เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
นางพญาเสือโคร่ง ต้องการอากาศหนาวเย็น
   
ปัญหา :
 
 
เดินทางไปพักผ่อนในช่วงฤดูหนาวที่ภาคเหนือ มีโอกาสได้เห็นต้นนางพญาเสือโคร่งบนดอยแห่งหนึ่งสวยมาก อยากทราบว่าไม้ชนิดนี้นำมาปลูกในพื้นที่ราบได้หรือไม่ และช่วยอธิบายเกี่ยวกับนางพญาเสือโคร่งว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ขอขอบคุณมาในโอกาสนี้
วิธีแก้ไข :
 
นางพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระไทย ในธรรมชาติพบการกระจายพันธุ์อยู่ในภาคใต้ของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วไปบนดอยสูง เหนือระดับน้ำทะเล 1,000-2,000 เมตร ขึ้นไป เพราะเหตุใดจึงเรียกไม้ชนิดนี้ว่า นางพญาเสือโคร่ง ผมได้สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับพืชชนิดดังกล่าว และได้รับคำอธิบายว่า นางพญา หมายถึง เพศหญิงที่สง่างาม มีทั้งอิทธิพลและพลังอยู่ในตัว เช่น นางพญาผึ้ง ส่วนคำว่า เสือโคร่ง มาจากลักษณะของเปลือก ลำต้น และกิ่ง แตกลายคล้ายลายเสือโคร่ง จึงได้รับสมญานามว่า นางพญาเสือโคร่ง บางท้องถิ่นยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น ซากุระดอย แส่ลา และเส่คาเว่ นางพญาเสือโคร่งเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก สูงประมาณ 10-15 เมตร ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปร่างรี ออกสลับกัน กว้าง 3-5 เซนติเมตร และยาว 5-12 เซนติเมตร ขอบใบหยัก และร่วงง่าย ดอกสีขาว หรือชมพูอ่อน ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ก้านดอกยาว 0.7-2 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ขณะดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ฤดูกาลของการออกดอกอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อผสมเกสรแล้วรังไข่จะพัฒนาเป็นผลต่อไป ผลสุกมีสีแดง ลักษณะกลมคล้ายรูปไข่ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร การขยายพันธุ์ที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบันคือ วิธีเพาะเมล็ด หากต้องการไปสัมผัสความสวยงามมีเสน่ห์ของนางพญาเสือโคร่งแนะนำให้ไปเยี่ยมชมที่ มูลนิธิโครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 หรือศูนย์วิจัยเกษตรหลวง เชียงใหม่ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 50230 หรือศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิต เชียงราย (วาวี) ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180 แต่ทั้งนี้ต้องคอยไปจนถึงฤดูหนาวที่จะมาเยือน ยังมีเวลาเตรียมตัวอีกหลายเดือน ผมมักได้รับคำถามอยู่เสมอว่า ซากุระไทย กับซากุระญี่ปุ่นนั้นเป็นต้นเดียวกัน หรือชนิดเดียวกันหรือไม่อย่างไร ผมขอเรียนว่าซากุระทั้งสองชนิดจัดอยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกัน คือ โรซาซีอี และพรูนัส แต่จะแตกต่างกันที่ชนิดหรือสปีชีส์ คือซากุระญี่ปุ่นจัดอยู่ในสปีชีส์จามาซากุระ ส่วนนางพญาเสือโคร่งจัดอยู่ในสปีชีส์เซอราซอยเดส และคำถามยอดฮิตอีกหนึ่งคำถามมักถามว่า จะนำนางพญาเสือโคร่งมาปลูกในที่ราบจะได้ผลหรือไม่ ทั้งนี้ เคยมีนักวิชาการนำลงมาปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 700 เมตร จะให้ดอกจำนวนน้อย ไม่บานสะพรั่งเหมือนกับในที่สูงเกิน 1,000 เมตร ขึ้นไป ดังนั้น มีทางเลือกทางเดียวที่จะต้องไปสัมผัสอากาศหนาวเย็นชมดอกนางพญาเสือโคร่งตามแหล่งที่พบ แนะนำไว้แล้วข้างต้น
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
15
ตำบล / แขวง :
พรหมพิราม
อำเภอ / เขต :
พรหมพิราม
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
65150
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 405
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM