เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แก่นตะวัน พืชอเนกประสงค์ ความหวังใหม่ของไทย
   
ปัญหา :
 
 
อ่านพบในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง กล่าวถึงพืชชนิดหนึ่งชื่อว่า แก่นตะวัน มีประโยชน์นำมาสกัดน้ำมันเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนได้ จึงขอเรียนถามว่า พืชชนิดนี้มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และนำมาใช้ทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงได้จริงหรือไม่
วิธีแก้ไข :
 
แก่นตะวัน ชื่อนี้ยังไม่คุ้นกับคนไทย แต่ถ้าบอกว่าแก่นตะวัน คือ เยรูซาเล็ม อาร์ติโชค ผู้อ่านหลายท่านคงรู้จักกันดี แก่นตะวันอยู่ในวงศ์เดียวกับเบญจมาศและเก๊กฮวย นอกจากนี้ ยังถูกจัดไว้ในสกุลเดียวกับทานตะวัน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกาตอนเหนือ ในระยะแรกชาวอินเดียแดงรู้จักนำหัวของแก่นตะวันมาบริโภคเป็นอาหาร แม้ว่าพืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอากาศหนาวเย็นก็ตาม แต่มีความสามารถปรับตัวได้ดีในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ความเป็นมาของชื่อแก่นตะวันได้มาจาก คำว่า แก่น หมายถึง ความทรหดอดทน ตะวัน นำมาจาก ทานตะวัน เนื่องจากอยู่ในสกุลเดียวกัน แก่นตะวันเป็นพืชล้มลุก มีรากสะสมอาหารคล้ายหัวข่าหรือขิง ลักษณะตะปุ่มตะป่ำ ผิวไม่เรียบ ยาวประมาณ 7.50-10.00 เซนติเมตร เนื้อในของหัวมีทั้งสีขาวและเหลือง ลำต้นสูง 1.5-3.0 เมตร มีกิ่งก้านเรียวเล็ก มีขนที่ลำต้นและใบ ใบเรียวยาวรูปไข่ ขอบใบหยักแบบฟันปลา ผิวใบมีขนขึ้นปกคลุมเมื่อสัมผัส จะรู้สึกสากมือ แก่นตะวันนำเข้ามาปลูกครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2515 ข้อดีของแก่นตะวันอีกประการหนึ่งคือ เป็นพืชอายุสั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 90-120 วัน ผลการทดสอบเบื้องต้นที่จังหวัดขอนแก่น ในหนึ่งไร่ให้น้ำหนักหัวสด 2,500-2,800 กิโลกรัม น้ำหนักหัวหนึ่งตันนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงในรูปเอทานอลได้ 80-100 ลิตร องค์ประกอบในหัวหรือรากสะสมอาหาร มีน้ำ 80 เปอร์เซ็นต์ แป้ง-น้ำตาล 13-18 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือนั้นมีไขมัน โปรตีนและเส้นใย แป้ง-น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต ส่วนใหญ่เป็นรูปของอินนูลินที่สามารถนำไปผลิตไขมันเทียม เนยแข็งและไอศครีม และที่สำคัญ อินนูลินเป็นสารที่ให้ความหวานใกล้เคียงกับน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงานจึงเหมาะกับผู้ที่เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ทั้งนี้เนื้อหัวสดของแก่นตะวันใช้รับประทานได้ รสชาติคล้ายคลึงกับมันแกวแต่เนื้อกรอบ และหวานกว่า ประเทศที่นำแก่นตะวันมาผลิตเอทานอลอย่างจริงจัง ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และสเปน จากการวิจัยในทางวิชาการได้เปรียบเทียบต้นทุนการผลิตเอทานอลจากอ้อย มันสำปะหลัง และแก่นตะวัน 16.42 15.44 และ 14.40 บาท ต่อไร่ ตามลำดับ จะเห็นว่า ต้นทุนการผลิตเอทานอลจากแก่นตะวันมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด เห็นไหมครับว่าแก่นตะวัน หรือเยรูซาเล็ม อาร์ติโชค นอกจากมีศักยภาพในการนำมาใช้เป็นพืชพลังงานทดแทนแล้ว ยังสามารถพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพได้อีกด้วย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อสอบถามได้ที่ ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
สามเงา
อำเภอ / เขต :
สามเงา
จังหวัด :
ตาก
รหัสไปรษณีย์ :
63130
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 399
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM