เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แปลงสินทรัพย์เป็นทุนมีหลักการอย่างไร และเกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนของรัฐบาลที่ผ่านมานั้น มีความหมายอย่างไร และต้องนำสินทรัพย์ใดบ้างมาแปลงให้เป็นทุน จากนั้นจะนำเอกสารต่างๆ ไปขอกู้เงินที่ไหน จึงขอคำแนะนำจากคุณหมอเกษตรด้วย และขอขอบคุณมาเป็นอย่างสูง
วิธีแก้ไข :
 
นโยบายการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน กำเนิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ในสมัยของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้สินทรัพย์ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของสถาบันการเงิน ให้สามารถใช้สินทรัพย์ดังกล่าวค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยให้ความหมายของการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนไว้ว่า การบริหารจัดการทรัพย์สินของรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือมีค่าเพิ่มขึ้นทางเศรษฐกิจ ที่เป็นการสร้างโอกาสแก่ประชาชนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน อันก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ภายใต้การบังคับแห่งกฎหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลักในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

ขั้นตอนการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มีดังนี้

1. ผู้ถือครองสินทรัพย์ยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามประเภทของสินทรัพย์

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาอนุมัติเอกสารสิทธิ

3. ผู้ถือครองสินทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติ นำหลักฐาน พร้อมแผนงานหรือโครงการ เสนอต่อสถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติเงินกู้

4. สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติเงินกู้

5. ผู้ถือครองสินทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติเงินกู้ นำไปใช้ตามแผนงานหรือโครงการที่ตั้งไว้ และ

6. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันการเงิน ตรวจสอบการใช้เงินและการชำระหนี้ของผู้กู้ยืม

สินทรัพย์ที่สามารถนำมาแปลงเป็นทุนได้ มี 5 ประเภท ได้แก่ ที่ดินและทรัพย์ที่อยู่กับที่ดิน ตัวอย่างเช่น เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินประเภทต่างๆ ที่มีหน่วยงานรับผิดชอบ คือ ส.ป.ก.4-01 ของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม กสน.3 ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ น.ส.1 ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการและโฉนดที่ดินสลักหลัง กรมที่ดิน สินทรัพย์ข้างต้นติดต่อขอรับสินเชื่อได้จาก ธ.ก.ส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ สัญญาเช่าและสัญญาเช่าซื้อ เช่น สัญญาเช่าที่ หรืออาคาร ของกรมธนารักษ์ การเคหะแห่งชาติ และหนังสืออนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ ของกรมอุทยานแห่งชาติ สินทรัพย์ประเภทนี้ติดต่อขอรับสินเชื่อได้จากธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หนังสืออนุญาตให้ใช้ที่สาธารณะ เช่น หนังสืออนุญาตให้ใช้แผงค้าในตลาดกรุงเทพมหานคร หนังสือรับรองการจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ผ่อนผัน ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหนังสืออนุญาตให้ดำเนินการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง สินทรัพย์ประเภทนี้ติดต่อขอรับสินเชื่อได้จากธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ ธ.ก.ส. ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตร ซึ่งมีกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้รับผิดชอบ สินทรัพย์ประเภทนี้ ติดต่อขอรับสินเชื่อได้จากธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ เครื่องจักร เช่น เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ที่จดทะเบียนไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม สินทรัพย์ประเภทนี้ติดต่อขอรับสินเชื่อได้จากธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) และประเภทอยู่ในระหว่างการพิจารณาคือ การแปลงสวนยางเป็นทุน และการแปลงประมงเป็นทุน คาดว่าจะได้รับการอนุมัติในเร็วๆ นี้ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สำนักงานบริหารการแปลงทรัพย์สินเป็นทุน (องค์กรมหาชน) อาคาร 41 ในทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์/โทรสาร (02) 629-9222 หรือโทร.สายด่วน 1767 อย่างไรก็ตาม การขอกู้เงินมาดำเนินกิจการใดๆ ขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน หากมีความเสี่ยงสูง หมายถึงไม่คุ้มค่ากับการเพิ่มทุน ก็ควรหลีกเลี่ยง การเก็บหอมรอมริบ ดำเนินไปแบบพึ่งพาตนเองจะมีความมั่นคงและยั่งยืน ดูตัวอย่างจากปลวกตัวเล็กๆ มันสามารถทำลายบ้านเรือนได้ทั้งหลังก็ด้วยความขยันหมั่นเพียรและความสามัคคีกลมเกลียวเป็นที่ตั้ง แต่หากจำเป็นต้องก่อหนี้เพื่อต่อยอดหรือเพิ่มพูนกิจการให้เข้มแข็งขึ้นจึงจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของกิจการ หรือตัวเกษตรกรเองในที่สุด
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อุ่มจาน
อำเภอ / เขต :
กุสุมาลย์
จังหวัด :
สกลนคร
รหัสไปรษณีย์ :
10700
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 19 ฉบับที่ 408
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM