เมล็ดเล็ก ทนแสงแดดจ้าได้ดีกว่าสะละเนินวง และ

พันธุ์สุมาลี ลำต้นคล้ายต้นระกำ ทางใบยาว สีเขียวอมเหลือง ขนาดใบใหญ่และกว้าง ปลายสั้นกว่าสะละเนินวง ช่อดอกใหญ่ ติดผลง่าย ทรงผลป้อมสั้น หนามที่ยอดอ่อนมีสีส้ม สีเนื้อคล้ายสะละเนินวง เนื้อหนาไม่แน่น แต่บางกว่าสะละเนินวง เนื้อมีรสหวาน กลิ่นหอม ทนแสงแดดจ้าดีกว่าสะละเนินวง

การปลูก บนที่ดอน ควรปลูกไม้ร่มเงาเพื่อลดความเข้มข้นของแสง หรือใช้ซาแรนพรางแสงสีดำตัดแสง 30-50 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีทำสวนขนาดเล็ก ไถพรวนดิน ปรับพื้นให้เรียบ ทำร่องระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมขัง

สภาพที่ลุ่ม ให้ขุดยกร่องสวน กว้าง 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร และลึก 1 เมตร ปลูกไม้ยืนต้นโตเร็วเป็นร่มเงาริมขอบแปลงทั้งสองด้าน ขณะเดียวกันรากไม้จะช่วยยึดดินไม่ให้ขอบร่องพังทะลาย ส่วนความยาวของแปลงนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ ใช้ระยะปลูก 4x4 เมตร กรณีไว้กอเดียวเพียง 1 ต้น หรือระยะ 6x8 เมตร หากต้องการไว้กอละ 3 ต้น การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกว้างและลึก 30 เซนติเมตร เท่ากัน รองก้นหลุมด้วยเศษไม้ใบหญ้า พร้อมหินฟอสเฟต อัตรา 500 กรัม ต่อหลุม นำต้นกล้าที่เตรียมไว้ฉีกถุงเพาะชำออก ระวังอย่าให้รากฉีกขาด วางลงตอนกลางหลุม เกลี่ยดินกลบ อัดดินพอแน่นให้เป็นรูปหลังเต่า

การให้ปุ๋ย ขณะต้นอายุน้อย ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กิโลกรัม ต่อต้น แบ่งใส่ 2-4 ครั้ง ในรอบหนึ่งปี

การให้น้ำ ต้องให้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงแล้งในปริมาณ 100-118 ลิตร ต่อกอ ต่อวัน ตัดแต่งทางใบที่แก่ออก อาจสับคลุมโคนก็ได้ เมื่อสะละมีอายุครบหนึ่งปีจะเริ่มแตกกอให้หน่อหลายต้นและควรตัดแต่งเหลือไว้ 2 หน่อ รวมกับต้นแม่อีก 1 รวมเป็น 3 ต้น ในหนึ่งกอ จากนั้นควรตัดแต่งหน่อที่เกิดใหม่ หากไม่ต้องการตัดทิ้งไป ทางใบที่โน้มลงเกะกะทางเดินให้ผูกโยงด้วยเชือกไนล่อนจนเรียบร้อย ทางใบแก่หรือไม่สมบูรณ์ให้ตัดและสับสำหรับคลุมโคนต้น สะละเริ่มให้ผลผลิตเมื่อมีอายุครบ 3 ปี จึงต้องบำรุงต้นให้สมบูรณ์ ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก 30-40 กิโลกรัม ต่อกอ ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน พร้อมใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อเดือน แบ่งใส่เดือนละ 1-2 ครั้ง หากดินที่อุดมสมบูรณ์ดีแล้วก็ให้ลดอัตราปุ๋ยลง ทั้งนี้ หากต้องการใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตและลดค่าใช้จ่ายการใส่ปุ๋ยเกินความจำเป็น ควรนำตัวอย่างดินปลูกและใบสะละไปวิเคราะห์หาธาตุอาหารก่อน แล้วจึงใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ พร้อมกับให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ การตัดแต่งทางใบ ให้รักษาทางใบไว้ 15-20 ทางใบ และต้องเว้นทางใบที่รองรับทะลายผลสะละ ขณะให้ผลสะละอายุ 7-8 ปี ให้ตัดต้นแม่ออก นำไปตัดชำเป็นส่วนขยายพันธุ์ต่อไปได้อีก ข้อดีคือ กอของสะละจะโปร่งขึ้นทำให้สะดวกในการเข้าจัดการ การตัดแต่งดอก ช่อดอกที่สมบูรณ์จะอวบและยาว สีแดงเข้ม กาบหุ้มสีดำหรือสีน้ำตาล ตัดแท่งช่อดอกให้มีจำนวนพอเหมาะกับทะลายและกระปุก สะละเป็นพืชที่ต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกจากกัน ต้นที่ปลูกจากการสับต้นหรือตัดชำจากต้นตัวเมียจะได้กล้าเป็นต้นตัวเมียทั้งหมด ส่วนต้นสะละที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะให้ต้นตัวผู้เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ วิธีช่วยผสมเกสรจึงนับว่ามีความสำคัญต่อการติดผลของสะละ เทคนิคการผสมเกสรของสะละ นำเกสรตัวผู้ของระกำ หรือสะละด้วย ใช้พู่กันแตะลงที่ละอองเกสรตัวผู้และแต้มลงที่ดอกตัวเมีย ขณะดอกตัวเมียบานแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือนำละอองเกสรผสมกับแป้งทาลคัม อัตรา 1:10 พ่นลงที่ดอกตัวเมียที่บานแล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ การผสมเกสรทำได้ตลอดทั้งวัน ส่วนในฤดูฝนต้องคลุมช่อดอกไว้อย่างน้อย 2 วัน หลังติดผลแล้วต้องโยงผล โดยเฉพาะต้นอายุน้อย กระปุกสะละอยู่ใกล้พื้นดิน จำเป็นต้องโยงผลยกขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผลสกปรกจากการสัมผัสพื้นดิน จากนั้นหมั่นทำความสะอาดในแปลงอย่างสม่ำเสมอ ผลที่เน่าเสียให้ตัดแต่ง เผาหรือฝังป้องกันการแพร่ระบาดของโรค หมั่นซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ครบ 9 เดือน หลังผสมเกสรแล้วเป็นระยะที่ผลสะละสุกแก่พอดี สีของเปลือกผลสะละเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง ผิวแตกเป็นลายคล้ายเกล็ดงู วิธีเก็บเกี่ยว เมื่อผลแก่เต็มที่ใช้กรรไกรหรือมีดที่คมและสะอาดตัดที่ขั้วกระปุกแล้ววางลงตะกร้า ระวังอย่าให้ผลช้ำหรือหลุดร่วง นำผลที่ได้เข้าโรงคัดบรรจุ คัดเลือกผลเน่าและผลลีบออกฉีดล้างน้ำ ล้างให้สะอาด คัดแยกขนาดผล บรรจุลงในภาชนะส่งจำหน่ายในตลาดต่อไป หากต้องการเก็บผลให้นาน ควรเก็บในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส

โรคและแมลงศัตรูสำคัญ ได้แก่ โรคผลเน่า เกิดจากการทำลายจากเชื้อรา แสดงอาการที่ผล เกิดมีจุดขนาดเล็กช้ำ ต่อมาขยายขึ้นพร้อมพบเส้นใยเชื้อราสีขาว หรือขาวอมชมพูแทงเข้าในเนื้อผล ทำให้ผลเน่าหลุดร่วงเสียหาย วิธีป้องกันกำจัด จัดการสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ให้สะละรับแสงเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ ปลิดหรือเก็บผลที่แสดงอาการนำไปเผาหรือฝังทำลายป้องกันการแพร่ระบาดของโรค หากเกิดการระบาดรุนแรงให้ฉีดพ่นด้วยคาร์บ๊อกซีน อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ และต้องหยุดฉีดพ่นสารเคมีก่อนเก็บผลผลิต 15 วัน แมลงที่พบการระบาดอยู่เสมอ คือ ด้วงแรด ด้วงชนิดนี้เป็นศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายต้นมะพร้าวและปาล์มน้ำมันอีกด้วย นิสัยของด้วงแรดจะเข้ากัดกินส่วนยอดอ่อนสะละ ทำให้ยอดแห้งและต่อมาทำให้ต้นสะละตายในที่สุด

วิธีป้องกันกำจัด หมั่นทำความสะอาดแปลงปลูกสะละอย่างสม่ำเสมอ อย่าทิ้งซากอินทรียวัตถุไว้ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรด การใช้จุลินทรีย์ราเขียวใส่ลงในกองอินทรียวัตถุ หรือกองปุ๋ยหมักที่มีขนาดกว้าง และยาว 2 เมตร เท่ากัน กองสูง 50 เซนติเมตร ส่วนผสมของปุ๋ยหมักประกอบด้วยฟางข้าว เศษหญ้าแห้ง ขุยมะพร้าว และมูลสัตว์ คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดน้ำพอชุ่ม คลุมด้วยทางมะพร้าวหรือทะลายของสะละรักษาความชื้นและให้ร่มเงา ปล่อยไว้จนสลายตัวดีแล้ว นำเชื้อราเขียวโรยลงบนกองปุ๋ยหมักให้ทั่ว เมื่อด้วงแรดวางไข่ลงในกองปุ๋ยหมัก เชื้อราจะเข้าทำลายระยะตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ ด้วยการแทงเส้นใยเข้าไปในลำตัวและทำลายอวัยวะภายในจนทำให้หนอนตายในที่สุด การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น คุณจะได้ผลผลิตสะละที่ได้คุณภาพตามต้องการ แหล่งพันธุ์ท่านผู้ใดมีต้นพันธุ์สะละน้ำผึ้ง โปรดแจ้งให้ คุณดำรงค์ จุลสราญพงษ์ ด้วยครับ ภาคอีสานไม่เหมาะจะปลูกสะละ เนื่องจากต้องการน้ำและความชื้นในอากาศสูง หากต้องการปลูกให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพจะต้องลงทุนสูงมาก จึงควรเลือกพันธุ์อื่นปลูกแทนดีกว่าครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
หมู่ 4
ตำบล / แขวง :
แร่
อำเภอ / เขต :
อ.พังโคน
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
47160
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 19 ฉบับที่ 396
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM