เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การกำจัดหอยเชอรี่ไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
   
ปัญหา :
 
 
มีปัญหาเรื่องหอยเชอรี่บุกทำลายข้าวในนา ซึ่งนับวันจะรุนแรงยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาซื้อสารเคมีจากร้านขายวัสดุเกษตร แต่ผลที่ตามมาเกิดปัญหาคือ ปู ปลา และสัตว์น้ำอื่นๆ ตายจนแทบไม่เหลือ ผมจึงขอเรียนถามว่าจะมีวิธีควบคุมและกำจัดหอยเชอรี่อย่างถูกวิธีนั้นควรทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วย ขอบคุณ
วิธีแก้ไข :
 
หอยเชอรี่ เข้ามาอาละวาดในนาข้าวของบ้านเรา เคยมีการบันทึกไว้อย่างเป็นทางการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยมีผู้เลี้ยงปลาตู้นำพันธุ์มาจากประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ด้วยวัตถุประสงค์ต้องการนำมาเลี้ยงประดับในตู้ปลาและนำกลับไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินความต้องการจึงมีผู้นำไปทิ้งลงในลำคลอง การระบาดรุนแรงมากขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ที่ตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ในเวลาไล่เลี่ยกันพบว่า มีการระบาดเข้ากัดกินข้าวในนาอย่างหนักที่เขตมีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง และในปี 2537 ต่อเนื่องปี 2538 เกิดน้ำท่วมภาคกลางหลายจังหวัดเป็นเวลานาน ทำให้หอยชนิดนี้ระบาดทำลายนาข้าวครอบคลุมพื้นที่รวมถึง 60 จังหวัด ดังนั้น หอยเชอรี่จึงเป็นศัตรูของชาวนาอยู่ในอันดับต้นๆ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

หอยเชอรี่ เป็นหอยน้ำจืดชนิดหนึ่ง บางคนเรียกว่า หอยโข่งอเมริกาใต้ และเป๋าฮื้อน้ำจืด หอยเชอรี่มีรูปร่างคล้ายหอยโข่ง สีเปลือกมีทั้งสีน้ำตาลอ่อน และสีเขียวอมดำ ส่วนของเนื้อหอยมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองเข้ม ขนาดหอยเต็มวัย เมื่ออายุ 3 เดือน จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 2.5 เซนติเมตร เพศเมียหลังผสมพันธุ์แล้วมีนิสัยชอบวางไข่เหนือระดับผิวน้ำ เป็นกลุ่มสีชมพู จำนวนกลุ่มละ 400-3,000 ฟอง ต่อครั้ง ในช่วงฤดูฝนสามารถวางไข่ได้ 10-14 ครั้ง ไข่จะฟักออกเป็นตัว ภายใน 7-12 วัน เมื่อฟักออกจะทิ้งตัวตกลงในน้ำ หากินสาหร่ายสีเขียวเป็นอาหาร ช่วงนี้ลูกหอยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อมีขนาด 1.6 เซนติเมตร จะเริ่มกัดกินต้นกล้าข้าวเป็นอาหาร ที่ระดับใต้ผิวน้ำลงไปประมาณ 1 นิ้ว ทำให้ลำต้นขาดหักล้มลอยอยู่ผิวน้ำ หอยเชอรี่จะเข้ากัดกินทุกส่วนที่เหลือจนหมด คิดเฉลี่ยประมาณที่กินอาหารในแต่ละวันไม่น้อยกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักตัว นอกจากหอยเชอรี่เข้ากัดกินข้าวเป็นอาหารแล้ว ยังกัดกินผักบุ้ง ผักกระเฉด บัว ผักตบชวา และกระจับ เป็นอาหารได้อีกด้วย วิธีป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างถูกต้อง เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หากใช้สารเคมีที่มีพิษรุนแรงเกินความจำเป็น ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น คุณชมพูนุท จรรยาเพศ นักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร แนะว่า ให้ใช้ตาข่ายไนล่อนตาถี่กรองน้ำระหว่างระบายหรือสูบน้ำเข้านา ป้องกันตัวอ่อนหรือไข่หอยเชอรี่ลอยไปกับน้ำและเก็บทำลาย ปักซี่ไม้ไผ่ที่ขอบคันนาห่างกันทุกๆ 5-8 เมตร เพื่อล่อให้หอยมาวางไข่ทิ้งไว้ หมั่นเก็บทำลาย หรือนำไปทำปุ๋ยน้ำหมัก หากพบหอยและไข่หลงเหลือในแปลงนาให้ใช้สวิงตาถี่ช้อนเก็บออกจากแปลง นำไปทำลายทิ้งหรือทำปุ๋ยน้ำหมักและหากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้นิโคลซาไมด์ มีชื่อการค้าว่า ไบลุสไซด์ 70 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 50 กรัม ละลายน้ำ 1-2 ปี๊บ ฉีดพ่นให้ครอบคลุมพื้นที่ 1 ไร่ หรือใช้เมทัลดีไฮด์ ชื่อการค้า แองโกล-สลั้ก 5 เปอร์เซ็นต์ หว่านลงในแปลงนา อัตรา 0.5-1.0 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ หรือใช้กากชาบดละเอียด หว่านในแปลงนา อัตรา 3 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือใช้คอปเปอร์ซัลเฟต อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อไร่ ละลายน้ำฉีดหรือใช้บัวรดน้ำ รดให้ทั่วแปลง คำเตือนในการใช้สารเคมีในการกำจัดหอยเชอรี่ ให้ใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงครั้งเดียวในหนึ่งฤดูปลูก การใช้สารเคมีต้องมีน้ำในนาลึก 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และไม่ควรใช้สารเคมีในวันที่มีฝนตก ประการสำคัญ การกำจัดหอยเชอรี่ห้ามใช้สารเอ็นโดซัลแฟนอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำลายสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง ดังนั้น ขอให้เกษตรกรทุกท่านร่วมมือกันปฏิบัติตามคำแนะนำของนักวิชาการดังกล่าว เพื่อลดปัญหามลพิษในไร่นาให้บรรเทาเบาบางลงหรือหมดไปในที่สุด ขอบคุณที่ท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
หมู่ที่ 12
ตำบล / แขวง :
บางรักน้อย
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
11000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 407
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM