เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปุ๋ยอินทรีย์จากฟางข้าวเกษตรกรไม่ควรจะมองข้าม
   
ปัญหา :
 
 

คงจะต้องยอมรับว่าในยุคนี้กระแสรณรงค์ทั่วโลก ที่หันมาให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากที่อุณหภูมิของโลกได้เพิ่มสูงขึ้น ในหลายประเทศได้มีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเทศไทยได้มีการรณรงค์ ที่จะให้เกษตรกรไม่เผาตอซังข้าวและชี้ให้เห็น   ถึงความสำคัญของตอซังข้าว ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ย ลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังไม่ทำลาย สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
 
ดร.กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา กรมการข้าว ได้เล่าให้ฟังว่าประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าว ทั้งฤดูนาปีและนาปรังกว่า 66 ล้านไร่ จากการทำนา 1 ไร่ จะให้ฟางข้าวประมาณ 800 กิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วย   ปริมาณธาตุไนโตรเจน ประมาณ 5 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส ประมาณ 1 กิโลกรัม และโพแทสเซียม ประมาณ 11 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังมีจุลธาตุที่เป็นประโยชน์จากการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกไม่น้อย และจากการประมาณการในแต่ละปีประเทศไทยมีฟางข้าวและตอซังข้าว ไม่น้อยกว่า 50 ล้านตัน
 
“ถ้าหากชาวนาในบ้านเราไม่เผาหรือทำลายฟางข้าว แต่ให้ไถกลบฟางและตอซัง หรือไถพรวนตีหมักลงดิน ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว จะทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงได้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากดูจากตัวเลข ฟางและตอซังข้าวจำนวน 50 ล้านตัน จะเป็นธาตุไนโตรเจนประมาณ 330,000 ตัน ธาตุฟอสฟอรัสประมาณ 47,000 ตัน ธาตุโพแทส เซียมประมาณ 720,000 ตัน กำมะถัน ประมาณ 2,400 ตัน และธาตุอาหารอื่น ๆ ถ้าคิดเป็นตัวเลขประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือประมาณ 105 บาทต่อไร่ ซึ่งจะช่วยให้ชาวนาลดค่าปุ๋ยลงได้ทันที แต่สิ่งสำคัญถ้าหากชาวนาไม่เผาฟาง ตอซัง จะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ไปเร่งให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น และจะช่วยลดอุบัติเหตุจากควันไฟ นอกจากนี้ฟางข้าวที่ไถกลบหรือไถพรวน จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีที่สุดด้วย”
 
ดร.กฤษณพงศ์ เปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า มีวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ช่วยย่อยสลายฟางให้เร็วขึ้น โดยให้ปฏิบัติดังนี้ ช่วงก่อนที่จะเกี่ยวข้าว 7-10 วัน ให้ทำน้ำหมัก พด. 2 ทำง่าย ๆ โดยการใช้กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ผสมกับรำหยาบ 15 กิโลกรัม ใส่ถังหมักพลาสติกความจุ 100 ลิตร แล้วเติมน้ำสะอาดลงในถังหมักพลาสติก ให้ได้ปริมาณ 100 ลิตร จากนั้นใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด. 2 (ขอได้จากสถานีพัฒนาที่ดินทุกแห่ง) ซึ่งบรรจุอยู่ในซอง 1-2 ซอง ลงในถังหมัก ใช้ไม้คนให้เข้ากันดีแล้วปิดฝาถังหมัก หมักทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 7-10 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์น้ำหมักจะใช้การได้โดยสังเกตจากการเปิดฝาถังหมักจะพบว่ามีเส้นใยเชื้อราจำนวนมาก ซึ่งก็พอดีเกี่ยวข้าวเสร็จ หากชาวนารีบเตรียมแปลงก็ให้เอาน้ำหมักที่ใช้การได้แล้วนี้ เทใส่ในนาพร้อมกับการเอาน้ำเข้านาที่เกี่ยวแล้ว ในอัตราการใช้น้ำหมัก 10 ลิตร ต่อไร่ น้ำที่ไหลเข้านาจะกระจายน้ำหมักที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายฟางข้าวได้ดีไปทั่วแปลงนา ให้แช่น้ำหมักฟางและตอซังข้าวในระดับท่วมตอซังข้าว โดยแช่หมักนานประมาณ 10-14 วัน ฟางและตอซังข้าวจะเปื่อย สามารถไถพรวนดินตีหมักฟางข้าวได้อย่างสบาย ๆ ด้วย วิธีการอย่างนี้ชาวนาจะสามารถทำนาได้มากรอบขึ้น และจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ส่วนหนึ่ง และยังส่งผลดีต่อการป้องกันกำจัดข้าววัชพืช ข้าวเรื้อน ข้าวค้างฤดู หรือเมล็ดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย 
 
มาถึงตรงนี้แล้วก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชาวนาคงจะเห็นถึงความสำคัญจากฟางและตอซังข้าวเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีแล้ว สิ่งสำคัญจะเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ถ้าหากเกษตรกรท่านใดสนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยาได้โดยตรง ที่โทรศัพท์  08-1934-0051 หรือ 0-3524-1680.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พระนครศรีอยุธยา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัส ที่ 21 มิถุนายน 2550
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM