เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะม่วงนอกฤดู
   
ปัญหา :
 
 
วิธีแก้ไข :
 
ทำไมต้องโชคอนันต์

คุณวิกรมเล่าว่า ตนเองปลูกมะม่วงมานาน เริ่มที่ชลบุรี จากนั้นมาที่รังสิต แต่ละที่ พื้นที่ปลูกราว 100 ไร่ พื้นที่ขนาด 100 ไร่ น้อยไป เขาจึงหาที่ปลูกใหม่ แล้วก็มาพบที่หุบผึ้ง ซึ่งที่กว้างขวาง อากาศดี

หุบผึ้งนั้น มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เมื่อขึ้นไปจุดสูงๆ มองลงมา เห็นที่ราบเป็นหุบ เมื่อก่อนหุบนี้มีผึ้งชุกชุมมาก ปัจจุบันก็ยังมีอยู่พอสมควร เนื่องจากเจ้าของไร่ใช้สารกำจัดแมลงน้อย ผึ้งมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องการช่วยผสมเกสร

ช่วงที่ปลูกมะม่วงอยู่ชลบุรีและรังสิต คุณวิกรมปลูกสายพันธุ์ทั่วๆ ไป อย่างเช่น น้ำดอกไม้ เขียวเสวย ฟ้าลั่น แต่เมื่อได้พบเห็นมะม่วงโชคอนันต์ เขาประทับใจเรื่องการออกนอกฤดูได้เองตามธรรมชาติ ยิ่งหากใช้สารช่วย ยิ่งทำได้ไม่ยาก

มะม่วงโชคอนันต์นั้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางเหนือ มีเลือดมะม่วงป่าสูง ออกดอกติดผลได้ดีในช่วงฝน ราคากิ่งพันธุ์ในยุคเริ่มต้น อย่างช่วงปี 2527-2528 ราคากิ่งละ 1,000 บาท และต้องซื้อกันเป็น 1,000 กิ่ง ขึ้นไป ต่อมาราคาลดลงตามลำดับ

เมื่อตัดสินใจปลูก คุณวิกรมปลูกมะม่วงแก้วลงในแปลงเพื่อเป็นต้นตอ ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 4x4 เมตร เมื่อต้นตอโตพอสมควร จึงเสียบยอดโชคอนันต์เข้าไป เขาทำอย่างนี้ทั้งไร่ ข้อดีของการใช้ตอปลูกนั้น มะม่วงหากินเก่ง ส่งผลให้ผลผลิตมะม่วงดก ผลใหญ่ รสชาติดี ต้นอยู่ได้นาน นี่อายุของต้นที่มากสุด 20 ปีแล้ว คุณวิกรมบอกว่า จะอยู่ได้อีกอย่างน้อย 15-20 ปี



ดูแลอย่างไร

คุณพนมไพร ศรีสุวรรณ ผู้จัดการฝ่ายไร่ พูดถึงการดูแลมะม่วงว่า จริงๆ แล้วมะม่วงโชคอนันต์ออกดอกติดผลทั้งปีอยู่แล้ว ต้นนั้นบ้าง ต้นนี้บ้าง แต่ให้ง่ายต่อการจัดการรวมทั้งระบบตลาด จึงจำเป็นต้องราดสารให้ พื้นที่ 4,000 ไร่ เขาจะแบ่งราดสารแปลงละ 500 ไร่ ต้นทุนการราดสาร ตกต้นละประมาณ 3 บาท การราดสารนั้น หลังราด 45 วัน ก็ดึงดอก เมื่อดอกออกมานับไปอีก 110 วัน ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

งานดูแลมะม่วงนั้น คุณพนมไพรบอกว่า สิ่งสำคัญคือ การตัดแต่งกิ่ง โดยตัด 2 ปี ต่อครั้ง ในทรงพุ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ จะตัดออก 70 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ทรงที่ตัดที่ฮิตมากคือ ทรงลานบิน เน้นความโปร่งที่เรือนยอด แสงอัลตราไวโอเลตส่องถึงลำต้น กิ่งก้าน จะมีผลต่อการออกดอก

ส่วนเรื่องปุ๋ย เมื่อตัดแต่งกิ่ง ใส่สูตร 25-7-7 ให้กับมะม่วง เมื่อมีผลขนาดเล็ก ใส่สูตร 15-15-15 ก่อนเก็บผลผลิต เพิ่มความสมบูรณ์ของผล ใส่สูตร 13-13-21 การใส่ปุ๋ยทั้ง 3 ครั้ง รวมแล้วต่อต้น อยู่ที่ 1-2 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์และการติดผล อย่างช่วงที่ผลผลิตกำลังพัฒนา ผลผลิตเต็มต้น สูตร 13-13-21 อาจจะมากหน่อย

เรื่องน้ำ คุณพนมไพรบอกว่า ช่วงหน้าแล้งมีความจำเป็นต้องให้ทางไร่วางท่อหลักไว้แล้วต่อสายยางลากรด ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

แมลงกับมะม่วง ไม่มีปัญหานัก แต่สำหรับโรคแล้วช่วงมรสุม ผู้จัดการฝ่ายไร่บอกว่า ความชื้นสูง มีความจำเป็นต้องพ่นสารเคมีให้

สังเกตว่า ทุกพื้นที่ของไร่มีหญ้าขึ้นคลุมอยู่ทั่วไป ทางไร่บอกว่า ไม่มีการใช้สารกำจัดวัชพืช ทางกำจัดที่ดีนั้น ใช้เครื่องตัด ต้นหญ้าที่ถูกตัดจะเป็นปุ๋ยบำรุงดิน ส่วนหญ้าที่เป็นต้นเหลืออยู่ ช่วยรักษาความชื้นได้อย่างดี รวมทั้งป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน



ตลาดมะม่วง

ขายทั่วไป

คุณพนมไพรบอกว่า โดยเฉลี่ยมะม่วงให้ผลผลิต 60 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี ในปีหนึ่งๆ เก็บผลผลิตขายได้ 6,000 ตัน เรื่องความเสียหายของผลผลิตมีไม่น้อยเช่นกัน บางปีอาจจะมากกว่า 100 ตัน

ผลผลิตมะม่วงที่ขายได้ราคาดีนั้น คุณพนมไพรบอกว่า อยู่ช่วงเดือนกันยายน-มกราคม เคยขายได้ 15 บาท ต่อกิโลกรัม ช่วงที่ต่ำสุดอยู่ช่วงเดือนเมษายน ราคาอยู่ที่ 4-5 บาท

"มะม่วงมีขายทุกเดือน 100-500 ตัน ต่อเดือน ผลผลิตจะออกมากช่วงเดือนเมษายน" คุณวิกรม บอก

มะม่วงที่เก็บขายนั้น คุณพนมไพรบอกว่า เก็บขาย 2 แบบด้วยกัน คือมะม่วงดิบ สำหรับนำไปยำ และนำไปกินเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน อีกแบบเป็นมะม่วงแก่จัด ที่เป็นมะม่วงกินสุก

เนื่องจากผลผลิตมะม่วงมีมาก ทางไร่จึงขายคละกันไป ผู้ที่มาซื้อนั้นมีมาจากทั่วไปส่วนหนึ่ง แต่ก็มีบางส่วนที่ซื้อปริมาณแน่นอน ซึ่งทางไร่วางแผนการผลิตได้ คือบริษัทเอกชนซื้อมะม่วงแก่ไปบ่มให้สุก เพื่อแปรรูปเป็นมะม่วงอบแห้ง

"คนทั่วไปมาซื้อ เขาไม่ได้มาทุกวัน ขายหมดเขากลับมาซื้อ เราวางแผนไม่ได้ แต่โรงงานอบแห้งมาซื้อมีระยะเวลาแน่นอน เราวางแผนได้ เราพยายามประหยัดต้นทุน หากวางแผนให้ออกสม่ำเสมอเดือนละ 400-500 ตัน จะดีมาก มะม่วงเราจุดเด่นที่ต้นสมบูรณ์ คุณภาพผลผลิตจึงดี" คุณพนมไพร บอก

นอกจากพื้นที่การผลิตที่หุบผึ้งแล้ว คุณวิกรมบอกว่า ตนเองได้ไปลงทุนปลูกมะม่วงที่อินโดนีเซีย พื้นที่ 2,000 ไร่ เก็บผลผลิตได้แล้ว ราคาจำหน่ายมะม่วงที่อินโดนีเซีย เปรียบเทียบแล้ว ขายได้ดีกว่าประเทศไทย

ผู้สนใจมะม่วงที่ไร่หุบผึ้ง ถามไถ่กันได้ที่ฝ่ายไร่ โทร. (081) 736-0312 คุณวิกรม สุขวณิช (081) 826-4919 และ คุณนงนุช สุขวณิช โทร. (089) 130-9858
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 402
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM