เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กีวีฟรุต ต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกกันอยู่คนละต้น
   
ปัญหา :
 
 
สนใจเรื่องกีวีฟรุต จะปลูกอย่างไรให้ได้ผลดี มีบางท่านบอกว่า ต้นกีวีฟรุตนั้นต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกกันคนละต้นจริงหรือไม่ประการใด ผมมีสวนอยู่ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จะปลูกได้หรือไม่ ขอคำอธิบายด้วย ขอขอบคุณยิ่ง
วิธีแก้ไข :
 
ผมเคยเขียนเรื่องกีวีฟรุตมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ท่านคงทราบแล้วว่า กีวีฟรุตมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน แต่นิวซีแลนด์เป็นผู้นำไปพัฒนา และเรียกชื่อว่ากีวีฟรุต ตามสัญลักษณ์ประจำชาติของนิวซีแลนด์ไปเลย สถานีเกษตรหลวงดอยอ่างขาง มูลนิธิโครงการหลวง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำกีวีฟรุตเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เป็นต้นมา กีวีฟรุตเป็นไม้ผลขนาดเล็ก ประเภทเถาเลื้อย มีอายุหลายปีและผลัดใบ กิ่งและใบมีขนอ่อนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุมทั่วไป ใบมีรูปทรงคล้ายใบต้นชงโค เรียงสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ดอกเป็นชนิดไม่สมบูรณ์เพศ โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกอยู่กันคนละต้น กลีบดอกสีขาวมี 5 กลีบ ดอกตัวเมียมีเกสรสีเหลือง หรือสีชมพูก็มี ยอดละอองเกสรตัวเมียมี 2 อัน ส่วนดอกตัวผู้มีอับละอองเกสรอยู่ 6 อัน ก้านละอองเกสรตัวผู้ยาวกว่าก้านละอองเกสรตัวเมีย ผลมีลักษณะคล้ายรูปไข่ไก่แต่แบนด้านข้าง ผลจะออกตามกิ่ง เนื้อผลสีเขียวอ่อนสดใสสวยงาม เมื่อตัดขวางมีแกนกลางสีขาวอมเหลือง และมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำแผ่จากแกนกลางออกไปในเนื้อผล คล้ายการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ในหนึ่งผลมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1,500 เมล็ด พันธุ์ที่นิยมปลูกอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ คือ พันธุ์เฮย์วูด และ พันธุ์บรัมพ์ ส่วนในประเทศไทยนำมาปลูกหลายพันธุ์คือ พันธุ์ตัวเมีย ได้แก่ แอบบอตต์ มอนที บรูโน และเฮย์วูด ส่วนต้นตัวผู้ เช่น มาตัว แมกคลีน และโตมูริ การปลูกกีวีฟรุตที่สถานีวิจัยเกษตรดอยอ่างขาง พื้นที่ปลูกต้องมีอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยไม่สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส หน้าดินลึกอย่างน้อย 60 เซนติเมตร มีความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5-7.0 การขยายพันธุ์ทำได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง และปักชำ อย่างไรก็ตาม วิธีทาบกิ่งให้ผลดีที่สุด โดยการนำต้นกล้าอายุอย่างน้อย 1-2 ปี ไปทาบกิ่งพันธุ์ดี บางกรณีอาจทาบกิ่งให้ได้ต้นตัวผู้และต้นตัวเมียอยู่บนต้นตอเดียวกัน แต่การติดผลยังอยู่ในอัตราต่ำกว่าปลูก ต้นตัวผู้แทรกในแถวต้นตัวเมีย ในอัตรา 1:4 ถึง 1:9 ใช้ระยะปลูกที่เหมาะสม 4.5x6.0 หรือ 4.5x6.0 เมตร เนื่องจากกีวีฟรุตเป็นพืชเถาเลื้อย จำเป็นต้องทำค้างให้เลื้อย ลักษณะเดียวกับค้างองุ่น ค้างที่ได้ผลดีและทำง่ายคือ ค้างแบบตัวทียกระดับ สูงจากระดับพื้นปลูก 1.8 เมตร ขนาดกว้าง 2-2.5 เมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ เลือกต้นกล้าที่เตรียมไว้ ต้องสมบูรณ์แข็งแรง มีเถาตั้งตรง มีตากิ่งที่สมบูรณ์ 4-5 ตา ของหลุมกว้าง 50x50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดขึ้นจากหลุมกับปุ๋ยคอกเก่าอัตรา 1-2 ปุ้งกี๋ ต่อหลุม รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 200 กรัม ต่อหลุม พร้อมเศษหญ้าแห้ง วางถุงเพาะกล้าลงตอนกลางหลุมฉีกถุงให้ขาดออกระวังอย่าให้รากกระทบกระเทือน เกลี่ยดินกลบ อัดดินพอแน่น ให้เป็นหลังเต่า ป้องกันน้ำขัง รดน้ำพอชุ่ม ใช้เชือกหรือลวดโยงเถากับค้างให้เถาตั้งตรง เมื่อปลายเถาเจริญเติบโตสูงเกินค้าง ให้ตัดส่วนปลายออกให้อยู่ระดับเดียวกับค้าง การตัดควรตัดในระยะพักตัวหรือช่วงที่มีอากาศเย็นจัด เมื่ออากาศอบอุ่นขึ้นหรือย่างเข้าปีที่สอง จะแตกกิ่งมาใหม่ เลือกกิ่งที่แข็งแรงไว้ 2 กิ่ง ให้เป็นกิ่งหลัก วางพาดลงบนค้าง ย่างเข้าปีที่สาม ปล่อยให้แตกกิ่งออกอีก 2-3 กิ่ง ตัดส่วนเกินออก จัดระเบียบกิ่งให้แผ่ขยายออกอย่างเป็นระเบียบ ผูกโยงกิ่งกับค้าง การใส่ปุ๋ยให้ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 150 กรัม ต่อต้น ต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง และให้เพิ่มขึ้นเป็น 200-300 กรัม ต่อต้น ในปีที่สาม ระยะนี้กีวีฟรุตเริ่มออกดอกติดผล บนดอยอ่างขางเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนธันวาคม หรือหลังดอกบานแล้ว ประมาณ 3 เดือน ส่วนโรคระบาดสำคัญคือ โรครากเน่า เกิดจากเชื้อแบคทีเรียป้องกันได้โดยปรับปรุงดินให้ร่วนซุย จัดการระบายน้ำออกจากหลุมปลูกให้ดี หว่านปูนขาวอัตรา 1 กระป๋องนม ที่บริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง พร้อมรดน้ำตาม ปฏิบัติได้ตามคำแนะนำ การระบาดของโรครากเน่าจะไม่เกิดขึ้นแต่อย่างใด ส่วนแมลงศัตรูกีวีฟรุต อาจพบบ้างบางครั้งคือ หนอนผีเสื้อ เมื่อพบการระบาดให้จับตัวหนอนทำลายทิ้ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีแต่อย่างใด

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
ปากเกร็ด
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11120
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 400
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM