เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การพัฒนาพันธุ์พลับของไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ
   
ปัญหา :
 
 
เคยเห็นพลับมีสีเหลืองส้มวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป เมื่อซื้อมารับประทานรู้สึกรสชาติดี หวานและกรอบ หลังจากกลับมาถึงบ้าน เราทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า บ้านเรามีการวิจัยผลไม้ชนิดนี้อยู่หรือไม่ หากมีจะสามารถผลิตเพื่อบริโภคภายในบ้านเราจะได้หรือไม่ หากปลูกได้จะมีวิธีปลูกและดูแลรักษาอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
พลับ เป็นผลไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน หรือสาธารณรัฐประชาชนจีน และชาวจีนรู้จักเพาะปลูกพลับมานานกว่าพันปีมาแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการนำไปปลูกในเกาหลีและญี่ปุ่น ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2343 มีผู้นำเข้าไปปลูกที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีงานวิจัย การปรับปรุงพันธุ์และวิธีการเขตกรรมพลับมานานกว่า 15 ปี โดยมูลนิธิโครงการหลวง และโครงการเกษตรหลวง จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร แต่เนื่องจากประเทศไทยอากาศหนาวไม่พอ ทั้งนี้ลักษณะนิสัยของพลับที่ให้ผลมีคุณภาพสูงนั้น ต้องผ่านอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียสเป็นเวลาประมาณ 100 ชั่วโมง ดังนั้น การผลิตพลับในบ้านเราจึงยังมีคุณภาพด้อยกว่าจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม คุณวรวิทย์อย่าพึ่งน้อยใจนะครับ เพราะอย่างไรเสีย นักวิชาการของไทยก็ได้พยายามกันอย่างเต็มความสามารถกันแล้ว เพียงแต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยเท่านั้นเอง ขอย้อนกลับมาคุยเรื่องพลับต่อเลยครับ พลับเป็นพืชเมืองหนาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีลำต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 6-8 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีน้ำตาล หยาบ กร้าน และขรุขระ ใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ สีเขียวและมัน ดอกมีสีเหลืองอ่อนรูประฆัง ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละดอก ส่วนดอกกะเทยนั้นพบได้ยาก ลักษณะผลมีหลายรูปทรง มีทั้งกลม กลมแบน และยาวคล้ายรูปกรวย ผลอ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นเหลืองหรือเหลืองส้ม เมื่อผลสุก พลับทั่วไปแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเป็น พลับหวาน พลับกลุ่มนี้เมื่อเก็บผลสุกจากต้นใช้รับประทานได้ทันที ไม่จำเป็นต้องนำไปบ่ม ได้รสหวานกรอบ ได้แก่ พันธุ์ฟูยู ไลโอปอเซียน ไรโร และซารูก้า กลุ่มที่สอง พลับฝาด หลังเก็บผลแก่จำเป็นต้องนำไปบ่ม เนื่องจากมีรสฝาด ผลสุกแก่เต็มที่มีสีเหลืองอมส้ม หลังกระบวนการบ่มหรืออบ เนื้อผลจะนิ่มและมีรสหวานขึ้น กลุ่มนี้ประกอบด้วยพันธุ์ทานีนาชิ ฮาชิยา และซูรู การขยายพันธุ์พลับ ทำได้ทั้งจากการเพาะเมล็ด ติดตา ทาบกิ่ง และเสียบยอด หรือแม้แต่ต้นอ่อนที่เจริญเติบโตออกมาจากราก การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดมักเกิดการกลายพันธุ์จึงนิยมใช้เป็นเพียงต้นตอในการทาบกิ่งเท่านั้น นำต้นกล้าที่ได้จากวิธีทาบกิ่ง เสียบยอด หรือติดตาชนิดใดชนิดหนึ่งมีอายุอย่างน้อย 8 เดือน ใช้ระยะปลูก 6x6 หรือ 8x8 เมตร ขุดหลุมกว้างและลึก 50 เซนติเมตร คลุกดินที่ขุดจากหลุมด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุมด้วยเศษใบไม้แห้ง อัดพอแน่นปริมาณครึ่งหนึ่งของหลุม เสริมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 1-2 กระป๋องนม เกลี่ยให้ทั่ว เกลี่ยดินผสมกลับลงดิน ปลูกต้นกล้าลงกลางหลุม กลบดินพอแน่น ตบให้เป็นรูปหลังเต่าป้องกันน้ำขังเมื่อมีฝนตกหรือรดน้ำ ผูกหลักไม้ไผ่ข้างหลุมปลูกและผูกให้แน่น ป้องกันลมพัดโยก จากนั้นหมั่นรดน้ำ ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง พลับจะให้ผลเมื่อมีอายุครบ 3 ปี ระยะใกล้ออกดอกให้ใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-21 อัตราครึ่งกิโลกรัม ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว ระวังอย่าให้สัมผัสต้นหรือใบและรดน้ำตามทันที ฤดูเก็บเกี่ยวพลับจะอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี หลังเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่ง นำกิ่งไม่สมบูรณ์ เป็นโรคแมลง และกิ่งกระโดงออกทิ้งหรือเผาทำลาย พร้อมใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 200-500 กรัม ต่อต้น และรดน้ำตาม การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก จะช่วยเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำในดินได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรากพืชให้สามารถนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น โรคและแมลงศัตรูที่พบการเข้าทำลายอยู่เสมอ ได้แก่ โรคราสนิม มักเข้าทำลายในช่วงอากาศแห้งและเย็น ป้องกันกำจัดโดยตัดกิ่งและใบ เผาทำลาย ส่วนแมลงศัตรูสำคัญ คือเพลี้ยไฟ เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก การทำลายโดยอาศัยอยู่ใต้ใบดูดน้ำเลี้ยงกิน ทำให้ใบแห้ง ร่วงหล่น ลดประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของใบลง การระบาดมักเกิดในช่วงอากาศแห้ง อุณหภูมิสูง วิธีสังเกต ใช้มือจุ่มลงในน้ำและลูบบริเวณใต้ใบของต้นพลับ หากมีการระบาดจะมีตัวแมลงขนาดเล็กสีน้ำตาลติดมือมาเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องฉีดพ่นด้วยไพรโทโอฟอส 50 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือคาร์โบซัลแฟน 20 เปอร์เซ็นต์ อีซี อัตราเดียวกัน ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ทั้งบนใบและใต้ใบ 2 ครั้ง เว้น 7-10 วัน และต้องหยุดใช้สารเคมีก่อนการเก็บผลผลิตอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน การระบาดของเพลี้ยไฟจะหมดไป

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
แม่สอด
จังหวัด :
ตาก
รหัสไปรษณีย์ :
63110
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 406
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM