เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
วัสดุปลูกกล้วยไม้รองเท้านารี ที่ทำง่ายและได้ผลดี
   
ปัญหา :
 
 
ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้รองเท้านารีไว้หลายกระถาง ระยะแรกหลังจากซื้อมา ต้นสวยงามสมบูรณ์แข็งแรงดี ต่อมาอีกมีเศษต้นไม่งาม อาจจะเนื่องจากการใช้วัสดุปลูกไม่เหมาะสมก็ได้ คือผมใช้กาบมะพร้าวผสมกับใบฉำฉาหมัก แต่ก็ยังไม่งามเหมือนตอนที่ซื้อมาใหม่ๆ จึงขอคำแนะนำด้วยว่า ควรใช้อะไรเป็นวัสดุปลูกและการดูแลอย่างไร ต้นกล้วยไม้รองเท้านารีของผมจึงจะงามสมบูรณ์
วิธีแก้ไข :
 
กล้วยไม้รองเท้านารี ฝรั่งเรียกว่า เลดี่ สลิปเปอร์ มีถิ่นกำเนิดทั้งในเขตร้อนชื้นและเขตหนาวเย็นก็มี แต่ส่วนมากพบในเขตร้อนชื้น เช่น อินเดีย จีนตอนใต้ อินโดนีเซีย นิวกินี ฟิลิปปินส์ และไทย โดยธรรมชาติกล้วยไม้รองเท้านารีมักอาศัยอยู่ตามซอกหิน บนต้นไม้ หรือตามพื้นดินที่มีเศษซากใบไม้ที่ผุทับถมกันมาเป็นเวลานาน ที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี ดังนั้น เมื่อนำมาปลูกเลี้ยงในโรงเรือนจึงควรเตรียมวัสดุปลูกที่หาง่าย เก็บความชื้นได้ดีและต้องระบายน้ำและอากาศได้ดีเช่นเดียวกัน ประการสำคัญต้องไม่มีเกลือ สารพิษ หรือเชื้อโรคปนเปื้อน ซึ่งวัสดุปลูกที่ใช้กันอยู่มีหลายสูตร แตกต่างกันตามวัยของกล้วยไม้

สูตรวัสดุปลูกสำหรับลูกกล้วยไม้

1. ขี้เถ้าแกลบ กาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก และโฟมหักป่นเป็นชิ้นขนาดเล็ก อัตรา 1:1:1 และ

2. ขี้เถ้าแกลบ โฟมหักและทรายหยาบ อัตรา 1:1:1 สูตรวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ใหญ่

- อิฐมอญ และถ่านทุบขนาดเล็กกว่าหัวแม่มือเล็กน้อย หินเกล็ด อัตรา 1:1:1

- อิฐมอญ และถ่านทุบ ใบไม้ผุและหินเกล็ด อัตรา 1:1:1 และ

- อิฐมอญทุบ เปลือกถั่วลิสงหักหรือทุบ และหินบด อัตรา 1:1:1 ทั้งนี้ นอกจากวัสดุปลูกที่ดีแล้ว จะต้องมีการจัดการสภาพแวดล้อมอื่นๆ อีกด้วย จึงจะได้ผลดี เช่น ภาชนะปลูก ควรใช้กระถางดินเผาเพราะเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดี นอกจากนี้ ต้องเลือกขนาดกระถางที่พอเหมาะกับขนาดต้นไม้ด้วย แสงแดด นับว่ามีความสำคัญไม่แพ้ปัจจัยอื่น ทั้งนี้กล้วยไม้รองเท้านารีต้องการแสงเพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น หากได้รับแสงมากเกินไปจะทำให้ใบไหม้ระบบรากหยุดชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้าได้รับแสงน้อยเกินไปจะทำให้สีของดอกซีด ก้านดอกอ่อนไม่ตั้งตรง และให้ดอกน้อยลง

ความชื้นสัมพัทธ์ กล้วยไม้รองเท้านารีต้องการความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศระหว่าง 45-80 เปอร์เซ็นต์ และควรเป็นโรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทได้ดีพอสมควร มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดการสะสมโรคได้ง่าย

อุณหภูมิที่กล้วยไม้ชนิดนี้ต้องการ อยู่ในระหว่าง 25-28 องศาเซลเซียส และ น้ำ กล้วยไม้รองเท้านารีต้องการน้ำที่สะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีกลิ่นเหม็น น้ำฝนเป็นน้ำที่ดีที่สุดสำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้ หากเป็นน้ำประปาต้องเก็บในถังหรือโอ่งที่เปิดฝาให้คลอรีนระเหยออกอย่างน้อยเป็นเวลา 2-3 วัน ก่อนนำไปใช้รดต้นไม้ และไม่แนะนำให้ใช้น้ำบาดาลรดกล้วยไม้รองเท้านารี ประการสำคัญ การปลูกสร้างโรงเรือนสำหรับกล้วยไม้ชนิดนี้ให้ตั้งแนวยาวตามทิศตะวันออก-ตะวันตก หลังคาควรมีสองชั้น ชั้นบนพรางด้วยซาแรนสีดำ ชั้นถัดมาเป็นชั้นที่ทำด้วยพลาสติคใส รูปโค้งหรือหน้าจั่ว ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกไปกระทบต้นกล้วยไม้ เพราะจะทำให้ช้ำและเน่าเสียหาย ต้นข้างโรงเรือนแนะนำให้ล้อมด้วยซาแรนสีดำ ช่วยเก็บความชื้นและลดความแรงของลมที่พัดผ่าน พื้นโรงเรือนต้องสะอาดควรปูด้วยทรายหยาบหนาประมาณ 5-10 เซนติเมตร ชั้นวางกระถางอาจมี 3-4 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาตามความเหมาะสมของพื้นที่สำหรับวางกระถางให้ได้สวยงาม และสะดวกในการเข้าไปดูแล หว่านปูนขาวตามพื้นเพื่อฆ่าเชื้อโรค 2-3 เดือน ต่อหนึ่งครั้ง เมื่อพบว่าต้นกล้วยไม้ไม่งามให้ใส่ปุ๋ยละลายช้า สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตราครึ่งช้อนชา ต่อกระถาง วิธีให้ปุ๋ย ใส่ลงบนวัสดุปลูกทุก 3 เดือน ระวังอย่าให้สัมผัสที่ใบ ต้น หรือรากโดยตรง เพราะจะทำให้บริเวณดังกล่าวเน่า อาจถึงตายได้ การปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น คุณจะได้กล้วยไม้รองเท้านารีที่งามสมใจ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
หมู่บ้านหนองผือ
ตำบล / แขวง :
พรมสวรรค์
อำเภอ / เขต :
โพนทอง
จังหวัด :
ร้อยเอ็ด
รหัสไปรษณีย์ :
45110
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 398
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM