เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
โรคยางไหลและยางตกในผลของมังคุด
   
ปัญหา :
 
 
ปลูกมังคุดไว้ในสวนหลายต้น แทรกกับต้นไม้อื่นๆ เมื่อให้ผลพบว่า เกิดอาการยางไหลสีเหลืองออกจากผิวของผลมังคุด และบางส่วนยางสีเหลืองตกภายในผล ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไรและผมจะแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
โรคยางไหลของผลมังคุด เกิดขึ้นได้ทั้งระยะผลอ่อนและผลแก่ โรคยางไหลที่เกิดขึ้นในระยะผลอ่อน สาเหตุเนื่องจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 1.0-2.0 มิลลิเมตร เพลี้ยไฟจะเลือกดูดน้ำเลี้ยงของผลอ่อน และหลบซ่อนอยู่หลืบฐานรองดอก ทำให้ยางสีเหลืองไหลออกจากรอยแผล มีลักษณะเป็นเม็ดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผลที่ถูกทำลายรุนแรงจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หากผลไม่ร่วงหล่นลงเสียก่อน เมื่อพัฒนาต่อไปเป็นผลแก่ผลจะมีขนาดเล็กและผิวกร้านขายไม่ได้ราคา ส่วน อาการยางไหลในระยะผลแก่ เกิดขึ้นกับผลมังคุดใกล้สุกแก่ มักแสดงอาการรุนแรงเมื่อมีฝนตกชุก รากของต้นมังคุดจะดูดน้ำขึ้นมาเลี้ยงผลปริมาณมาก ผิวของผลจะเปราะบางกว่าการได้รับน้ำในปริมาณปกติ เมื่อเกิดลมพัดกันโชกแรง ผลของมังคุดจะเสียดสีกันเอง หรือเสียดสีกับกิ่งหรือใบ ทำให้เปลือกเกิดรอยแผล น้ำยางไหลซึมออกมา ต่อมาน้ำยางแห้งแข็งเป็นเม็ดสีเหลืองติดอยู่ที่ผิวเปลือกของผลนำไปจำหน่ายไม่ได้ราคาเช่นเดียวกัน วิธีป้องกันกำจัดในระยะผลอ่อน เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ให้หมั่นสังเกตการระบาดของแมลงชนิดนี้อยู่เสมอ โดยเฉพาะในระยะมังคุดเริ่มออกดอก ใช้กระดาษสีขาวชุบน้ำให้เปียกรองใต้ดอกหรือผลอ่อน แล้วเคาะเบาๆ หากพบแมลงนับได้เกิน 5 ตัว ต่อดอกหรือผล แนะนำให้ฉีดพ่นด้วยอิมิดาโคลพริด 10 เปอร์เซ็นต์ เอสแอล อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือคาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ อี.ซี. อัตรา 50 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งทรงพุ่ม 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ การระบาดของเพลี้ยไฟจะหมดไป ส่วนในระยะผลแก่ ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ และบำรุงต้นมังคุดให้สมบูรณ์ ตัดแต่งทรงพุ่มให้ลมพัดผ่านได้ นอกจากนี้ ควรทำร่องระบายน้ำออกจากโคนต้นมังคุด เพื่อป้องกันน้ำขังแฉะขณะมีฝนตก หากปฏิบัติได้ตามคำแนะนำ อาการยางไหลในผลแก่จะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด อาการยางตกในผลมังคุด เกิดขึ้นได้ 2 กรณี กรณีแรกเนื่องจากการเก็บเกี่ยวไม่ดี ผลมังคุดร่วงลงพื้น หรือการใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม หรือได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงขณะขนส่ง ทำให้ท่อน้ำยางภายในผลฉีกขาด น้ำยางจึงไหลแทรกเข้าระหว่างพูของผลมังคุด รสชาติของมังคุดจะเปลี่ยนไป ส่งผลต่อคุณภาพของมังคุดให้ต่ำลง กรณีที่ 2 อาจเกิดจากการได้รับน้ำ เมื่อฝนตกมากเกินไป โดยไม่ได้เตรียมต้นมังคุดให้พร้อมไว้ก่อน ต้นมังคุดจะดูดน้ำและส่งไปยังผลมากเกินความต้องการทำให้ท่อน้ำยางภายในผลแตกและปรากฏน้ำยางให้เห็นในผลเมื่อผ่ารับประทาน วิธีป้องกัน ให้ใช้เครื่องมือเก็บเกี่ยวที่ดีและขณะขนส่งระวังอย่าให้ผลมังคุดบอบช้ำ ส่วนเกิดจากการได้รับน้ำมากเกินไปนั้น ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับอาการยางไหลของผลมังคุดระยะใกล้สุกแก่ หากคุณสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น อาการของยางตกในผลมังคุดจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ยางแดง
ตำบล / แขวง :
นาประดู่
อำเภอ / เขต :
โคกโพธิ์
จังหวัด :
ปัตตานี
รหัสไปรษณีย์ :
94180
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 399
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM