เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สรุปสัมมนาวิชาการปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืช ครั้งที่ 19
   
ปัญหา :
 
 
เรื่อง พืชกับวิกฤติพลังงาน
วิธีแก้ไข :
 
สมาคมปรับปรุงพันธุ์และขยายพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาวิชาการ ครั้งที่ 19 เรื่อง พืชกับวิกฤตพลังงาน ขึ้น ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ ด้วยสมาคมตระหนักถึงการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศปีละประมาณ 6 แสนล้านบาท จึงได้ระดมสมองนักวิจัยทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อหาทางพัฒนาพืชที่ใช้ผลิตพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล ซึ่งหมายถึงนำผลิตภัณฑ์น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันสบู่ดำ ผสมกับน้ำมันดีเซล หรือก๊าซโซฮอล์ ที่ได้จากการนำพืชไปหมักและกลั่นเป็นแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำมันเบนซินตามอัตราที่เหมาะสม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดีเซลและเบนซินลงในระดับหนึ่ง ซึ่งจะลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศเป็นเงินจำนวนมหาศาลในแต่ละปี ผลการสัมมนามีรายละเอียดดังนี้

คุณรังสรรค์ สโรชวิกสิต กระทรวงพลังงาน ในปี พ.ศ. 2550 ประเทศไทยตั้งเป้าการผลิตก๊าซโซฮอล์ไว้ 8 ล้านลิตร และคาดว่าสิ้นปี พ.ศ. 2550 จะมีโรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์เกิดจากกระบวนการหมัก เมื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินจะได้ก๊าซโซฮอล์เพิ่มขึ้นเป็น 35 ราย และจะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างแน่นอน

ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มันสำปะหลังเป็นพืชหัวที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นเอทานอลได้ดีอีกพืชหนึ่ง จากสถิติการปลูกมันสำปะหลัง ปี 2547 มีพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 21.4 ล้านตัน และปี 2549 ได้นำหัวมันสำปะหลังมาแปรรูปเป็นเอทานอลในปริมาณ 1.3 ล้านลิตร ต่อวัน จากโรงงานแปรรูป 24 แห่งทั่วประเทศ ประโยชน์ในการปลูกมันสำปะหลังเพื่อการแปรรูปเป็นเอทานอล คือเป็นการลดการไหลออกของเงินตราออกนอกประเทศ ทำให้ราคาผลผลิตมีเสถียรภาพมั่นคง เนื่องจากนำหัวมันไปใช้ประโยชน์ในปริมาณแน่นอน สร้างงานให้กับเกษตรกรภายในประเทศ สิ่งสำคัญเอทานอลที่นำไปผลิตก๊าซโซฮอล์จะช่วยลดมลภาวะลง เนื่องจากการเผาไหม้มีประสิทธิภาพสูง และดร.เจริญศักดิ์ สรุปว่า ไร่มันสำปะหลังเปรียบประดุจบ่อน้ำมันที่ไม่มีวันหมดไปจากโลก ตราบใดที่ยังมีแสงแดดและมีฝนตก

ดร.เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล บริษัท ซีนเจนต้า จุดเด่นของ ชูก้า บีท โดยเฉพาะพันธุ์

ที่ปลูกได้ในเขตร้อนเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำตาลสูงถึง 14-20 เปอร์เซ็นต์ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 5-6 เดือน และต้องการปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าพืชอื่นๆ อีกหลายชนิด นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติช่วยในการปรับปรุงคุณภาพดินให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ชูก้า บีท ยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีทั้งในดินกรดและดินด่าง ชูก้า บีท จึงเป็นพืชน่าจับตามองอีกพืชหนึ่ง

ดร.ประสิทธิ์ ใจศีล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้าวฟ่างหวาน เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาผลิตเอทานอลได้ดี จากผลงานวิจัยพบว่า ข้าวฟ่างหวานที่ปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถผลิตเอทานอลได้ 977 ลิตร ต่อปี ซึ่งนับว่าให้ปริมาณเอทานอลสูงมาก จุดเด่นอีกประการหนึ่งของข้าวฟ่างหวานคือ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 30-35 วัน หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว และเป็นพื้นที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีอีกชนิดหนึ่ง

คุณเอนก ลิ่มศรีวิไล ภาคธุรกิจเอกชน ปาล์มน้ำมันนอกจากใช้บริโภคแล้ว ยังทำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันหล่อลื่น เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ และที่สำคัญคือ ใช้ผลิตไบโอดีเซล ปาล์มน้ำมันจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดีในภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งในแต่ละปีผลิตน้ำมันปาล์มได้ประมาณ 9 แสนลิตร จากพื้นที่เพาะปลูก 2 ล้านไร่ จุดเด่นของปาล์มน้ำมันคือ ให้ผลผลิตได้ตลอดปี หากมีการบำรุงรักษาอย่างดีจะให้ผลผลิต 5 ตัน ต่อไร่ ต่อปี และให้น้ำมันมากกว่า 22 เปอร์เซ็นต์

อาจารย์สนั่น จอกลอย มหาวิทยาลัยขอนแก่น แก่นตะวัน หรือเยรูซาเล็ม อาร์ติโชค เป็นพืชอยู่ในสกุลเดียวกับทานตะวัน แม้จะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน หัวมีลักษณะคล้ายกับขิงและข่า แก่นตะวันให้ผลผลิต 1.2-3.2 ตัน ต่อไร่ น้ำหนักหัว 1 ตัน แปรรูปให้เป็นเอทานอลได้ 80-100 ลิตร แก่นตะวันจึงเป็นพืชที่ควรนำมาวิจัย เพื่อผลิตก๊าซโซฮอล์อีกชนิดหนึ่ง

ดร.พิพัฒน์ วีระถาวร บริษัท มิตรผลวิจัยอ้อยและน้ำตาล จำกัด อ้อยเป็นพืชที่ให้ผลผลิตประมาณ 10 ตัน ต่อไร่ ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 6 ล้านไร่ ใน 1 ไร่ แปรรูปเป็นเอทานอล 500-600 ลิตร ต่อไร่ ดังนั้น จะเห็นว่าอ้อยมีศักยภาพสูงในการผลิตเอทานอลเพื่อผสมกับน้ำมันเบนซินให้เป็นก๊าซโซฮอล์

ดร.ชำนาญ ฉัตรแก้ว สมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สบู่ดำเป็นพืช ปัจจุบันได้รวบรวมพันธุ์สบู่ดำไว้เพื่อการวิจัยผลผลิตและปริมาณน้ำมัน รวม 132 สายพันธุ์ คาดว่าอีกไม่นานจะสามารถรับรองพันธุ์ได้

ดังนั้น จะเห็นว่ามีพืชหลายชนิดที่มีศักยภาพที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตไบโอดีเซล หรือก๊าซโซฮอล์ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญต้องพิจารณาว่าพืชชนิดใดมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด และนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด ข้อมูลดังกล่าวยังขาดอยู่และจำเป็นต้องวิจัยเพิ่มเติม เพื่อเป็นบทสรุปต่อไป

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 401
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM